Please use this identifier to cite or link to this item: http://cmuir.cmu.ac.th/jspui/handle/6653943832/77988
Full metadata record
DC FieldValueLanguage
dc.contributor.advisorสมใจ ศิระกมล-
dc.contributor.advisorบุญพิชชา จิตต์ภักดี-
dc.contributor.authorศุภรดา ประเสริฐกุลen_US
dc.date.accessioned2023-06-11T00:30:49Z-
dc.date.available2023-06-11T00:30:49Z-
dc.date.issued2023-01-
dc.identifier.urihttp://cmuir.cmu.ac.th/jspui/handle/6653943832/77988-
dc.description.abstractDischarge planning is a systematic process for preparing patients and caregivers before discharge to promote continuity of care from hospital to home. It employs participation from a multidisciplinary healthcare team, patients, and relatives. This developmental study aimed to improve the quality of discharge planning and to study problems and obstacles related to its implementation with end-stage renal disease patients with Continuous Ambulatory Peritoneal Dialysis (CAPD). The study framework included the FOCUS-PDCA quality improvement process and the D-METHOD model. The participants were 25 patients, 25 caregivers, and 103 members of a multidisciplinary healthcare team. The study instruments consisted of 1) an interview guide regarding needs of discharge and referral care (for patients and caregivers); 2) a focus group interview guide regarding the process and problems of discharge planning (for the multidisciplinary team); 3) a discharge planning manual (for the multidisciplinary team); 4) a self-care manual (for patients and caregivers); 5) a discharge planning record form (for the multidisciplinary team); 6) a checklist of discharge planning practices (for the multidisciplinary team); 7) an assessment form on the knowledge and ability of patients and caregivers regarding self-care for CAPD; 8) questionnaires for collecting information about problems and suggestions related to discharge planning after quality improvement implementation; and 9) a satisfaction assessment form regarding discharge planning (for patients, caregivers, and the multidisciplinary team). The quality of all instruments was confirmed by five independent experts. The Kuder-Richardson (KR-20) coefficients of knowledge and ability assessment of patients and caregivers regarding self-care were 0.84 and 0.89, respectively. The Cronbach’s alpha coefficients of the satisfaction assessment tool for patients and caregivers, and for the multidisciplinary team were 0.86 and 0.93, respectively. Data were analyzed using descriptive statistics and content analysis. The study results revealed that: 1. The quality of discharge planning after the implementation was as follows: 1) The mean score for the practices of discharge planning by the multidisciplinary teams was at a very good level. 2) The mean scores for knowledge regarding self-care for CAPD, ability to do peritoneal solution exchange, and exit site dressing assessment of patients and caregivers was at a very good level and higher than those before receiving the discharge planning (Z = 4.30, p < .001; Z = 4.05, p < .001; Z = 3.77, p < .001). 3) The mean score for patient and caregiver satisfaction with the care in the discharge planning process was at a very good level. 