Please use this identifier to cite or link to this item: http://cmuir.cmu.ac.th/jspui/handle/6653943832/78438
Full metadata record
DC FieldValueLanguage
dc.contributor.advisorธีรวรรณ ธีระพงษ์-
dc.contributor.authorวรรณิศา วงษ์สิงแก้วen_US
dc.date.accessioned2023-07-11T11:08:21Z-
dc.date.available2023-07-11T11:08:21Z-
dc.date.issued2564-10-
dc.identifier.urihttp://cmuir.cmu.ac.th/jspui/handle/6653943832/78438-
dc.description.abstractThis research aims to study the meaning of life, the definition of slow life, and way of life in Pun Pun community, Mae Taeng District, Chiang Mai Province. The research is qualitative using the interpretative phenomenological analysis approach. The key informants consisted of 5 inhabitants in Pun Pun community. Data were collected by utilizing the in-depth interview. The content was analyzed by the methodology of the interpretative phenomenological analysis together with the application of the meaning of life theory. Collected data were reviewed for completion by key informants and a thesis advisor. The results of the research were divided into three main issues. The first issue was the meaning of life, where key informants defined their meaning of life through experiences which could be categorized into three values. 1) Self-esteem, which was the determined action that aimed to benefit one's life. 2) Free will, which was the appreciation of one's own free will by realizing the freedom to determine one's life along with the awareness of the responsibility of such freedom. 3) Value to others, which was the determination to act for the sake of others. Knowing that others benefited from the action made one appreciate the values of a selfless act and get motivated to continue such deeds. The second issue was slow life, which was the way key informants determined to live rhythmically with the context of their surroundings, which comprised two secondary points. 1) Slow life was an independent life, acted according to the inner melody. 2) Slow life operated rhythmically. The third issue was way of life, which was the pattern of life embodying behavior, idea, and attitude which affected how one chose to live a life, consisted of the following: 1) Way of daily life was adjusted according to a particular season. 2) Way of life that aimed to develop inner experience, which was allocated to these following secondary points. 2.1) The love of humanity. Key informants had realized that they had to interact with both the people, the area, and the surroundings. Thus, the awareness of the importance of maintaining the relationship had occurred. 2.2) Natural proximity. Key informants were aware of the mutual reliance between them and nature for both farming and natural remedies. 2.3) Slow food, which was the realization of the importance of food acquisition starting from cultivation, maintenance, harvesting, to cooking. 2.4) Hardship reformed perspective. The change of perspective when facing hardship could essentially help one to overcome it. 2.5) Contemplation, a time devoted to raising consciousness by focusing on the moment, led to self-awareness. 2.6) Being able to live as self-reliant made one life steady and secured, freed from external dependency. The results of this research give the understanding to the general reader, as they grasp the glimpse of those who have perceived the meaning of life, to look back and contemplate life to be satisfied with life even if it might be an off-trend life. The application of counseling psychology also helps the counselor to understand a profound perspective of the one who chooses to live off the mainstream by considering it as an optional means to consult people who experience meaninglessness.en_US
dc.language.isootheren_US
dc.publisherเชียงใหม่ : บัณฑิตวิทยาลัย มหาวิทยาลัยเชียงใหม่en_US
