Please use this identifier to cite or link to this item: http://cmuir.cmu.ac.th/jspui/handle/6653943832/78236
Full metadata record
DC FieldValueLanguage
dc.contributor.advisorอรรถจักร์ สัตยานุรักษ์-
dc.contributor.advisorสายชล สัตยานุรักษ์-
dc.contributor.advisorสิทธิเทพ เอกสิทธิพงษ์-
dc.contributor.authorฤทัยชนก ห่วงจริงen_US
dc.date.accessioned2023-06-30T00:45:46Z-
dc.date.available2023-06-30T00:45:46Z-
dc.date.issued2023-04-
dc.identifier.urihttp://cmuir.cmu.ac.th/jspui/handle/6653943832/78236-
dc.description.abstractThe dynamics of "Khon Song Nam" and the economic changes in Ranong Province between 1957 and 2017 can be studied in order to understand the potential of the negotiation process, accessibility, and economic benefits that people around the border, particularly "Khon Song Nam," under the complex changes at each period of time could grasp. Being "Khon Song Nam" in the meantime, which was still connected to the state's citizens, was greatly expanded and varied in order to serve as a conduit for fresh opportunities for newcomers to enter the economic system. In other words, "Khon Song Nam" were residents of the area near the Ranong border. They spoke both Thai and Burmese because of the way they lived, crossing the border between Thailand and Myanmar to conduct business. At the end of the 2490s B.E., "Khon Song Nam"'s first generation debuted. Since Myanmar was experiencing political problems, which led to a shortage of consumer goods and the construction of the Phetkasem Road from Bangkok to Ranong, which improved transportation convenience and reduced costs, the businesses of the first generation expanded quickly during the decades between 2500 and 2520 B.E. The first generation of "Khon Song Nam" in Myanmar relied on their consanguinity or close connection with Chinese until they could amass their wealth. Some of them were of Burmese and Thai descents. Later, the first generation's "Khon Song Nam" became Ranong's aristocratic class. The second generation of "Khon Song Nam" developed between the years 2530 and 2540 B.E. when the fishing industry was depleted as a result of the Burmese government's open access fishery policy and some groups of people with Thai or Burmese nationalities recognized prospects for legitimate economic gains. As a result, several Ranong people married Thai-Burmese individuals and became "Khon Song Nam" with two nationalities. A legislative amendment was made to the definition of "Khon Song Nam" such that it now refers to a status of Burmese citizens. They were highly successful in the fishery industry since they had two nationalities. The changes persisted until the third generation of "Khon Song Nam" was born at the start of the 2550s B.E., and they included the ongoing expansion of the fishing industry and business, which led to an increase in the migration of Burmese laborers to Ranong. While some people in Ranong changed their identities and wed Burmese people because they realized there were better business opportunities in Myanmar, some Burmese laborers also wed Thai people in order to more easily obtain legal status for their employment and businesses in Ranong. As a result, the cultural connotation of "Khon Song Nam" evolved from being people from both sides of the border who were cousins or family to being citizens of both countries in order to access and benefits from the economy.en_US