4) The mean score for the multidisciplinary team’s satisfaction with the care in the discharge planning process was at a good level. 5) The average length of hospital stay decreased from 10.39 to 5.12 days. 6) The average medical expenses for each patient decreased from 56,463 to 23,808 Thai baht per case. 2. The problems and obstacles regarding patient discharge planning included: 1) the multidisciplinary team had a high workload; 2) there was a lack of a key person responsible for coordinating the discharge planning team; 3) the caregivers were overburdened, and it was difficult to contact them; and 4) the teaching materials were not diverse and were inappropriate for some elderly patients and patients with reading problems. Suggestions included: 1) head nurses should assign and manage staffing appropriately; 2) head nurses should assign a nurse in their unit to be responsible for coordinating the discharge planning team; 3) the discharge planning team must provide for the caregiver starting from admission, finding multiple ways to contact caregivers, including using technology; and 4) the discharge planning team should use new technological teaching materials to suit each patient. This study proved that discharge planning served the multidisciplinary team as an appropriate approach to prepare end-stage renal disease patients with CAPD, and their caregivers, for discharge. It is also beneficial for nursing administrators in determining discharge planning strategies and monitoring the discharge planning care process for end-stage renal disease patients with CAPD among the multidisciplinary team in Nakornping Hospital.en_US
dc.language.isootheren_US
dc.publisherเชียงใหม่ : บัณฑิตวิทยาลัย มหาวิทยาลัยเชียงใหม่en_US
dc.subjectการพัฒนาคุณภาพen_US
dc.subjectการวางแผนจำหน่ายen_US
dc.subjectไตวายระยะสุดท้ายen_US
dc.subjectการล้างไตทางช่องท้องen_US
dc.subjectโฟกัส พี ดี ซี เอen_US
dc.titleการพัฒนาคุณภาพการวางแผนจำหน่ายสำหรับผู้ป่วยโรคไตวายระยะสุดท้ายที่ได้รับการล้างไตทางช่องท้องอย่างต่อเนื่อง โรงพยาบาลนครพิงค์en_US
dc.title.alternativeQuality improvement of discharge planning for end stage renal disease patients with continuous ambulatory peritoneal dialysis, Nakornping Hospitalen_US
dc.typeIndependent Study (IS)
thailis.controlvocab.thashผู้ป่วย -- การดูแล-
thailis.controlvocab.thashพยาบาลกับผู้ป่วย-
thailis.controlvocab.thashไตวายเฉียบพลัน-
thailis.controlvocab.thashไต -- โรค-
thesis.degreemasteren_US
thesis.description.thaiAbstractการวางแผนจำหน่ายเป็นกระบวนการเตรียมความพร้อมผู้ป่วยก่อนการจำหน่ายอย่างเป็นระบบ เพื่อส่งเสริมให้เกิดการดูแลอย่างต่อเนื่องเชื่อมโยงจากการดูแลรักษาในโรงพยาบาลไปสู่การดูแลที่บ้าน โดยการมีส่วนร่วมของทีมสหสาขาวิชาชีพด้านสุขภาพ ผู้ป่วย และผู้ดูแล การศึกษาเชิงพัฒนานี้ มีวัตถุประสงค์เพื่อพัฒนาคุณภาพการวางแผนจำหน่าย และศึกษาปัญหาและอุปสรรคเกี่ยวกับการวางแผนจำหน่ายสำหรับผู้ป่วยโรคไตวายระยะสุดท้ายที่ได้รับการล้างไตทางช่องท้องอย่างต่อเนื่อง โรงพยาบาลนครพิงค์ กรอบแนวคิดในการศึกษาได้แก่ กระบวนการพัฒนาคุณภาพอย่างต่อเนื่องโฟกัส พี ดี ซี เอ ร่วมกับรูปแบบ D-METHOD กลุ่มตัวอย่างในการศึกษาครั้งนี้ประกอบด้วย ผู้ป่วยโรคไตวายระยะสุดท้ายที่ได้รับการล้างไตทางช่องท้องอย่างต่อเนื่องจำนวน 25 คน ผู้ดูแลจำนวน 25 คน และทีมสหสาขาวิชาชีพสุขภาพ จำนวน 103 คน