Please use this identifier to cite or link to this item: http://cmuir.cmu.ac.th/jspui/handle/6653943832/77995
Full metadata record
DC FieldValueLanguage
dc.contributor.advisorเดีย พนิตนาถ แชนนอน-
dc.contributor.authorรัตนมน อ้ายเสาร์en_US
dc.date.accessioned2023-06-11T08:42:46Z-
dc.date.available2023-06-11T08:42:46Z-
dc.date.issued2023-01-
dc.identifier.urihttp://cmuir.cmu.ac.th/jspui/handle/6653943832/77995-
dc.description.abstractDrought is one of the big challenges of forest restoration today. Drought stress affects plant growth and their survival after planting. Plant functional traits play an important role in selecting suitable tree species for forest restoration under extreme environments. The objectives of this study are 1) to examine factors that affect the survival of seedlings in restoration plots, 2) to compare seedling performance under drought experiment, and 3) to explore relationships between functional traits and seedling survival in restoration plots. Nine studied species of deciduous trees were Afzelia xylocarpa, Bombax ceiba, Careya arborea, Chukrasia tabularis, Gmelina arborea, Irvingia malayana, Oroxylum indicum, Phyllanthus emblica and Spondias pinnata. The survival of one-year-old seedlings after planting was influenced by planting sites and species. The species with top five highest survival percentages were C. arborea, S. pinnata, P. emblica, B. ceiba and G. arborea. All nine species, 42 seedings each, were studied under drought experiment. Half seedlings were assigned to water treatment and another half to no water treatment under a randomized complete block design experiment. Wilting stages were evaluated by 0-5 scores, once every 2 days for the first 36 days, and once every 2 weeks till the end of the study (a total of 120 days). A. xylocarpa and B. ceiba were two species that their aboveground parts were still alive (score number 4) at the end of the study. Their leaves were wilting very gradually which represent a drought tolerant strategy. Thirteen functional traits including leaf, root, and stem traits were measured and calculated from seedlings of all studied species. The results showed that when including survival data from both the nursery and the field, studied species could be classified into 4 groups based on their functional traits. The species that showed high survival percentages in the field tend to have high values of root traits; there were root:shoot ratio, root length, and specific root length. These traits contribute to seedling competitive ability to acquire water and essential resources. This study did not find any relationships between studied functional traits in the seedling stage and the survival in the plots. Root traits can be used as a criterion for selecting plant species for forest restoration in drought prone areas. However, drought tolerance alone may not be the only factor towards the success of forest restoration. Restoration practitioners should consider suitable seed source and quality of seedlings, seedling preparation and planting processes, maintenance after planting, and environmental conditions of target planting sites.en_US
dc.language.isootheren_US
dc.publisherเชียงใหม่ : บัณฑิตวิทยาลัย มหาวิทยาลัยเชียงใหม่en_US
