Please use this identifier to cite or link to this item:
http://cmuir.cmu.ac.th/jspui/handle/6653943832/77742
Full metadata record
DC Field | Value | Language |
---|---|---|
dc.contributor.advisor | ปรานอม ตันสุขานันท์ | - |
dc.contributor.author | ธารวิมล มิสานุช | en_US |
dc.date.accessioned | 2022-10-26T09:51:41Z | - |
dc.date.available | 2022-10-26T09:51:41Z | - |
dc.date.issued | 2022-10-15 | - |
dc.identifier.uri | http://cmuir.cmu.ac.th/jspui/handle/6653943832/77742 | - |
dc.description.abstract | The purpose of this research was to explore and to investigate the management, the role, function, and use of public spaces under the context of the social network amongst the local native residents in the Chiang Mai Old Town community: Muen Sarn, Wua Lai district, Chiang Mai. It has been one of the most significant neighbourhoods in the history and development of Chiang Mai city as a silver craft community since the revival of Chiang Mai, at the beginning of King Kawila reign. The conceptual framework of Chiang Mai old city is that it made up with the local communities and residents’ social network. In addition, the social networks in the community create activities that occur on public spaces in their daily life, and vise versa. As a result, the study on physical characteristics and the use of public spaces in the community must be studied hand in hand with the relationship of the social networks. The research methodologies are interviewing, monitoring, and observing various activities of the local residents in the Wat Muen San community. The results identified three interconnected groups of people in the community: 1) women and craftsperson 2) traditional craftsmen, and 3) new generation craftsmen. Their roles were linked to the opportunistic activities which are categorized into; necessary, optional, social, and social- voluntary activities. Community social areas include the Muen San temple, local shops, streets, house frontages and the areas along the fences. The research summaries are as follow: 1. the temple spaces are important public spaces for a variety of activities, 2. the streets are informal social meeting spaces, 3. the house frontage and the fenced areas are meeting areas for optional activities, 4. the local shops are social areas related to necessary and optional activities like eating and relaxation. | en_US |
dc.language.iso | other | en_US |
dc.publisher | เชียงใหม่ : บัณฑิตวิทยาลัย มหาวิทยาลัยเชียงใหม่ | en_US |
dc.subject | โครงข่ายทางสังคม | en_US |
dc.subject | พื้นที่สาธารณะ | en_US |
dc.subject | ชุมชนวัดหมื่นสาร | en_US |
dc.subject | เชียงใหม่ | en_US |
dc.title | โครงข่ายสังคมกับพื้นที่สาธารณะของชุมชนวัดหมื่นสาร ย่านวัวลาย เชียงใหม่ | en_US |
