Please use this identifier to cite or link to this item: http://cmuir.cmu.ac.th/jspui/handle/6653943832/78553
Full metadata record
DC FieldValueLanguage
dc.contributor.advisorรังสิมา วิวัฒน์วงศ์วนา-
dc.contributor.advisorประสิทธิ์ ลีปรีชา-
dc.contributor.authorพิจิตรา เนียมนาคen_US
dc.date.accessioned2023-07-22T11:30:34Z-
dc.date.available2023-07-22T11:30:34Z-
dc.date.issued2021-05-
dc.identifier.urihttp://cmuir.cmu.ac.th/jspui/handle/6653943832/78553-
dc.description.abstractThe study "Impact of Gold Mine Suspend on Quality of Life Among People in Khao Chet Luk Community, Pichit Province"aimed to examine life quality related with residence, economy, society, environment and sanitary of people in Khao Chet Look Community, Pichit Province, and to study changes in the quality of life after suspension of gold mine in Pichit Province. This study used qualitative research method in data collection. 11 people (five males and six females) selected from the sampled Khao Chet Look Community members are selected for in-depth interview. The interviewed were 64.9 years old on average. Most age between 27 - 86 years. Education of the sampled interviewees ranged between primary school to high vocational. Most worked as traders and farmers and still continued their original works. The sampled group lived in extended families, usually with children. Most houses were half-wood and half-concrete. They originated from the area and its surrounding areas.Study of the life quality of Khao Chet Look Community revealed that life quality before suspension of the gold mine, related with residence was high. This was similar to economic, social, environment and sanitary aspects. Nevertheless, suspension of the gold mine resulted in life quality in most aspects (residence, social, economic, and social) dropping to low while environmental quality was rated average. The study indicated that after suspension of the gold mine, three aspects of life quality significantly dropped (economic, social, residence), while environmental and sanitary quality were likely to drop. The researcher suggests that, if possible, the gold mind suspension should be reconsidered, or there should be measures to alleviate impact from the gold mine. If the gold mine operation is to be resumed, the stakeholders should have measures to take care of people in overlapping or polluted areas through lecturing and appropriate protective/ alleviative measures. Representatives of the community or local administration agencies should be allowed into the decision-making process that might impact the community.en_US
dc.language.isootheren_US
dc.publisherเชียงใหม่ : บัณฑิตวิทยาลัย มหาวิทยาลัยเชียงใหม่en_US
dc.titleผลกระทบของการระงับเหมืองแร่ทองคำต่อคุณภาพชีวิตของประชาชนในชุมชนเขาเจ็ดลูก จังหวัดพิจิตรen_US
dc.title.alternativeImpact of gold mine suspend on quality of life among people in Khao Chet Luk Community, Pichit Provinceen_US
dc.typeIndependent Study (IS)-
thailis.controlvocab.thashเศรษฐศาสตร์การเมือง-
thailis.controlvocab.thashคุณภาพชีวิต -- พิจิตร-
thailis.controlvocab.thashเหมืองแร่-