เครื่องมือที่ใช้ในการศึกษา ได้แก่ 1) แนวคำถามในการสัมภาษณ์ผู้ป่วยและผู้ดูแลเกี่ยวกับความต้องการในการจำหน่ายและการส่งต่อ 2) แนวคำถามในการประชุมกลุ่มทีมพัฒนาเพื่อสอบถามข้อมูลเกี่ยวกับกระบวนการและปัญหาในการวางแผนจำหน่าย 3) คู่มือการวางแผนจำหน่ายสำหรับทีมสหสาขาวิชาชีพ 4) คู่มือในการดูแลตนเองสำหรับผู้ป่วยและผู้ดูแล 5) แบบบันทึกการวางแผนจำหน่ายสำหรับทีมสหสาขาวิชาชีพ 6) แบบตรวจสอบการปฏิบัติตามแผนจำหน่ายของทีมสหสาขาวิชาชีพ 7) แบบประเมินความรู้และความสามารถในการดูแลตนเองของผู้ป่วยและผู้ดูแล 8) แนวคำถามในการรวบรวมปัญหาและข้อเสนอแนะเกี่ยวกับการวางแผนจำหน่ายภายหลังการดำเนินการพัฒนาคุณภาพ และ 9) แบบประเมินความพึงพอใจของผู้ป่วย ผู้ดูแล และทีมสหสาขาวิชาชีพด้านสุขภาพต่อแผนการจำหน่าย เครื่องมือวิจัยได้รับการตรวจสอบคุณภาพโดยผู้ทรงคุณวุฒิ จำนวน 5 ท่าน มีค่าสัมประสิทธิ์ความเที่ยงตามสูตรคูเดอร์-ริชาร์ดสัน (KR-20) ของแบบประเมินความรู้และความสามารถในการดูแลตนเอง เท่ากับ 0.84 และ 0.89 ตามลำดับ และค่าสัมประสิทธิ์แอลฟาครอนบาค (Cronbach’s alpha coefficient) ของแบบประเมินความพึงพอใจของผู้ป่วยและผู้ดูแล และทีมสหสาขาวิชาชีพ ได้เท่ากับ 0.86 และ 0.93 ตามลำดับ วิเคราะห์ข้อมูลโดยใช้สถิติเชิงพรรณนาและการวิเคราะห์เนื้อหา ผลการศึกษาพบว่า 1. คุณภาพการวางแผนจำหน่ายสำหรับผู้ป่วยโรคไตวายระยะสุดท้ายที่ได้รับการล้างไตทางช่องท้องอย่างต่อเนื่อง โรงพยาบาลนครพิงค์ ภายหลังการพัฒนา มีดังนี้ 1) ค่าเฉลี่ยคะแนนการปฏิบัติตามแผนการจำหน่ายของทีมสหสาขาวิชาชีพอยู่ในระดับดีมาก 2) ค่าเฉลี่ยคะแนนความรู้ในการดูแลตนเอง ความสามารถในการเปลี่ยนน้ำยาล้างไต และความสามารถในการทำแผลช่องทางออกของสายล้างไตของผู้ป่วยและผู้ดูแลหลังได้รับการวางแผนจำหน่ายอยู่ในระดับดีมาก และมากกว่าก่อนได้รับการวางแผนจำหน่าย (Z = 4.30, p < .001; Z = 4.05, p < .001; Z = 3.77, p < .001) 3) ค่าเฉลี่ยคะแนนความพึงพอใจของผู้ป่วยและผู้ดูแลต่อกระบวนการดูแลตามแผนการจำหน่าย อยู่ในระดับมากที่สุด 4) ค่าเฉลี่ยคะแนนความพึงพอใจของทีมสหสาขาวิชาชีพต่อกระบวนการดูแลตามแผนการจำหน่ายอยู่ในระดับมาก 5) ระยะเวลานอนโรงพยาบาลเฉลี่ยลดลงจาก 10.39 วัน เป็น 5.12 วัน 6) ค่ารักษาพยาบาลเฉลี่ยลดลงจาก 56,463 บาทต่อราย เหลือ 23,808 บาทต่อราย 2. ปัญหาและอุปสรรคเกี่ยวกับการวางแผนจำหน่ายผู้ป่วย ได้แก่ 1) ทีมสหสาขาวิชาชีพมีภาระงานมาก 2) หอผู้ป่วยขาดผู้รับผิดชอบหลักในการประสานงานการดูแลผู้ป่วยตามแผนการจำหน่าย 3) ผู้ดูแลมีภาระงานมากและติดต่อประสานงานยาก และ 4) สื่อการสอนไม่หลากหลายและไม่เหมาะสมกับผู้สูงอายุและผู้ที่มีปัญหาด้านการอ่าน ส่วนข้อเสนอแนะ ได้แก่ 1) หัวหน้างานควรมอบหมายและจัดอัตรากำลังให้เหมาะสม 2) หัวหน้างานมอบหมายให้มีผู้รับผิดชอบหลักประจำหอผู้ป่วยในการประสานงานการวางแผนจำหน่าย 3) ทีมวางแผนจำหน่ายต้องค้นหาผู้ดูแลตั้งแต่แรกรับและสอบถามช่องทางติดต่อให้หลากหลายช่องทาง รวมทั้งการนำเทคโนโลยีมาใช้ และ 4) ทีมวางแผนจำหน่ายนำสื่อการสอนเทคโนโลยีใหม่ ๆ มาใช้ให้เหมาะสมกับผู้ป่วยแต่ละราย ผลการศึกษานี้แสดงให้เห็นว่าการวางแผนจำหน่ายช่วยให้ทีมสหสาขาวิชาชีพสามารถเตรียมความพร้อมในการจำหน่ายผู้ป่วยได้อย่างเหมาะสม ซึ่งเป็นประโยชน์ต่อผู้บริหารการพยาบาลในการกำหนดกลยุทธ์ในการวางแผนจำหน่ายและติดตามประเมินการวางแผนจำหน่ายผู้ป่วยโรคไตวายระยะสุดท้ายที่ได้รับการล้างไตทางช่องท้องอย่างต่อเนื่องของทีมสหสาขาวิชาชีพ โรงพยาบาลนครพิงค์en_US
Appears in Collections:NURSE: Independent Study (IS)

Files in This Item:
File Description SizeFormat 
611231048 ศุภรดา ประเสริฐกุล.pdf3.55 MBAdobe PDFView/Open    Request a copy


Items in CMUIR are protected by copyright, with all rights reserved, unless otherwise indicated.