Please use this identifier to cite or link to this item:
http://cmuir.cmu.ac.th/jspui/handle/6653943832/78286
Full metadata record
DC Field | Value | Language |
---|---|---|
dc.contributor.advisor | Nongyao Nawarat | - |
dc.contributor.advisor | Pisith Nasee | - |
dc.contributor.advisor | Charin Mangkhang | - |
dc.contributor.author | Quan Thuan Kieu | en_US |
dc.date.accessioned | 2023-07-03T09:50:35Z | - |
dc.date.available | 2023-07-03T09:50:35Z | - |
dc.date.issued | 2023-03 | - |
dc.identifier.uri | http://cmuir.cmu.ac.th/jspui/handle/6653943832/78286 | - |
dc.description.abstract | Since the release of the Doi Moi reform in the late 1990s, the Ministry of Education in Vietnam has instructed higher educational institutions to innovate their curricula every two years. This approach has focused on meeting socio-economic needs rather than solely being knowledge-based, leading to a competition-based curriculum approach. To effectively implement this approach, higher education institutions in Vietnam have looked to the demands of the market and incorporated the training of various kinds of skills, with a particular emphasis on digital skills and critical thinking skills. However, obtaining information about the implementation of training for these skills at higher institutes, particularly those focused on agricultural education, has been difficult for the public. To understand the quality of higher education in Vietnam after decades under the Doi Moi reform, this current study employed the concept from UNESCO (2005), which is the model of quality evaluation in education, as the framework to access and measure the quality outcomes of higher education programs provided by higher education in Vietnam. To be more specific, the main purpose of this study was to explore the quality of higher education training programs in cultivating essential skills in students in bachelor programs, with a specific focus on exploring the quality of the cultivation of two critical sets of skills, digital skills, and critical thinking skills. This present study put a focus on two programs, Agronomy and Aquaculture-Seafood science, which are under two faculties, Agronomy and Fisheries, of Nong Lam university, respectively. To employ a qualitative approach, this study obtained data from two main sources, semi-structured interviews and documents, which were the curriculum, teaching objectives, and admission scores of these programs. Using purposive technique, this study obtained a total of 6 staff and 8 graduates from two departments, Agronomy and Aquaculture-Seafood Science, and plus 5 employers, who were direct mentors of 5 among 8 graduates. All graduates began their studies at Nong Lam in 2016 and completed them in 2020. The data collection of this study began in October 2021 and was accomplished in March 2022. To analyze the obtained data, two analytical techniques were employed. The content analysis technique was used for processing the documents, while