thailis.controlvocab.thashการพัฒนาแบบยั่งยืน-
thesis.degreemasteren_US
thesis.description.thaiAbstractงานวิจัยเรื่อง ผลกระทบของการระงับเหมืองแร่ทองคำต่อคุณภาพชีวิตของประชาชนใน ชุมชนเขาเจ็ดลูก จังหวัดพิจิตร ในครั้งนี้ มีวัตถุประสงค์ของการวิจัย เพื่อศึกษาคุณภาพชีวิตในด้านที่ อยู่อาศัย เศรษฐกิจ สังคม สภาพแวดล้อม และสุขภาพอนามัย ของประชาชนชุมชนเขาเจ็ดลูก จังหวัดพิจิตรและเพื่อศึกษาการเปลี่ยนแปลงของคุณ ภาพชีวิตในด้านต่าง ๆ ภายหลังการระงับ เหมืองแร่ทองคำในจังหวัดพิจิตร งานวิจัยเรื่องนี้ใช้ระเบียบวิธีวิจัยเชิงคุณภาพ (Qualitative Research Method) ในการเก็บ รวบรวมข้อมูล โดยใช้การสัมภาษณ์เชิงลึก (In-Depth Interview) จากกลุ่มตัวอย่างประชาชนชุมชน เขาเจ็ดลูก จำนวน 11 คน แบ่งเป็นเพศหญิง จำนวน 6 คน และเพศชาย จำนวน 5 คน มีอายุเฉลี่ย เท่ากับ 64.9 ปี โดยส่วนใหญ่จะมีช่วงอายุระหว่าง 27-86 ปี จบการศึกษาในระดับชั้นประถมศึกษา ถึงระดับประกาศนียบัตรวิชาชีพชั้นสูง (ปวส.) ประชาชนส่วนใหญ่ประกอบอาชีพค้าขายและ เกษตรกร และในปัจจุบันส่วนใหญ่ก็ยังคงประกอบอาชีพเดิม การอยู่อาศัยของกลุ่มตัวอย่างนั้น พบว่า อยู่กันในแบบครอบครัวขยาย โดยมักอาศัยอยู่กับบุตร ในส่วนของสภาพบ้านเรือนประชาชนในชุมชนส่วนใหญ่ปลูกบ้านแบบไม้กึ่งปูน ส่วนภูมิลำเนาเป็นคนในพื้นที่เดิมและพื้นที่ ใกล้เคียง ผลการศึกษาคุณภาพชีวิตของประชาชนชุมชนเขาเจ็ดลูก พบว่า คุณภาพชีวิตของ ประชาชนก่อนระงับเหมืองแร่ทองคำ ด้านที่อยู่อาศัย ประชาชนเกือบทั้งหมดมีระดับคุณภาพชีวิตอยู่ ในระดับมาก ด้านเศรษฐกิจ ประชาชนส่วนใหญ่มีระดับคุณภาพชีวิตอยู่ในระดับมาก ด้านสังคมประชาชนส่วนใหญ่มีระดับคุณภาพชีวิตอยู่ในระดับมาก ด้านสภาพแวดล้อม ประชาชนส่วนใหญ่มี ระดับคุณภาพชีวิตอยู่ในระดับมาก และด้านสุขภาพอนามัย ประชาชนส่วนใหญ่มีระดับคุณภาพชีวิต อยู่ในระดับมาก อย่างไรก็ตาม เมื่อมีการระงับเหมืองแร่ทองคำ พบว่า คุณภาพชีวิตของประชาชน ด้านที่อยู่อาศัย ประชาชนเกือบทั้งหมดมีระดับคุณภาพชีวิตอยู่ในระดับน้อย ด้านเสรษฐกิจ ประชาชนเกือบทั้งหมดมีระดับคุณภาพชีวิตอยู่ในระดับน้อย ด้านสังคม ประชาชนเกือบทั้งหมดมี ระดับคุณภาพชีวิตอยู่ในระดับน้อย ด้านสภาพแวดล้อม ประชาชนเกือบทั้งหมดมีระดับคุณภาพชีวิต อยู่ในระดับปานกลาง และ ด้านสุขภาพอนามัย ประชาชนส่วนใหญ่มีระดับคุณภาพชีวิตอยู่ในระดับ ปานกลาง ทั้งนี้ ผลที่ได้จากการวิจัยชี้ให้เห็นว่า หลังจากการระงับเหมืองแร่ทองคำคุณภาพชีวิตของ ประชาชนใน 3 ด้าน มีระดับที่แย่ลงอย่างเห็นได้ชัด กล่าวคือ ด้านเศรษฐกิจ ด้านสังคม ด้านที่อยู่ อาศัย และมีแนวโน้มที่จะมีระดับที่แย่ลงใน้ด้านสภาพแวดล้อม และด้านสุขภาพอนามัย ผู้วิจัยขอเสนอแนะว่า ผู้ที่มีส่วนเกี่ยวข้อง หากเป็นไปได้ ควรมีการทบทวนการระงับ เหมืองแร่ทองคำ หรือมีมาตรการรองรับผู้ที่ได้รับผลกระทบในด้านลบจากการ ระงับเหมืองแร่ ทองคำ และในขณะเดียวกัน หากมีการดำเนินกิจการเหมืองแร่ทองคำต่อ ผู้ที่มีส่วนเกี่ยวข้องต้องมี มาตรการในการดูแลผู้ที่อยู่ในพื้นที่ซ้อนทับและพื้นที่มลพิษ ผู้ที่มีส่วนเกี่ยวข้อง จึงควรจัดให้มีการ ให้ความรู้และข้อมูล และการป้องกันดูแลประชาชนที่ได้รับผลกระทบอย่างถูกต้องเหมาะสมและ ทั่วถึง และควรเปิดโอกาสให้ตัวแทนชุมชนหรือองค์กรปกครองท้องถิ่นเข้ามามีส่วนร่วมในการตัดสินใจใด ๆ ที่จะมีผลกระทบต่อประชาชนในชุมชนนั้น ๆen_US
Appears in Collections:SOC: Independent Study (IS)

Files in This Item:
File Description SizeFormat 
590432026 พิจิตรา เนียมนาค.pdf1.05 MBAdobe PDFView/Open    Request a copy


Items in CMUIR are protected by copyright, with all rights reserved, unless otherwise indicated.