Please use this identifier to cite or link to this item: http://cmuir.cmu.ac.th/jspui/handle/6653943832/74090
Full metadata record
DC FieldValueLanguage
dc.contributor.advisorNongyao Nawarat-
dc.contributor.advisorKwanchewan Buadaeng-
dc.contributor.advisorPrasit Leepreecha-
dc.contributor.authorWasan Sapphasuken_US
dc.date.accessioned2022-09-13T02:47:00Z-
dc.date.available2022-09-13T02:47:00Z-
dc.date.issued2019-09-
dc.identifier.urihttp://cmuir.cmu.ac.th/jspui/handle/6653943832/74090-
dc.description.abstractBan Rim Khong School, located on the border between Thailand and Lao PDR in Chiang Khong District, Chiang Rai Province, is a cultural site consisting of students of different cultural and national backgrounds. It is also a site of ideological practices that allows actors in the border area to contest for the space to reproduce citizenship ideology in students. However, the school system tends to make the diversity of students and the politics of ideologies a matter of compromise and overlooks the aspect of contestation. Therefore, this study has the objectives to: (1) study and analyse citizenship construction by state and non-state actors in Ban Rim Khong School; and, (2) study and analyse the impact of the practices of citizenship construction by state and non-state actors on students of Ban Rim Khong School. This study adopted the method of phenomenological research and collected data from documents, observation, and interview. The research found that the contestation for, and practices of, citizenship construction by state and non-state organisations who were all local-level actors were conducted through three important ideological spaces in the school setting, namely: (1) school policy, through which actors drew on social capital and contested to use school administrators and teachers as a mechanism to penetrate through the school setting and drive the reproduction of their ideologies in the school policy; (2) official curriculum, which was used by actors as a mechanism to reproduce their ideologies through school curriculum and classroom management; and, (3) hidden curriculum, which encompasses knowledge that lies implicit in physical objects and daily interaction in school. The Chiang Khong District Office is a government agency that was able to contest and mostly reproduce neoliberalist ideology that covers diverse spaces. However, the majority of their practices lacked flexibility and did not develop close relationship with the target group. Compared to the District Office, the Rak Chiang Khong Conversation Group was a non-state organisation that managed to contest and quite predominantly reproduce localist ideology with a wider coverage, and higher flexibility in terms of its operation and relationship with students. However, other actors were found to lack the power to contest for every area in the school system, or the power was only limited to certain groups of students. The abovementioned contestations and practices helped to underscore the implication of the border school as a site of ideological practices with different actors contesting to use it as a mechanism to construct citizenship ideology that is in line with the context and requirements of the people in their respective areas. Nevertheless, the ideological practices conducted in the school setting by different actors, both state and non-state organisations, resulted in a set of alternative ideologies, a sociocultural space, as well as the liberation and empowerment of students. At the same time, note that students were not passive. They were active agents with the ability to adopt, adapt, or arrange new ideologies in way that was consistent with their cultural backgrounds in order to illustrate their membership, sense of belonging, claiming space, and different ways of claiming their rights as a cultural citizen, including having a shared ethnic identity and being a member of the border community or a part of the nation-state. These claims depend largely on the situation, benefits, and the power they have during the interaction in a given time.en_US