thematic coding technique was applied to transcribed interviews. The findings of the study presented that Nong Lam university was qualified in the cultivation of digital skills and critical thinking skills to their students. Related to the digital skills, the facilities, the policies on the curriculum designs, and the pedagogies were highly supportive of the development of three domains of digital skills: information technology, communication technology, and generic foundation technology to students. Especially, in terms of the pedagogies, teachers of Nong Lam could use multiple methods, with the utilization of social media and digital devices to assist students in improving information and communication technology. In regards to critical thinking, it was found that Nong Lam university was qualified in giving support of policies for teaching objectives, extra curriculum activities, and pedagogies to assist students in sufficiently developing three domains of critical thinking: identifying & analyzing, reasoning & logical, and creative and innovative skills. The teaching pedagogies were viewed as the most crucial factor, as teachers of Nong Lam university could utilize multiple techniques, such as using social media, problem-solving techniques, dialogues, and focused case studies, to assist students in improving critical thinking sufficiently. From the findings, this study offers a number of recommendations for the practical application of its findings for different stakeholders, including policymakers, educators, and students. Policymakers from the government level can use this study as the guideline to develop the national occupational framework for the higher education system, while educators of other universities can utilize this study to enhance their teaching pedagogies to assist students in improving these two skills sufficiently. Students can use the findings of this study to develop suitable learning strategies to enhance these two skills during the time of learning, or suitable strategies to use these two skills at the workplaces. From the results of the study above, this research proposes the following suggestions to ensure continuous and resource-driven production of graduates. This is necessary because most universities lack sufficient resources, especially when compared to Nong Lam University, which is the country's top university. Secondly, there is a need to promote debate and contemplation of teaching science at the higher education level to develop both academic and operational skills. Additionally, further research studies of this kind should be conducted in other higher education institutions. The authors believe that research in universities with lower levels of capital and cultural resources than Nong Lam University might yield different results. The researchers expect higher education to address the demand for digital skills and critical thinking commanded in different sectors of the labor market, in which skills have dramatically changed in this century. Keywords: quality of higher education, learning outcomes, employability, graduates, Vietnam | en_US |
