Please use this identifier to cite or link to this item: http://cmuir.cmu.ac.th/jspui/handle/6653943832/78431
Full metadata record
DC FieldValueLanguage
dc.contributor.advisorภัทรินี ไตรสถิตย์-
dc.contributor.advisorสุคนธ์ ประสิทธิ์วัฒนเสรี-
dc.contributor.advisorเบญจลักษณ์ มณีทอน-
dc.contributor.authorพรชิตา คุณรังษีen_US
dc.date.accessioned2023-07-11T10:37:27Z-
dc.date.available2023-07-11T10:37:27Z-
dc.date.issued2565-01-
dc.identifier.urihttp://cmuir.cmu.ac.th/jspui/handle/6653943832/78431-
dc.description.abstractIn 2019, the Joint United Nations Program on human immunodeficiency virus (HIV)/acquired immune deficiency syndrome (UNAIDS) reported that 4.7 hundred thousand people were living with HIV in Thailand. In 2007, the Department of Disease Control in Thailand initiated surveillance of the HIV prevalence and associated risk behaviors among men who have sex with men (MSMs) in Bangkok, Chiang Mai, and Phuket. The HIV prevalence has increased over time in both Chiang Mai and Phuket, and in 2016, Bangkok had the highest prevalence of HIV among MSM followed by Chiang Mai Province. Chiang Mai University The aim of this study was to identify the network structure of sex-partner meeting places frequented by the MSM community and relationships between the relevant factors pertaining to MSM. A total of 194 participants were mostly aged 18-24 years old (70.62%), had obtained a bachelor's degree (88.14%), and were students (65.46%). The MSM participants used multiple online apps to communicate with their sexual partners, the most frequently used being Line. Other purposes for using online applications besides hooking up were to find new friends (35.05%) or a partner (30.93%). In the past 3 months, most of them had only had 1 sexual partner (51.55%), sometimes wore a condom (46.39%), and were aware of pre-exposure prophylaxis (PrEP) (62.89%) but did not use it (47.42%). Interestingly, half of them (52.06%) had very poor knowledge about HIV. The results of a Social Network Analysis (SNA) of the networks among MSMs indicate that the majority (n = 194) were members of up to 17 hookup sites/apps in the affiliation network. The centrality metrics indicate that young MSMs meet sex partners within a tight network, with two core hookup sites (Blued Tinder and Grindr) accounting for the majority of connections. Thus, identifying venues most centrally connected within a sexual network may help to identify MSMs most at risk of contracting HIV. Multiple Correspondence Analysis (MCA) of the risk behaviors among MSMs in Chiang Mai identified relationships between age and risk factors such as HIV knowledge, the number of concurrent sex partners, and condom use. Indeed, younger MSMs engage with more concurrent sex partners, do not always use condoms, and have poor HIV knowledge, thereby placing them at a higher risk of contracting HIV. A better understanding of the demographics and behaviors of MSMs who meet partners on these sites can facilitate the development and targeting of effective public health promotion messages We found that the majority of Chiang Mai MSMs use social networks to seek sex partners and are likely to engage in unsafe sex. Blued Tinder and Grindr are the core online sites/apps most used to connect with other MSMs. Understanding the pattern of how MSMs meet sex partners is important for identifying risk behavior and prioritizing HIV testing, care, and prevention.en_US
dc.language.isootheren_US
dc.publisherเชียงใหม่ : บัณฑิตวิทยาลัย มหาวิทยาลัยเชียงใหม่en_US
dc.titleโครงสร้างเครือข่ายของการนัดพบคู่นอนของกลุ่มชายที่มีเพศสัมพันธ์กับชายในจังหวัดเชียงใหม่โดยใช้การวิเคราะห์เครือข่ายทางสังคมen_US
dc.title.alternativeNetwork structure of sex partner meeting among men who have sex with men in Chiang Mai by using social network analysisen_US
dc.typeThesis-