dc.language.isoenen_US
dc.publisherChiang Mai : Graduate School, Chiang Mai Universityen_US
dc.titleCultural citizenship construction in Thailand – Lao PDR border schoolen_US
dc.title.alternativeปฏิบัติการสร้างความเป็นพลเมืองเชิงวัฒนธรรมในโรงเรียนชายแดนไทย และสาธารณรัฐประชาธิปไตยประชาชนลาวen_US
dc.typeThesis
thailis.controlvocab.lcshBan Rim Khong School-
thailis.controlvocab.lcshSchool management and organization-
thailis.controlvocab.lcshBorderlands -- Schools-
thailis.controlvocab.lcshEducation -- Thailand -- Boundaries -- Laos-
thailis.controlvocab.lcshCivil rights-
thailis.controlvocab.lcshSchools -- Chiang Khong (Chiang Rai)-
thesis.degreedoctoralen_US
thesis.description.thaiAbstractโรงเรียนบ้านริมโขง พื้นที่ชายแดนไทย-สปป.ลาว อำเภอเชียงของ จังหวัดเชียงราย เป็นพื้นที่ ทางวัฒนธรรมที่ประกอบไปด้วยนักเรียนหลากหลายภูมิหลังทางวัฒนธรรมและสัญชาติ และเป็น พื้นที่ปฏิบัติการทางอุดมการณ์ที่เปิดให้ผู้ปฏิบัติการในพื้นที่ชายแดนเข้ามาต่อสู่ช่วงชิงเพื่อผลิตซ้ำ อุดมการณ์ความเป็นพลเมืองให้แก่นักเรียน ทว่าในบางครั้งระบบโรงเรียนมักทำให้ความหลากหลาย ของนักเรียนและการเมืองของอุดมการณ์ดังกล่าวเป็นเรื่องของการประนีประนอมมองไม่เห็นการ ยื้อแย่งช่วงชิง การศึกษาในครั้งจึงมีวัตถุประสงค์เพื่อ 1) ศึกษาและวิเคราะห์ปฏิบัติการสร้างอุคมการณ์ ความเป็นพลเมืองของผู้ปฏิบัติการที่เป็นองค์กรภาครัฐ และองค์กรนอกภาครัฐในโรงเรียนบ้านริมโขง และ 2) ศึกษาและวิเคราะห์ผลการปฏิบัติการสร้างอุดมการณ์ความเป็นพลเมืองของผู้ปฏิบัติการที่เป็น องค์กรภาครัฐ และองค์กรนอกภาครัฐที่มีต่อนักเรียนโรงเรียนบ้านริมโขง โดยใช้การวิจัยเชิงคุณภาพ แนวปรากฏการณ์วิทยา และเก็บข้อมูลจากการใช้ข้อมูลเอกสาร การสังเกต และการสัมภาษณ์ ผลการวิจัยพบว่า การช่วงชิงและปฏิบัติการสร้างความเป็นพลเมืองขององค์กรภาครัฐและ องค์กรนอกกาครัฐซึ่งทั้งหมดเป็นผู้ปฏิบัติการในระดับพื้นที่ถูกปฏิบัติการผ่านพื้นที่ทางอุดมการณ์ที่ สำคัญในโรงเรียน ได้แก่ พื้นที่นโยบายของโรงเรียนซึ่งผู้ปฏิบัติการใช้ทุนทางสังคมและการช่วงชิง พื้นที่ความคิดของผู้บริหารและครูเป็นกลไกในการแทรกซึมและผลักดันให้อุคมการณ์ของตนถูกผลิต ซ้ำในนโยบายโรงเรียน พื้นที่หลักสูตรทางการซึ่งผู้ปฏิบัติการใช้เป็นกลไกผลิตซ้ำอุคมการณ์ผ่าน หลักสูตรสถานศึกษาและการจัดการเรียนการสอนในชั้นเรียน และพื้นที่หลักสูตรแฝงซึ่งเป็นพื้นที่ ความรู้ที่แฝงเร้นอยู่ในสิ่งประดิษฐ์ทางกายภาพและปฏิสัมพันธ์ในชีวิตประจำวันในโรงเรียน โดย สำนักงานอำเภอเชียงของเป็นองค์กรภาครัฐที่สามารถช่วงชิงและผลิตซ้ำอุดมการณ์รัฐเสรีนิยมใหม่ได้ ค่อนข้างมากและครอบคลุมพื้นที่ที่หลากหลาย ทว่าปฏิบัติการส่วนใหญ่กลับไม่มีความยืดหยุ่นและ ไม่ใกล้ชิดกับกลุ่มเป้าหมาย ส่วนกลุ่มรักษ์เชียงของเป็นองค์กรนอกภาครัฐที่สามารถช่วงชิงและ ผลิตซ้ำอุดมการณ์ท้องถิ่นนิยมได้ค่อนข้างมากและครอบคลุมหลายพื้นที่เช่นกัน แต่มีความยืดหยุ่นใน การปฏิบัติการและใกล้ชิดกับนักเรียนมากกว่า สำหรับผู้ปฏิบัติการอื่น ๆ ยังไม่ทรงพลังอำนาจพอใน การช่วงชิงได้ครบทุกพื้นที่ในระบบโรงเรียน หรือยังจำกัดเฉพาะนักเรียนกลุ่มใดกลุ่มหนึ่งเท่านั้น ทั้งนี้ การช่วงชิงและปฏิบัติการดังกล่าวก็เน้นย้ำให้เห็นนัยยะของโรงเรียนชายดนในฐานะที่เป็นสนาม ปฏิบัติการของอุดมการณ์ ที่มีการต่อสู้ช่วงชิงเพื่อใช้โรงเรียนเป็นกล ไกในการสร้างอุดมการณ์ความ พลเมืองให้สอดคล้องกับบริบทและความต้องการของพื้นที่ อย่างไรก็ตาม การเข้ามาปฏิบัติการในพื้นที่โรงเรียนของผู้ปฏิบัติการที่เป็นองค์กรภาครัฐ และ องค์กรนอกภาครัฐ ได้สร้างชุดอุดมการณ์ทางเลือก สร้างพื้นที่ทางสังคมและวัฒนธรรม รวมถึง ปลดปล่อยและเสริมพลังอำนาจให้นักเรียน ขณะเดียวกันนักเรียนก็มิได้เป็นเพียงผู้ถูกกระทำ (Passive) เท่านั้น หากแต่พวกเขาเป็นผู้กระทำการ (Active) ที่สามารถเลือกรับ ปรับใช้ หรือจัดวางชุดอุดมการณ์ ต่าง ๆ ใหม่ให้สอดคล้องกับภูมิหลังทางวัฒนธรรมของพวกเขาที่ซึ่งสะท้อนถึงการเป็นสมาชิก การมี สำนึกร่วม พื้นที่การอ้าง และการอ้างสิทธิในฐานะพลเมืองเชิงวัฒนธรรมที่แตกต่างกันไป ได้แก่ การมี สำนึกทางชาติพันธุ์ร่วมกัน การเป็นสมาชิกของชุมชนชายแดน การเป็นสมาชิกขององค์กร และการ เป็นส่วนหนึ่งของรัฐชาติ ทั้งนี้ก็ขึ้นอยู่กับเงื่อนไข สถานการณ์ ผลประโยชน์ และอำนาจที่พวกเขามี ปฏิบัติสัมพันธ์อยู่ในขณะนั้น ๆen_US
Appears in Collections:EDU: Theses

Files in This Item:
File Description SizeFormat 
วสันต์ สรรพสุข.pdf4.18 MBAdobe PDFView/Open    Request a copy


Items in CMUIR are protected by copyright, with all rights reserved, unless otherwise indicated.