dc.language.iso | en | en_US |
dc.publisher | เชียงใหม่ : บัณฑิตวิทยาลัย มหาวิทยาลัยเชียงใหม่ | en_US |
dc.title | Educational quality of higher education through learning outcomes and the employability of graduates: A Case study of Nong Lam University in Vietnam | en_US |
dc.title.alternative | การศึกษาคุณภาพทางการศึกษาระดับอุดมศึกษาในเชิงผลลัพธ์การเรียนรู้และความสามารถในการทำงานของบัณฑิต:กรณีศึกษามหาวิทยาลัยหนองลำ ประเทศเวียดนาม | en_US |
dc.type | Thesis | |
thailis.controlvocab.lcsh | Nong Lam University | - |
thailis.controlvocab.lcsh | Universities and colleges -- Vietnam | - |
thailis.controlvocab.lcsh | Universities and colleges -- Curricula | - |
thailis.controlvocab.lcsh | College graduates -- Vietnam | - |
thailis.controlvocab.lcsh | Educational evaluation | - |
thesis.degree | doctoral | en_US |
thesis.description.thaiAbstract | การปฏิรูปประเทศสู่ระบบเศรษฐกิจเสรีนิยมในนาม “Doi Moi policy” ของประเทศเวียดนามในทศวรรษ 1990 นั้นกระทรวงศึกษาธิการ โดยเฉพาะการอุดมศึกษาประเทศเวียดนามต้องเร่งรัดปรับปรุงคุณภาพการศึกษา เพื่อตอบสนองต่อการพัฒนาเศรษฐกิจและสังคมยุค “Doi Moi policy” ที่ต้องเผชิญหน้ากับการแข่งขันในระบบโลก อุดมศึกษาชั้นนำของประเทศได้ตอบสนองนโยบายข้างต้นอย่างกระตือรือร้น รูปธรรมที่เห็นได้ชัดคือ เร่งรัดปรับปรุงหลักสูตรการศึกษาทุกระดับ และกำหนดทบทวนหลักสูตรและการสอนในทุก ๆ 2 ปี เนื่องจากการเรียนการสอนในระยะก่อนหน้านี้ เน้นถ่ายทอดความรู้เชิงเนื้อหาที่ไม่สอดคล้องกับยุคสมัยการแข่งขันตลาดเสรี อุดมศึกษาจึงสร้างกลยุทธ์ส่งเสริมการแข่งขันเชิงปฏิบัติการด้านหลักสูตร ด้านการสอนและมองผลลัพธ์ที่เกิดกับผู้เรียนเป็นสำคัญ โดยที่อุดมศึกษาต้องพิจารณาคุณภาพหลักสูตรตามความต้องการของตลาดแรงงานอย่างละเอียด เพื่อที่จะดำเนินกลยุทธ์ให้บรรลุผลอย่างมีประสิทธิภาพ ข้อถกเถียงสำคัญในการยกระดับคุณภาพการศึกษาในยุคเศรษฐกิจเสรีนิยมนั้น อุดมศึกษาได้ถูกกำหนดบทบาทให้บูรณาการความรู้และรูปแบบการเรียนการสอนสมัยใหม่เพื่อยกระดับทักษะต่าง ๆ ของบัณฑิตที่กำลังเป็นที่ต้องการของตลาดแรงงาน โดยเฉพาะอย่างยิ่งการบูรณาการทักษะดิจิทัลและการคิดเชิงวิพากษ์สู่การเรียนการสอน อย่างไรก็ตาม งานศึกษาวิจัยระยะที่ผ่านมาชี้ว่าการผลิตบัณฑิตศึกษาของเวียดนามยังคงมีขีดจำกัด ไม่เว้นแม้แต่ในศาสตร์ด้านอุสาหกรรมการเกษตรและนวัตกรรมต่าง ๆ ที่ประเทศมีนโยบายขยายอุตสาหกรรมด้านนี้เพื่อผลิตอาหารและสินค้าภาคเกษตรสู่ครัวโลก งานวิจัยนี้ได้มุ่งตั้งคำถามกับคุณภาพการศึกษาระดับอุดมศึกษาของประเทศเวียดนามหลัง“Doi-Moi policy” โดยที่คำถามข้างต้นได้ใช้กรอบแนวคิด การประเมินคุณภาพการศึกษาขององค์การการศึกษา วิทยาศาสตร์และวัฒนธรรมแห่งสหประชาชาติ (UNESCO, 2005) กรอบคิดข้างต้นเปิดพื้นที่การประเมินคุณภาพจากเสียงของผู้มีส่วนได้เสียและในเชิงผลลัพธ์ เช่นเสียงจากอุดมศึกษาที่เป็นผู้ผลิตความรู้และทักษะสำคัญ ๆ จากบัณฑิต และผู้ใช้ประโยชน์จากระบบการผลิตบัณฑิตของอุดมศึกษา วัตถุประสงค์หลักของการวิจัย คือ การทำความเข้าใจและวิเคราะห์คุณภาพการศึกษาในระดับอุดมศึกษาในเชิงผลลัพธ์ที่สนับสนุนผู้เรียนพัฒนาทักษะด้านเทคโนโลยีดิจิทัลและการคิดเชิงวิพากษ์ งานวิจัยนี้ได้เลือกศึกษาหลักสูตรระดับบัณฑิตศึกษา จำนวน 