thailis.controlvocab.thashรักร่วมเพศ -- เชียงใหม่-
thailis.controlvocab.thashเพศสัมพันธ์-
thailis.controlvocab.thashเครือข่ายสังคมออนไลน์-
thailis.controlvocab.thashการติดเชื้อเอชไอวี -- การป้องกัน-
thesis.degreemasteren_US
thesis.description.thaiAbstractจากรายงานของโครงการเอดส์แห่งสหประชาชาติ ( The Joint United Nations Programme on HIVIAIDS: UNAIDS) ในปี พ.ศ. 2562 ประเทศไทยมีผู้ติดเชื้อเอชไอวีประมาณ 4.7 แสนคน โดยในปี พ.ศ. 2550 สำนักงานระบาดวิทยา กรมควบคุมโรค ได้มีการเฝ้าระวังความชุกของการติดเชื้อเอชไอวี และพฤติกรรมที่สัมพันธ์กับการติดเชื้อเอชไอวีกลุ่มชายที่มีเพศสัมพันธ์กับชายในกรุงเทพมหานคร เชียงใหม่และภูเก็ต พบว่า จังหวัดเชียงใหม่และกูเก็ตมีแนวโน้มการติดเชื้อสูงขึ้นและในปี พ.ศ. 2559 ความชุกของการติดเชื้อเอชไอวีในกลุ่มชายที่มีเพศสัมพันธ์กับชายสูงที่สุดคือกรุงเทพมหานคร รองลงมา คือ จังหวัดเชียงใหม่ ดังนั้น การศึกษานี้จึงทำการศึกษาโครงสร้างเครือข่ายของสถานที่นัด พบคู่นอนและช่องทางการติดต่อสื่อสารของกลุ่มชายที่มีเพศสัมพันธ์กับชายในจังหวัดเชียงใหม่และ ศึกษาความสัมพันธ์ระหว่างปัจจัยที่เกี่ยวข้องของ โดยมีผู้เข้าร่วมการศึกษาในครั้งนี้จำนวน 194 คน พบว่า ส่วนใหญ่มีอายุอยู่ในช่วง 18-24 ปี (ร้อยละ 70.62) โดยมีการศึกษาอยู่ในระดับปริญญาตรี (ร้อย ละ 88.14) และอาชีพส่วนใหญ่เป็นนักเรียน/ นักศึกษา (ร้อยละ 65.46) มีการติดต่อสื่อสารกันของคู่ นอนผ่านช่องทางออนไลน์หลายช่องทางโดยช่องทางที่นิยมใช้มากที่สุดคือ Line โดยมีวัตถุประสงค์ ในการติดต่อสื่อสารที่นอกเหนือจากการนัดมีเพศสัมพันธ์กับคู่นอนมากที่สุด คือ หาเพื่อนคุย (ร้อยละ 35.05) และหาแฟนหรือคนรู้ใจ (ร้อยละ 30.93) ส่วนพฤติกรรมการมีเพศสัมพันธ์ในช่วง 3 เดือนที่ผ่าน มามีจำนวนคู่นอน 1 คน (ร้อยละ 51.55) โดยสวมถุงยางอนามัยทุกครั้ง (ร้อยละ 46.39) รู้จักยา PrEP ร้อยละ 62.89 และส่วนใหญ่ไม่ใช้ยา PrEP (ร้อยละ 47.42) และสุดท้ายความรู้ความเข้าใจพื้นฐาน เกี่ยวกับเอชไอวีของกลุ่มชายที่มีเพศสัมพันธ์ชายอยู่ในระดับต่ำมาก (ร้อยละ 52.06) จากการประเมินเครือข่ายช่องทางการติดต่อสื่อสารที่นัดพบกันของกลุ่มชายที่มีเพศสัมพันธ์ กับชายโดยใช้การวิเคราะห์เครือข่ายทางสังคม (Social Network Analysis: SNA) พบว่า กลุ่มชายที่มี เพศสัมพันธ์กับชายจำนวน 194 คน มีความเชื่อมโยงกับแอปพลิเคชันถึง 17 ช่องทาง โดยมีช่อง ทางการติดต่อสื่อสารที่สำคัญ คือ Blued Tinder และ Grindr ที่เป็นช่องทางการติดต่อสื่อสารที่เป็นจุด ศูนย์กลางในการเชื่อมโยงกลุ่มชายที่มีเพศสัมพันธ์กับชาย ดังนั้น การประเมินเครือข่ายช่องทางการ ติดต่อสื่อสารและสถานที่ที่นัดพบกันของกลุ่มชายที่มีเพศสัมพันธ์ชายโดยทราบจุดศูนย์กลางในการ เชื่อมโยงอาจช่วยในการระบุสถานที่หรือแอปพลิเคชันออนไลน์ของกลุ่มชายรักชายที่เสี่ยงต่อการติด เชื้อเอชไอวีได้ดี ส่วนความสัมพันธ์ระหว่างพฤติกรรมเสี่ยงของกลุ่มชายที่มีเพศสัมพันธ์กับชายใน เชียงใหม่ โดยใช้การวิเคราะห์การสมนัยพหุคูณ (Multiple Correspondence Analysis: MCA) ผู้วิจัยพบ ความสัมพันธ์ระหว่างอายุและปัจจัยเสี่ยง เช่น ความรู้ความเข้าใจเกี่ยวกับเอชไอวี จำนวนคู่นอน และ การใช้ถุงยางอนามัย โดยที่กลุ่มชายที่มีเพศสัมพันธ์กับชายที่มีอายุน้อยมีจำนวนคู่นอนหลายคนโดยไม่ ใช้ถุงยางอนามัยหรืออาจจะใช้ถุงยางอนามัยเป็นบางครั้ง และมีความรู้พื้นฐานเกี่ยวกับเอชไอวีของอยู่ ในระดับต่ำ ดังนั้นจึงทำให้มีความเสี่ยงสูงที่จะติดเชื้อเอชไอวี โดยความเข้าใจเกี่ยวกับข้อมูลประชากร และพฤติกรรมของกลุ่มชายที่มีเพศสัมพันธ์กับชายที่นัดพบกับคู่นอนผ่านช่องทางออนไลน์ต่าง ๆ สามารถช่วยในการพัฒนาและการกำหนดเป้าหมายของการส่งเสริมสาธารณสุขที่มีประสิทธิภาพ ผลการวิจัยของการศึกษานี้แสดงให้เห็นว่ากลุ่มชายที่มีเพศสัมพันธ์กับชายส่วนใหญ่ใช้ เครือข่ายสังคมเพื่อค้นหาคู่นอนและมีแนวโน้มที่มีเพศสัมพันธ์ที่ไม่ปลอดภัยและเสี่ยงต่อเอชไอวี ซึ่ง Blued และ Tinder เป็นแอปพลิเคชันออนไลน์หลักที่เชื่อมต่อกับกลุ่มชายที่มีเพศสัมพันธ์กับชายมาก ที่สุด โดยการเข้าใจรูปแบบของการนัดพบกันในกลุ่มชายที่มีเพศสัมพันธ์กับชายมีความสำคัญต่อการ ระบุพฤติกรรมเสี่ยงและการจัดลำดับความสำคัญของการตรวจเอชไอวี การดูแลและการป้องกันเอช ไอวีen_US
Appears in Collections:SCIENCE: Theses

Files in This Item:
File Description SizeFormat 
600531095 พรชิตา คุณรังษี.pdf3.92 MBAdobe PDFView/Open    Request a copy


Items in CMUIR are protected by copyright, with all rights reserved, unless otherwise indicated.