Please use this identifier to cite or link to this item:
http://cmuir.cmu.ac.th/jspui/handle/6653943832/77922
Full metadata record
DC Field | Value | Language |
---|---|---|
dc.contributor.advisor | วรัทยา ชินกรรม | - |
dc.contributor.advisor | ไพรัช พิบูลย์รุ่งโรจน์ | - |
dc.contributor.author | รุจิรัตน์ เพชรฤทธิ์ | en_US |
dc.date.accessioned | 2022-12-17T14:46:07Z | - |
dc.date.available | 2022-12-17T14:46:07Z | - |
dc.date.issued | 2022-11 | - |
dc.identifier.uri | http://cmuir.cmu.ac.th/jspui/handle/6653943832/77922 | - |
dc.description.abstract | This research intends to investigate the components and activities of the Zebra Dove supply chain system, as well as the transaction costs at each level of the Zebra Dove supply chain. The Supply Chain Operations Reference Model (SCOR Model) and transaction cost economics theory were used as the analytical framework. To explain transaction costs incurred in the Zebra Dove supply chain Case study of the Zebra Dove in Nakhon Si Thammarat Province. which uses qualitative research methodology to find answers. In-depth interviews with structured interview questions with the sample group served as the technique of data gathering. The samples were sorted into three major groups: 1. Zebra Dove Breeder Farm Group (5 samples) 3. Zebra Dove Wholesalers and Retailers (5 samples) and 2. Zebra Dove Breeders (Minor) (15 samples). For samples 1 and 2, a Purposive Sampling approach was used, while for samples 3, Snowball Sampling was used. There are 25 samples in total. Those samples span the supply chain from upstream to downstream. and then analyze the data using content analysis. The results of the study revealed that the main stakeholders in the Java dove supply chain are as follows: 1) Upstream is the Zebra Dove Breeder Farm, which sells inputs to the farm and other Zebra Dove Breeders (minor). Next, 2) midstream is the Zebra Dove Breeder Farm, and the Zebra Dove Breeders (minor) introduce the Zebra Doves into the competitions, and some of them are sold to collectors, middlemen, and wholesalers, which will serve to deliver products to those involved in the Zebra Dove industry. 3) The downstream part is that retailers will sell Zebra Dove to customers as the last part. According to the SCOR model, the Zebra Dove Supply Chain in Nakhon Si Thammarat Province is related to the interlinked processes involving persons or business units in each supply chain from upstream to downstream. To bring value to the Zebra Dove supply chain by concentrating on addressing customer demands at an appropriate cost, including transaction expenses. It was discovered that major players in the supply chain experienced transaction costs in three areas: 1) gathering information, 2) negotiating and making decisions, and 3) supervising and enforcing These are transaction expenses incurred in the supply chain. If a person or company unit must select whether to produce themselves (in-house) or hire or acquire from others (outsource) to decrease expenses, as many transactions as feasible must place within the business unit. | en_US |
dc.language.iso | other | en_US |
dc.publisher | เชียงใหม่ : บัณฑิตวิทยาลัย มหาวิทยาลัยเชียงใหม่ | en_US |
dc.subject | ต้นทุนธุรกรรม | en_US |
dc.subject | นกเขาชวา | en_US |
dc.subject | ห่วงโซ่อุปทาน | en_US |
dc.title | การวิเคราะห์ต้นทุนธุรกรรมในห่วงโซ่อุปทานนกเขาชวา | en_US |