dc.titleสโลว์ไลฟ์: ความหมายและวิถีชีวิตในชุมชนพันพรรณ อำภอแม่แตง จังหวัดเชียงใหม่en_US
dc.title.alternativeSlow life : meaning and way of life in Pun Pun Community, Mae Taeng District, Chiang Mai Province.en_US
dc.typeThesis
thailis.controlvocab.thashชุมชนพันพรรณ-
thailis.controlvocab.thashชีวิตชุมชน -- แม่แตง (เชียงใหม่)-
thailis.controlvocab.thashรูปแบบการดำเนินชีวิต -- แม่แตง (เชียงใหม่)-
thailis.controlvocab.thashการดำเนินชีวิต-
thailis.controlvocab.thashชีวิต-
thailis.controlvocab.thashแม่แตง (เชียงใหม่) -- ความเป็นอยู่และประเพณี-
thailis.controlvocab.thashเชียงใหม่ -- ความเป็นอยู่และประเพณี-
thesis.degreemasteren_US
thesis.description.thaiAbstractการวิจัยนี้มีวัตถุประสงค์ เพื่อศึกษาการให้ความหมายของชีวิต ความหมายของสโลว์ไลฟ์ และวิถีชีวิตประจำวันของผู้ซึ่งอาศัยอยู่ในชุมชนพันพรรณ อำเภอแม่แตง จังหวัดเชียงใหม่ งานวิจัยนี้ เป็นการวิจัยเชิงคุณภาพปรากฏการณ์วิทยาแบบตีความ กลุ่มผู้ให้ข้อมูล คือ ผู้ที่อาศัยอยู่ในชุมชนพัน พรรณจำนวน 5 ราย เก็บรวบรวมข้อมูลโดยการสัมภาษณ์เชิงลึก วิเคราะห์เนื้อหาตามระเบียบวิธีวิจัย ของปรากฏการณ์วิทยาแบบตีความร่วมกับประยุกต์ใช้แนวคิดทฤษฎีความหมายของชีวิต และตรวจสอบความถูกต้องของข้อมูลจากผู้ให้ข้อมูลและอาจารย์ที่ปรึกษางานวิจัย ผลการศึกษาแบ่งออกเป็นสามประเด็นหลัก คือ ประเด็นหลักที่หนึ่ง ความหมายของชีวิต คือ ผู้ให้ข้อมูลหลักได้ให้ความหมายของประสบการณ์ และได้ค้นพบความหมายจากการทคลอง กระทำสิ่งต่างๆ แบ่งเป็นสามประการคือ 1) คุณค่าต่อตนเอง เป็นการให้คุณค่าแก่ชีวิตของตนเองด้วย การกระทำอันมีจุดมุ่งหมายมาที่ตนเอง 2) คุณค่าจากการมีอิสรภาพในการกำหนดชีวิตตนเอง ผู้ให้ ข้อมูลหลักเห็นคุณค่าของชีวิตที่มีอิสรภาพในการเลือกและตัดสินใจ และพร้อมผู้รับผิดชอบต่อ อิสรภาพนั้น 3) คุณค่าในการทำประโยชน์เพื่อผู้อื่น คือ การกระทำที่มีจุดประสงค์มุ่งสร้างประโยชน์ ให้แก่ผู้อื่น ซึ่งทำให้รับรู้ได้ถึงคุณค่าของสิ่งที่ตนเองกระทำและเป็นแรงจูงใจให้กระทำสิ่งนั้นต่อไป ประเด็นหลักที่สอง สโลว์ไลฟ์ คือ การที่ผู้ให้ข้อมูลหลักสามารถกำหนดจังหวะในการใช้ชีวิตได้ สอดคล้องกับบริบทแวดล้อมของตนเอง ประกอบด้วยสองประเด็นรอง คือ 1) สโลว์ไลฟ์เป็นชีวิตที่ อิสระไปตามจังหวะภายในของตนเอง 2) สโลว์ไลฟ์นั้นบางทีก็ช้าบางทีก็เร็ว และประเด็นหลักที่สาม วิถีชีวิต คือ แบบเผนการดำเนินชีวิตทั้งพฤติกรรม ความคิดและทัศนคติที่ส่งผลในการเลือกวิธีการ ดำเนินชีวิตของตนเอง ประกอบด้วย 1) วิถีชีวิตประจำวันที่เคลื่อนไหวไปตามจังหวะของฤดูกาล 2) วิถีชีวิตที่มุ่งพัฒนาประสบกรณ์ภายใน ซึ่งแบ่งนำเสนออกเป็นประเด็นย่อย คือ 2.1) ความรักต่อ เพื่อนมนุษย์ ผู้ให้ข้อมูลหลักต่างตระหนักว่าชีวิตตนเองมีปฏิสัมพันธ์กับผู้อื่นเสมอซึ่งเป็นสิ่งสำคัญ ของชีวิต 2.2) มีชีวิตแนบอิงธรรมชาติ ผู้ให้ข้อมูลหลักตระหนักว่าชีวิตของตนเองต้องพึ่งพิงธรรมชาติ ทั้งการทำสวนและการให้ธรรมชาติช่วยเยียวยาตนเอง 2.3 กระบวนการอาหารเนิบช้ำ คือ การให้ ความสำคัญในทุกกระบวนการของการได้มาซึ่งอาหาร ตั้งแต่การเพาะปลูก บำรุงรักษา เก็บเกี่ยวและ ปรุงอาหาร 2.4 ความยากลำบากช่วยปรับมุมมองต่อชีวิต คือ การมองหาเรื่องดีเมื่อตนเองกำลังเผชิญ กับความยากลำบากจะช่วยให้สามารถก้าวข้ามอุปสรรค ไปได้ 2.5) มี โอกาสได้พิจารณาตนเองอยู่ เรื่อยๆ คือ การให้เวลาตนเองได้ฝึกฝนสมาธิ ให้มีสติรู้ตัว อยู่กับปัจจุบัน เป็นการได้กลับมาทบทวน ตนเองซึ่งนำไปสู่การตระหนักรู้ในตนเอง 2.6) การพึ่งพาตนเองได้ เป็นความมั่นคงของชีวิต การดำรงชีวิตอยู่ได้ด้วยตนเองทำให้ชีวิตมั่นคง อิสระเพราะไม่นำชีวิตไปยึดโยงกับสิ่งภายนอก ผลที่ได้จากการศึกษานี้ นำไปสู่ความรู้ความเข้าใจแก่ผู้อ่านทั่วไปได้เห็นตัวอย่างชีวิตของผู้ที่ เข้าถึงความหมายของชีวิต มีความพึ่งพอใจในชีวิตแม้จะเป็นการเลือกวิถีชีวิตนอกกระแสหลักและได้ หันกลับมาสะท้อนวิถีชีวิตของตนเอง ในการปรับใช้ในงานจิตวิทยาการปรึกษา ยังช่วยให้นักจิตวิทยา การปรึกษา ได้เข้าใจแง่มุมที่ลึกซึ้งของผู้ที่เลือกคำเนินชีวิตนอกกระแสหลักโดยใช้เป็นทางเลือกใน การให้คำปรึกษาแก่ผู้ที่ประสบกับภาวะไร้ความหมายen_US
Appears in Collections:HUMAN: Theses

Files in This Item:
File Description SizeFormat 
610132014 วรรณิศา วงษ์สิงแก้ว.pdf10.94 MBAdobe PDFView/Open    Request a copy


Items in CMUIR are protected by copyright, with all rights reserved, unless otherwise indicated.