Please use this identifier to cite or link to this item:
http://cmuir.cmu.ac.th/jspui/handle/6653943832/73995
Full metadata record
DC Field | Value | Language |
---|---|---|
dc.contributor.advisor | Thongchai Phuwanatwichit | - |
dc.contributor.advisor | Charin Mangkhang | - |
dc.contributor.advisor | Atchara Sarobol | - |
dc.contributor.author | Kessaraporn Singkamanee | en_US |
dc.date.accessioned | 2022-08-23T10:50:01Z | - |
dc.date.available | 2022-08-23T10:50:01Z | - |
dc.date.issued | 2021-01 | - |
dc.identifier.uri | http://cmuir.cmu.ac.th/jspui/handle/6653943832/73995 | - |
dc.description.abstract | The main purpose of the study on Dynamics and Identity of Local Wisdom on Pottery Production Muangkung of Chiang Mai is 1) to study the community contexts and dynamics of the pottery local wisdom at Muangkung in Chiang Mai, 2) to study the existence, adaptation, and inheritance of the pottery local wisdom at Muangkung in Chiang Mai, and 3) to propose guidelines for developing the curriculum of Muangkung pottery local wisdom for youths’ learning and for sustainable inheritance. This is a phenomenology study from primary documents, secondary documents, online databases, and fieldwork. I, as an investigator, divided the study into 3 phases. Each phase of the study consisted of population and sample groups: village headman, assistant village headman, Nong Kwai Sub-District Municipality members, housewife chairman, elderly people, local scholars, youth representative, school representative, student representative, and academic representative. The research tools included structured interview, field recording and focus group. Data collection was from in-depth interviews, focus group and participatory observations. Data analysis was from content analysis. Data prioritization and descriptive presentation were with charts and illustrations. The study results were summarized as follows: 1. The study the community contexts and dynamics of the pottery local wisdom at Muangkung in Chiang Mai: It was found that Ban Muangkung is located in the upper Ping river area, which is the lowland area of the large historical community of Lanna. Here is a suitable settlement as a source of rice cultivation from the common people in masters’ houses, take care and grow rice for the northern royal family in Chiang Mai. People have knowledge of pottery making, “Nam Ton” and “Nam Mor” products, earthware for containing water found in the Lanna way. Once globalization entered Lanna, it underwent economic, social, cultural and governmental changes. Especially the National Economic and Social Development Plan, it was the driving force behind the change of Ban Muangkung so that the pottery-making career was the main occupation of their livelihood. This has resulted in the development of pottery changing in 4 ages 1) Beginning Age (before 1961), Adaptation Age (1961-1981), 3) Golden Age (1982 -2006), and 4) The Challenging Age (2007 onwards). As Ban Muangkung has a sufficient living base with the occupation that the ancestors passed on to the family, the community uses the ‘Can Be, Can Live, can survive’ principle. 2. The study the existence, adaptation, and inheritance of the pottery local wisdom at Muangkung in Chiang Mai: It was found that Ban Muangkung of 148 households was a family of settlers. Nowadays, 61 households still work in pottery. In this regard, persistence, adaptation, and inheritance of local wisdom on Muangkung pottery are as follows: 1) Persistence consists of identity of local wisdom on pottery, historical identity and geographical indication identity, 2) Adaptation consists of the development of production techniques, the development of modernity, the development of trade, and 3) Inheritance consists of family inheritance, external inheritance, and educational inheritance. 