dc.language.isootheren_US
dc.publisherเชียงใหม่ : บัณฑิตวิทยาลัย มหาวิทยาลัยเชียงใหม่en_US
dc.subjectคนสองน้ำen_US
dc.titleพลวัตของ “คนสองน้ำ” กับการเปลี่ยนแปลงเศรษฐกิจของจังหวัดระนอง พ.ศ. 2500 ถึง พ.ศ. 2560en_US
dc.title.alternativeDynamics of “Khon Song Nam” and the economic changes in Ranong Province, 1957-2017en_US
dc.typeThesis
thailis.controlvocab.thashระนอง -- ภาวะเศรษฐกิจ-
thailis.controlvocab.thashสัญชาติ -- ไทย-
thailis.controlvocab.thashสัญชาติ -- พม่า-
thailis.controlvocab.thashพลเมืองไทย-
thailis.controlvocab.thashพลเมืองพม่า-
thesis.degreedoctoralen_US
thesis.description.thaiAbstractการศึกษา เรื่อง พลวัตของ “คนสองน้ำ” กับการเปลี่ยนแปลงเศรษฐกิจของระนอง สะท้อนให้เห็นถึงศักยภาพในกระบวนการต่อรอง เข้าถึง และช่วงชิงผลประโยชน์ทางเศรษฐกิจของผู้คนบริเวณพรมแดนโดยเฉพาะ “คนสองน้ำ” ภายใต้การเปลี่ยนแปลงอันซับซ้อนของบริบทในแต่ละช่วงเวลา เพื่อตอบสนองและต่อรองในการเข้าถึงพื้นที่ทางเศรษฐกิจ ขณะเดียวกันความเป็นคนสองน้ำ ซึ่งสัมพันธ์อยู่กับความเป็นพลเมืองของรัฐยังขยายปริมณฑลกินความหมายที่กว้างขวางและมีความหลากหลายมากขึ้น เพื่อใช้เป็นช่องทางในการแสวงหาโอกาสใหม่ๆของคนกลุ่มใหม่ในการก้าวเข้าสู่ระบบเศรษฐกิจอีกด้วย กล่าว คือ “คนสองน้ำ” เกิดขึ้นบริเวณชายแดนเมืองระนอง เนื่องจากวิถีชีวิตแบบข้ามแดนไปมาเพื่อค้าขายระหว่างประเทศไทยและประเทศพม่า จึงใช้ทั้งภาษาไทยและภาษาพม่า “คนสองน้ำ” รุ่นแรก ปรากฏขึ้นในปลายทศวรรษ 2490 เป็นต้นมา ธุรกิจของ “คนสองน้ำ” รุ่นแรกนี้เติบโตอย่างรวดเร็วในระหว่างทศวรรษ 2500-2520 เนื่องจากประเทศพม่าประสบปัญหาทางการเมืองภายในจนเกิดภาวะขาดแคลนสินค้าอุปโภคบริโภค ประกอบกับมีการสร้างถนนเพชรเกษมจากกรุงเทพเข้าสู่ระนอง ทำให้การขนส่งสินค้าสะดวกและมีต้นทุนน้อยลง “คนสองน้ำ” รุ่นแรกอาศัยความสัมพันธ์แบบเครือญาติทางสายเลือดหรือความสัมพันธ์แบบเพื่อนสนิทกับคนจีนในพม่า สามารถสะสมทุนได้จนเป็นคนมีฐานะดีในพื้นที่ บางคนมีสัญชาติไทย บางคนมีสัญชาติพม่า และในเวลาต่อมา “คนสองน้ำ” ในรุ่นนี้หลายคนก็ก้าวขึ้นมาเป็นกลุ่มชนชั้นนำของเมืองระนอง คนสองน้ำกลุ่มที่ 2 เกิดขึ้นในช่วงทศวรรษ 2530 ถึงทศวรรษ 2540 เมื่อเกิดการขยายตัวทางเศรษฐกิจธุรกิจภาคการประมงในยุคที่รัฐบาลพม่ามีนโยบายเปิดการประมงเสรี ทำให้คนบางกลุ่มที่เคยถือสัญชาติไทยหรือสัญชาติพม่าเพียงสัญชาติเดียวเล็งเห็นโอกาสในการขยายผลประโยชน์ทางเศรษฐกิจจากการมีสถานะทางกฎหมาย จึงมีคนระนองที่แต่งงานกับคนไทยสัญชาติพม่า ทำให้เกิด “คนสองน้ำ” ที่ถือสองสัญชาติ เป็นการเปลี่ยนความหมาย “คนสองน้ำ” มาสู่มิติทางกฎหมาย เพื่อให้มีสถานะเป็นพลเมืองของอีกรัฐหนึ่งไปพร้อมกัน การถือสองสัญชาติทำให้ธุรกิจประมงประสบความสำเร็จอย่างมาก ความเปลี่ยนแปลงที่ก่อให้เกิด “คนสองน้ำ” กลุ่มที่ 3 ตั้งแต่ทศวรรษ 2550 เป็นต้นมา ได้แก่ การเติบโตของธุรกิจประมงและอุตสาหกรรมต่อเนื่อง ทำให้กลุ่มผู้ใช้แรงงานอพยพสัญชาติพม่าเข้าสู่เมืองระนองมากขึ้น ผู้คนในท้องถิ่นส่วนหนึ่งได้เล็งเห็นจุดได้เปรียบในการทำธุรกิจในประเทศพม่า จึงได้พยายามปรับเปลี่ยนตนเองด้วยการแต่งงานกับคนสัญชาติพม่าเหล่านี้ ขณะเดียวกัน แรงงานอพยพชาวพม่าบางส่วนก็ได้แต่งงานกับคนไทยเพื่อที่จะได้สถานะทางกฎหมายในการทำงานและ ทำธุรกิจในจังหวัดระนองได้อย่างสะดวกขึ้น การเป็น “ คนสองน้ำ” จึงแปรเปลี่ยนจากความหมายทางวัฒนธรรมของคนสองฝั่งทะเลที่เป็นเครือญาติกัน มาสู่การเป็นพลเมืองของรัฐทั้งสองรัฐเพื่อเข้าถึงและช่วงชิงผลประโยชน์ทางเศรษฐกิจen_US
Appears in Collections:HUMAN: Theses

Files in This Item:
File Description SizeFormat 
590151005_Rutaichanok Hungjing.pdfThesis5.51 MBAdobe PDFView/Open    Request a copy


Items in CMUIR are protected by copyright, with all rights reserved, unless otherwise indicated.