2 หลักสูตร ณ มหาวิทยาลัย Nong Lam Universityการคัดเลือกใช้วิธีการแบบเจาะจง หลักสูตร 2 หลักสูตร คือ สาขาการเพาะเลี้ยงพืชและสัตว์ในน้ำ และสาขาวิชาพืชไร่ การวิจัยเป็นวิจัยเชิงคุณภาพ วิธีเก็บรวบรวมข้อมูล คือ แบบพหุวิธี เช่น การสัมภาษณ์กึ่งโครงสร้าง การศึกษาจากข้อมูลทางการ เช่น เอกสารข้อมูลหลักสูตร จุดมุ่งหมายและคะแนนที่รับเข้าของภาควิชาที่ศึกษาและอื่น ๆในมหาวิทยาลัย ผู้ให้ข้อมูลสำคัญ ประกอบด้วย อาจารย์ผู้บริหารหลักสูตรและผู้สอน จำนวน 6 คน บัณฑิตที่สำเร็จการศึกษาใน 2 หลักสูตรข้างต้น 8 คนที่สำเร็จการศึกษาปี 2020 และผู้ประกอบการที่ใช้บัณฑิต จำนวน 5 คน การเก็บข้อมูลกระทำระหว่าง เดือน ตุลาคม 2021 และมีนาคม 2022 การวิเคราะห์ข้อมูล ใช้เทคนิคสองรูปแบบ ได้แก่การวิเคราะห์เชิงเนื้อหาสำหรับเอกสาร และการวิเคราะห์เชิงแก่นสาระสำหรับข้อมูลการสัมภาษณ์ที่ถูกบันทึกไว้ การวิจัยครั้งนี้ มีข้อค้นพบที่สำคัญ คือ บัณฑิต/ผู้เรียนได้รับการพัฒนาทักษะทั้งด้านเทคโนโลยีดิจิทัลและการคิดเชิงวิพากษ์ที่สอดคล้องกับตลาดแรงงาน ในสถานประกอบการขนาดเล็ก ลักษณะงานประจำอยู่ในสำนักงาน ทักษะดิจิทัลที่บัณฑิตได้รับการบ่มเพาะมีทั้งด้านการทำงานเอกสารในสำนักงาน ด้านการสื่อสาร และทักษะพื้นฐานทั่วไปเกี่ยวกับศาสตร์ในสาขาวิชาที่เรียน ส่วนทักษะการคิดเชิงวิพากษ์ นั้น พบว่าบัณฑิตได้รับการอบรมและพัฒนาอย่างเข้มข้นในสามด้านด้วยกัน คือ การจำแนกแยกแยะและการวิเคราะห์ การใช้เหตุผลในถกเถียงรวมทั้งการคิดอย่างสร้างสรรค์ ผลลัพธ์ในเชิงคุณภาพข้างต้น พบว่านโนบายที่เข้มแข็งและต่อเนื่องของรัฐบาลในการปรับปรุงคุณภาพการศึกษาในทักษะข้างต้นเป็นปัจจัยสำคัญ บริบทของมหาวิทยาลัยที่มีชื่อเสียง มีทุนการศึกษาและตั้งอยู่ในเมืองใหญ่ เปิดโอกาสให้ผู้เรียนสามารถสร้างทักษะต่าง ๆ โดยการฝึกประสบการณ์การทำงานจากสถานประกอบการที่หลากหลาย นอกจากนี้ ผู้สอนในทั้งสองหลักสูตรได้ประยุกต์ใช้ศาสตร์การสอนแบบบูรณาการและหลากหลาย เช่น การใช้สื่อออนไลน์ ฝึกทำโครงงานโดยใช้กรณีศึกษา และการสร้างห้องเรียนเป็นพื้นที่สานเสวนา ที่เปิดกว้างต่อการแลกเปลี่ยนและตั้งคำถาม รวมทั้งสร้างหลักสูตรเสริมเพื่อให้ผู้เรียนเข้าถึงประสบการณ์จริงในโลกการทำงาน จากผลการศึกษาข้างต้น งานวิจัยนี้มีข้อเสนอแนะดังนี้ 1. ให้มีการประยุกต์ใช้ผลการวิจัยนี้ในการดำเนินงานจริงทั้งในด้านกำหนดนโยบาย เพื่อให้การผลิตบัณฑิตในลักษณะนี้มีความต่อเนื่อง และมีทรัพยากรขับเคลื่อน ทั้งนี้เนื่องจากมหาวิทยาลัยส่วนใหญ่มิได้มีทรัพยากรเพียงพอเมื่อเทียบกับ มหาวิทยาลัย Nong Lam ที่เป็นมหาวิทยาลัยชั้นนำของประเทศ รวมทั้งส่งเสริมให้มีการถกเถียงขบคิดเรื่องศาสตร์การสอนในระดับอุดมศึกษาเพื่อพัฒนาทักษะทั้งสองด้านนี้ทั้งระดับวิชาการและปฏิบัติการ 2. ควรมีการศึกษาวิจัยในลักษณะนี้ในอุดมศึกษาอื่น ๆ ผู้วิจัยมีความคิดว่าหากศึกษาวิจัยในมหาวิทยาลัยที่มีทรัพยากรและทุนทางวัฒนธรรมในระดับต่ำกว่ามหาวิทยาลัย Nong Lam อาจทำให้ผลการวิจัยแตกต่างกัน แต่อย่างไรก็ตาม ผู้วิจัยคาดหวังว่าความต้องการด้านทักษะดิจิทัลและการคิดเชิงวิพากษ์ในตลาดแรงงานเป็นสิ่งที่อุดมศึกษาต้องให้ความใส่ใจ เนื่องจากทักษะในศตวรรษนี้มีการเปลี่ยนโฉมอย่างนวดเร็ว | en_US |
Appears in Collections: | EDU: Theses |
Files in This Item:
File | Description | Size | Format | |
---|---|---|---|---|
630251007 thuanquankieu.pdf | 3.85 MB | Adobe PDF | View/Open Request a copy |
Items in CMUIR are protected by copyright, with all rights reserved, unless otherwise indicated.