dc.title.alternative | Social network and public space of Wat Muen San Community, Wua Lai district, Chiang Mai | en_US |
dc.type | Thesis | - |
thailis.controlvocab.thash | วัดหมื่นสาร | - |
thailis.controlvocab.thash | พื้นที่สาธารณะ -- เชียงใหม่ | - |
thailis.controlvocab.thash | ชุมชน -- เชียงใหม่ | - |
thesis.degree | master | en_US |
thesis.description.thaiAbstract | ชุมชนวัดหมื่นสารย่านวัวลาย เป็นชุมชนช่างเงินดั้งเดิมในเขตเมืองเก่าเชียงใหม่ ที่มีความสำคัญในด้านต่าง ๆ และเป็นส่วนหนึ่งของพัฒนาการและประวัติศาสตร์ของเมืองเก่าเชียงใหม่ ตั้งอยู่ระหว่างกำแพงเมืองชั้นในและชั้นนอกทางทิศใต้ของเมืองเชียงใหม่ หลังจากที่พระยากาวิละอพยพกลุ่มช่างฝีมือมาจากลุ่มน้ำสาละวินในยุคเก็บผักใส่ซ้าเก็บข้าใส่เมืองจึงเริ่มตั้งชุมชนช่างขึ้น และกลายเป็นชุมชนที่มีชื่อเสียงทางด้านอาชีพ งานฝีมือ นอกจากนี้ยังมีความโดดเด่นทางด้านความกลุ่มและเครือข่ายทางสังคมในชุมชน งานวิจัยชิ้นนี้ เริ่มต้นจากข้อสังเกตถึงบทบาท หน้าที่ และการใช้งานพื้นที่สาธารณะภายใต้บริบทโครงข่ายทางสังคมของผู้ที่อยู่อาศัยดั้งเดิมในชุมชนวัดหมื่นสาร โดยเชื่อว่าเมืองเก่าเชียงใหม่ดั้งเดิมประกอบไปด้วยชุมชนและผู้อยู่อาศัยซึ่งมีโครงข่ายทางสังคมที่เหนียวแน่นกลมเกลียวผูกพันเกี่ยวข้องกันแบบสังคมดั้งเดิมและโครงข่ายทางสังคมในชุมชน ก่อให้เกิดการใช้งานพื้นที่สาธารณะและกิจกรรมบนพื้นที่สาธารณะในชีวิตประจำวัน และขณะเดียวกันพื้นที่สาธารณะก็มีส่วนสนับสนุนให้เกิดกิจกรรมและเอื้อต่อปฏิสัมพันธ์ทางสังคมด้วย การศึกษาลักษณะกายภาพของพื้นที่สาธารณะในชุมชนจึงต้องศึกษาความสัมพันธ์ระหว่างโครงข่ายทางสังคมและการใช้พื้นที่สาธารณะโดยแยกจากกันมิได้โดยมีวิธีการวิจัย ประกอบด้วย การสัมภาษณ์กลุ่มคนในชุมชน รวมถึงติดตามและสังเกตการณ์ กิจกรรมและการใช้งานพื้นที่สาธารณะของชุมชนวัดหมื่นสาร ย่านวัวลาย เชียงใหม่ ผลการวิจัยพบว่า กลุ่มคนที่มีความสัมพันธ์ทางสังคมในชุมชนแบ่งออก 3 กลุ่ม ได้แก่ กลุ่มผู้หญิงและช่าง กลุ่มช่างดั้งเดิม และ กลุ่มช่างรุ่นใหม่ ซึ่งมีการใช้งานพื้นที่สาธารณะ ตามบทบาท โอกาสและกิจกรรมในชีวิตประจำวัน 4 รูปแบบ ได้แก่ กิจกรรมจำเป็น กิจกรรมทางเลือก กิจกรรมทางสังคม และกิจกรรมทางเลือกทางสังคม บนพื้นที่สาธารณะในชุมชน 4 พื้นที่ ได้แก่ พื้นที่วัด พื้นที่ทางสัญจร พื้นที่หน้าบ้าน และพื้นที่ร้านค้าในชุมชน นอกจากนี้ยังสรุปคุณลักษณะและบทบาทในด้านการเป็นพื้นที่ทางสังคม ได้แก่ วัดเป็นพื้นที่สาธารณะที่สำคัญสำหรับกิจกรรมที่หลากหลาย พื้นที่ทางสัญจรเป็นพื้นที่ปฏิสัมพันธ์ทางสังคมอย่างไม่เป็นทางการ พื้นที่หน้าบ้านเป็นพื้นที่พบปะสำหรับกิจกรรมทางเลือก และพื้นที่ร้านค้าในชุมชนพื้นที่กิจกรรมทางสังคมที่เกี่ยวเนื่องมาจากกิจกรรมจำเป็น | en_US |
Appears in Collections: | ARC: Theses |
Files in This Item:
File | Description | Size | Format | |
---|---|---|---|---|
611731014 THANVIMON MISANUCH.pdf | 42.74 MB | Adobe PDF | View/Open Request a copy |
Items in CMUIR are protected by copyright, with all rights reserved, unless otherwise indicated.