dc.subjectdrought Toleranceen_US
dc.subjectforest restorationen_US
dc.subjectnative seedlingsen_US
dc.subjectfunctional traitsen_US
dc.titleการใช้ลักษณะกล้าไม้ยืนต้นผลัดใบเขตร้อนบ่งชี้ความทนทานต่อภาวะแห้งแล้งen_US
dc.title.alternativeUsing traits of tropical deciduous tree seedlings to determine drought toleranceen_US
dc.typeThesis
thailis.controlvocab.thashต้นไม้ -- กล้า-
thailis.controlvocab.thashกล้า-
thailis.controlvocab.thashการเพาะชำพันธุ์ไม้-
thesis.degreemasteren_US
thesis.description.thaiAbstractความแห้งแล้งเป็นหนึ่งในความท้าทายของการฟื้นฟูป่าในปัจจุบัน ความเครียดจากความแห้งแล้งส่งผลกระทบต่อการเจริญเติบโตของพืชและการรอดชีวิตหลังปลูก การศึกษาคุณลักษณะเชิงหน้าที่ของพืชมีส่วนสำคัญต่อกระบวนการคัดเลือกชนิดพืชที่เหมาะสมสำหรับการฟื้นฟูภายใต้สภาพแวดล้อมที่รุนแรง การศึกษานี้มีวัตถุประสงค์เพื่อ 1) ศึกษาปัจจัยที่มีอิทธิพลต่อการรอดชีวิตของกล้าไม้ในแปลงฟื้นฟู 2) ศึกษาเปรียบเทียบความสามารถในการทนแล้งของกล้าไม้ภายใต้สภาวะทดลอง และ 3) ค้นหาความสัมพันธ์ระหว่างคุณลักษณะเชิงหน้าที่กับการรอดชีวิตของกล้าไม้ในแปลงฟื้นฟู พืชที่ศึกษาเป็นไม้ท้องถิ่นของป่าผลัดใบจำนวน 9 ชนิด ได้แก่ มะค่าโมง (Afzelia xylocarpa) งิ้ว (Bombax ceiba) ปุย (Careya arborea) ยมหิน (Chukrasia tabularis) ซ้อ (Gmelina arborea) กระบก (Irvingia malayana) เพกา (Oroxylum indicum) มะขามป้อม (Phyllanthus emblica) และมะกอก (Spondias pinnata) จากการติดตามผลในแปลงฟื้นฟูพบว่าการรอดชีวิตของกล้าไม้ (อายุ 1 ปี หลังการปลูก) ได้รับอิทธิพลจากพื้นที่ปลูกและชนิดของพืช กล้าไม้ที่มีร้อยละการรอดชีวิตสูงสุด 5 ลำดับ ในแปลงพื้นฟู คือ ปุย มะกอก มะขามป้อม งิ้ว และ ซ้อ กล้าไม้ที่ศึกษาทั้งหมด 9 ชนิด ชนิดละ 42 ต้น ถูกนำมาศึกษาความสามารถในการทนแล้งในสภาพทดลอง แบ่งกล้าไม้เป็นชุดทดลองแบบรดน้ำและไม่รดน้ำโดยวางแผนการทดลองแบบบล็อกสุ่มสมบูรณ์ ประเมินความเหี่ยวเฉา โดยการให้คะแนนระดับ 0-5 ทุก 2 วัน ในช่วง 36 วันแรก และทุก 2 สัปดาห์จนครบ 120 วัน ผลการศึกษาพบว่าเมื่อสิ้นสุดการทดลองมะค่าโมงและงิ้วเป็นพืชสองชนิดที่ลำต้นเหนือดินยังมีชีวิตอยู่ (คะแนนความเหี่ยวเฉาระดับ 4) ใบแสดงการตอบสนองต่อความแห้งแล้งอย่างค่อยเป็นค่อยไป อาจเรียกได้ว่าเป็นกลยุทธ์ของการทนแล้ง การศึกษาคุณลักษณะเชิงหน้าที่ของพืชทุกชนิดในระยะกล้าไม้ประกอบด้วยคุณลักษณะทางใบ ราก และลำต้น รวมทั้งหมด 13 คุณลักษณะ ผลการวิเคราะห์ร่วมกับการรอดชีวิตของกล้าไม้ทั้งในสภาพแปลงฟื้นฟูและสภาพเรือนเพาะชำพบว่าสามารถจัดกลุ่มพืชได้ 4 กลุ่ม ตามคุณลักษณะเชิงหน้าที่ที่โดดเด่น กล้าไม้ชนิดที่มีร้อยละการรอดชีวิตสูงในแปลงฟื้นฟู ส่วนใหญ่ถูกจัดอยู่ในกลุ่มที่มีคุณลักษณะด้านรากเด่น คือ สัดส่วนใต้ดินต่อส่วนเหนือดิน ความยาวราก และความยาวรากต่อน้ำหนักแห้งราก คุณลักษณะดังกล่าวช่วยให้กล้าไม้มีความสามารถในการดูดซึมน้ำ และมีความสามารถในการแข่งขันสูง การศึกษานี้ไม่พบความสัมพันธ์ระหว่างคุณลักษณะเชิงหน้าที่ของพืชในระยะต้นกล้ากับร้อยละการรอดชีวิตในแปลงฟื้นฟู คุณลักษณะเชิงหน้าที่ด้านรากอาจนำไปปรับใช้เป็นเกณฑ์ในการคัดเลือกชนิดพืชสำหรับการฟื้นฟูป่าในพื้นที่เสี่ยงต่อภัยแล้ง ทั้งนี้ความสามารถในการทนแล้งอาจไม่ใช่ปัจจัยหลักสู่ความสำเร็จเพียงอย่างเดียวของการฟื้นฟูป่า ผู้ปฏิบัติด้านการฟื้นฟูควรพิจารณาที่มาของเมล็ดและคุณภาพของกล้าไม้ ขั้นตอนการเตรียมกล้าและการปลูก การดูแลรักษาหลังปลูก รวมถึงสภาพแวดล้อมของพื้นที่ปลูกด้วยen_US
Appears in Collections:SCIENCE: Theses

Files in This Item:
File Description SizeFormat 
610531028-รัตนมน อ้ายเสาร์.pdf4.04 MBAdobe PDFView/Open    Request a copy


Items in CMUIR are protected by copyright, with all rights reserved, unless otherwise indicated.