dc.title.alternative | Transaction cost analysis in Zebra Dove Supply Chain | en_US |
dc.type | Thesis | |
thailis.controlvocab.thash | นกเขาชวา -- นครศรีธรรมราช | - |
thailis.controlvocab.thash | ต้นทุนธุรกรรม | - |
thailis.controlvocab.thash | ผลกระทบภายนอก (เศรษฐศาสตร์) | - |
thesis.degree | master | en_US |
thesis.description.thaiAbstract | งานวิจัยนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อศึกษาองค์ประกอบและกิจกรรมในระบบห่วงโซ่อุปทานของนกเขาชวา รวมถึงศึกษาต้นทุนธุรกรรมในแต่ละขั้นของห่วงโซ่อุปทานนกเขาชวา โดยใช้แบบจำลองอ้างอิงการดำเนินงานโซ่อุปทาน (SCOR Model) และใช้ทฤษฎีเศรษฐศาสตร์ต้นทุนธุรกรรมเป็นกรอบการวิเคราะห์ เพื่ออธิบายต้นทุนธุรกรรมที่เกิดขึ้นในห่วงโซ่อุปทานนกเขาชวา กรณีศึกษานกเขาชวาในจังหวัดนครศรีธรรมราช ซึ่งอาศัยระเบียบวิธีวิจัยเชิงคุณภาพในการหาคำตอบ ผู้วิจัยใช้วิธีการเก็บข้อมูลจากการสัมภาษณ์เชิงลึกใช้แบบสัมภาษณ์แบบมีโครงสร้างเป็นเครื่องมือ ใช้วิธีการเลือกกลุ่มตัวอย่างจากการสุ่มตัวอย่างแบบเจาะจง ได้แก่ กลุ่มฟาร์มเพาะเลี้ยงนกเขาชวา จำนวน 5 ราย ผู้เลี้ยงนกเขาชวารายย่อย จำนวน 15 ราย กำหนดขนาดกลุ่มตัวอย่างในศึกษาจากจำนวนฟาร์มเพาะเลี้ยงนกเขาชวาและผู้เลี้ยงนกเขาชวารายย่อยทั้งหมดในพื้นที่จังหวัดนครศรีธรรมราช และใช้วิธีเลือกการสุ่มตัวอย่างแบบบอกต่อ ได้แก่ ผู้รวบรวม ผู้ค้าส่งและผู้ค้าปลีกนกเขาชวา จำนวน 5 ราย ในพื้นที่จังหวัดนครศรีธรรมราช รวมจำนวน 25 ราย แล้วนำข้อมูลมาวิเคราะห์ข้อสรุปด้วยการวิเคราะห์เนื้อหา ผลการศึกษา พบว่า ผู้ที่มีส่วนเกี่ยวข้องหลักในห่วงโซ่อุปทานนกเขาชวา ดังต่อไปนี้ 1) ห่วงโซ่อุปทานต้นน้ำ เริ่มต้นจากผู้ขายปัจจัยการผลิตหรือผู้จัดหาวัตถุดิบ คือ ฟาร์มเพาะเลี้ยงนกเขาชวา เป็นผู้จำหน่ายพ่อแม่พันธุ์นกเขาชวาเสียงดีมีคุณภาพ และผู้จำหน่ายอาหาร ยารักษาโรค อุปกรณ์การเลี้ยงนกเขาชวา ให้แก่ ฟาร์มเพาะเลี้ยงนกเขาชวาและรายย่อยรายอื่น ๆ 2) ห่วงโซ่อุปทานกลางน้ำ คือ ฟาร์มเพาะเลี้ยงนกเขาชวาและผู้เลี้ยงนกเขาชวารายย่อย จะจำหน่ายนกเขาชวาตามระดับของตลาดนกเขาชวา ได้แก่ ตลาดระดับสูง เน้นนกเขาชวาน้ำเสียงดี สายพันธุ์ที่ดีมีคุณภาพและการเข้าสนามแข่งขันประชันเสียงชนะการแข่งขันราคาค่อนข้างสูง ซึ่งจำหน่ายนกเขาชวาที่ฟาร์มและในสนามแข่งขัน มีอีกช่องทางการจำหน่าย คือจำหน่ายผ่านผู้รวบรวม หรือคนกลาง ส่วนตลาดระดับล่าง คือ ผู้เลี้ยงนกเขาชวารายย่อย และผู้ค้าส่งนกเขาชวาจะจำหน่ายนกเขาชวาไม่ได้มาตรฐานราคาไม่สูงให้กับผู้ค้าปลีก 3) ห่วงโซ่อุปทานปลายน้ำ คือ ผู้ค้าปลีกนกเขาชวา ลูกค้าที่ต้องการนกเขาชวา ทั้งนี้จากการศึกษากระบวนการหลักตามแบบจำลอง SCOR สรุปได้ว่าห่วงโซ่อุปทานนกเขาชวาในจังหวัดนครศรีธรรมราชมีความเชื่อมโยงกันของกระบวนการดำเนินงานระหว่างบุคคลหรือหน่วยธุรกิจในแต่ละห่วงโซ่อุปทานตั้งแต่ต้นน้ำไปจนถึงปลายน้ำ เพื่อสร้างมูลค่าเพิ่มให้กับนกเขาชวา ซึ่งจะเน้นตอบสนองความต้องการของลูกค้าภายใต้ต้นทุนที่ยอมรับได้ รวมถึงต้นทุนธุรกรรมในห่วงโซ่อุปทานนกเขาชวา พบว่า ผู้ที่มีส่วนเกี่ยวข้องหลักในห่วงโซ่อุปทานนกเขาชวามีต้นทุนธุรกรรมเกิดขึ้น 3 ด้าน คือ ด้านการค้นหาข้อมูล ด้านการเจรจาต่อรองและตัดสินใจ รวมถึงด้านการควบคุมดูแลและบังคับใช้ ซึ่งค่าใช้จ่ายดังกล่าวเป็นต้นทุนธุรกรรมที่เกิดขึ้นในห่วงโซ่อุปทาน หากบุคคลหรือหน่วยธุรกิจต้องตัดสินใจเลือกการผลิตขึ้นมาเอง (In-house) เลือกจ้างหรือซื้อจากบุคคลหรือหน่อยธุรกิจอื่นภายนอกทำแทน (Outsource) เพื่อลดต้นทุนธุรกรรมที่เกิดขึ้นในหน่วยธุรกิจให้ได้มากที่สุด | en_US |
Appears in Collections: | ECON: Theses |
Files in This Item:
File | Description | Size | Format | |
---|---|---|---|---|
611621020-รุจิรัตน์ เพชรฤทธิ์.pdf | 2.24 MB | Adobe PDF | View/Open Request a copy |
Items in CMUIR are protected by copyright, with all rights reserved, unless otherwise indicated.