3. The guidelines for developing the curriculum of Muangkung pottery local wisdom for youths’ learning and for sustainable inheritance: It was found that the guidelines for creating a curriculum of local wisdom on pottery production Muangkung on Muangkung Din Jee course was composed of 3 components: 1) Community-based curriculum, namely principles of curriculum, competencies of curriculum, learning content descriptions, learners’ competencies, learning outcomes, curriculum structure, study time structure, media, materials, learning resources, and evaluation of results, 2) Local wisdom learning activities using community-based learning resources, namely experiential learning activities with 18 learning bases in the community, learning activities through self-study, via online media, and encyclopedia, and the teaching process of a community-based project, and 3) Community-based measurement and assessment, learning outcomes or workload determining the measurement of learning outcome, practice, and learners’ ability performing until the end of the curriculum for determining the level of competency. In this regard, the guidelines for developing the curriculum of Muangkung pottery local wisdom for youths’ learning and for sustainable inheritance should be a parallel study of the school and the community. Furthermore, integrated learning management includes non-formal education and informal education to youth learning for sustainable inheritance. | en_US |
dc.language.iso | en | en_US |
dc.publisher | Chiang Mai : Graduate School, Chiang Mai University | en_US |
dc.title | Dynamics and Iidentity of local wisdom on pottery production Muangkung of Chiang Mai | en_US |
dc.title.alternative | พลวัตและอัตลักษณ์ภูมิปัญญาเครื่องปั้นดินเผาเหมืองกุงเชียงใหม่ | en_US |
dc.type | Thesis | |
thailis.controlvocab.lcsh | Pottery -- Chiang Mai | - |
thailis.controlvocab.thash | Wisdom -- Chiang Mai | - |
thailis.controlvocab.thash | Identity (Philosophical concept) -- Chiang Mai | - |
thesis.degree | doctoral | en_US |
thesis.description.thaiAbstract | การวิจัยเรื่อง พลวัตและอัตลักษณ์ภูมิปัญญาเครื่องปั้นดินเผาเหมืองกุงเชียงใหม่ มีวัตถุประสงค์หลักคือ 1) เพื่อศึกษาบริบทและพลวัตภูมิปัญญาเครื่องปั้นดินเผาเหมืองกุงเชียงใหม่ 2) เพื่อศึกษาการคงอยู่ การปรับตัว การสืบทอดอัตลักษณ์ภูมิปัญญาเครื่องปั้นดินเผาเหมืองกุง เชียงใหม่ และ3) เพื่อศึกษาแนวทางการสร้างหลักสูตรภูมิปัญญาเครื่องปั้นดินเผาเหมืองกุงสู่การเรียนรู้ของเยาวชนเพื่อการสืบทอดอย่างยั่งยืน ใช้ระเบียบวิธีวิจัยเชิงคุณภาพ เป็นการวิจัยปรากฏการณ์วิทยา โดยทำการศึกษาจากเอกสารชั้นต้น เอกสารชั้นรอง ฐานข้อมูลออนไลน์ และลงพื้นที่ภาคสนาม ผู้วิจัยแบ่งออกเป็น 3 ระยะในการศึกษา โดยแต่ละช่วงระยะการศึกษาจะประกอบด้วย ประชากรและกลุ่มตัวอย่าง ประกอบด้วย ผู้ใหญ่บ้าน ผู้ช่วยผู้ใหญ่บ้าน สมาชิกเทศบาลตำบลหนองควาย ประธานแม่บ้าน ผู้สูงอายุปราชญ์ชุมชน ตัวแทนเยาวชน ตัวแทนสถานศึกษา ตัวแทนนักเรียนและตัวแทนนักวิชาการ เครื่องมือที่ใช้ในการศึกษา ประกอบด้วย แบบสัมภาษณ์แบบมีโครงสร้าง แบบบักทึกภาคสนาม แบบสนทนากลุ่ม การเก็บรวบรวมจากการสัมภาษณ์เชิงลึก การสนทนากลุ่ม และการสังเกตแบบ มีส่วนร่วม การวิเคราะห์ข้อมูลโดยการวิเคราะห์เนื้อหา จัดเรียงลำดับความสำคัญของข้อมูลและนำเสนอเชิงพรรณนา โดยมีแผนภูมิและภาพประกอบ ผลการวิจัยสรุปได้ดังนี้ 1. การศึกษาบริบทและพลวัตภูมิปัญญาเครื่องปั้นดินเผาเหมืองกุงเชียงใหม่ พบว่า บ้านเหมืองกุงตั้งอยู่ในบริเวณเขตที่ราบลุ่มแม่น้ำปิงตอนต้น เป็นบริเวณที่ราบลุ่มของชุมชนทางประวัติศาสตร์ขนาดใหญ่ของล้านนา ด้วยมความเหมาะสมการตั้งถิ่นฐานเป็นแหล่งทำเลปลูกข้าว จากไพร่ในเรือนเจ้าดูแลและปลูกข้าวให้เจ้าในตระกูล ณ เชียงใหม่ ด้วยมีความรู้การทำเครื่องปั้นดินเผาผลิตภัณฑ์ “น้ำต้น” และ “น้ำหม้อ” เป็นภาชนะดินเผาสำหรับใส่น้ำที่พบได้ใน วิถีล้านนา เมื่อโลกาภิวัตน์เข้าสู่ล้านนา เกิดการเปลี่ยนแปลงทั้งระบบเศรษฐกิจ สังคม วัฒนธรรมและการปกครอง โดยเฉพาะแผนพัฒนาเศรษฐกิจและสังคมแห่งชาติเป็นกลไกขับเคลื่อนให้เกิดการเปลี่ยนแปลงบ้านเหมืองกุงให้อาชีพการทำเครื่องปั้นดินเผาเป็นอาชีพหลักในการเลี้ยงชีพ จึงส่งผลให้เครื่องปั้นดินเผาเกิดพัฒนาการเปลี่ยนแปลง 4 ยุคสมัย 1) ยุคเริ่มต้น (ก่อนปี พ.ศ. 2504) 2) ยุคปรับตัว (พ.ศ. 2504 - 2524) 3) ยุคเฟื่องฟู (พ.ศ. 2525 - 2549) และ4) ยุคแห่งความท้าทาย (พ.ศ. 2550 - ปัจจุบัน) การอยู่รอดในสังคมโลก แต่ด้วยบ้านหมืองกุงมีฐานการใช้ชีวิตอย่างพอเพียงด้วยอาชีพที่บรรพบุรุษ ที่ส่งต่อให้แก่คนครอบครัว โดยชุมชนใช้หลักคิด อยู่รอด อยู่ได้ อยู่ดี 2. การศึกษาการคงอยู่ การปรับตัว การสืบทอดอัตลักษณ์ภูมิปัญญาเครื่องปั้นดินเผาเหมืองกุง เชียงใหม่ พบว่า บ้านเหมืองกุงจำนวน 148 ครัวเรือน เป็นต้นตระกูลที่อพยพมาตั้งถิ่นฐาน ปัจจุบันยังคงประกอบอาชีพเครื่องปั้นดินเผา 61 ครัวเรือน ทั้งนี้การคงอยู่ การปรับตัว การสืบทอดอัตลักษณ์ภูมิปัญญาเครื่องปั้นดินเผาเหมืองกุง ดังนี้ 1) การคงอยู่ ประกอบด้วย อัตลักษณ์ภูมิปัญญาเครื่องปั้นดินเผา อัตลักษณ์ทางประวัติศาสตร์ อัตลักษณ์ทางข้อบ่งชี้ทางภูมิศาสตร์ 2) การปรับตัว ประกอบด้วย การพัฒนาเทคนิคการผลิต การพัฒนารูปแบบสอดคล้องกับสมัยนิยม การพัฒนาการค้า และ3) การสืบทอด ประกอบด้วย การสืบทอดสู่บุคคลในครอบครัว การสืบทอดสู่บุคคลภายนอก และการสืบทอดสู่ระบบการศึกษา 3. การศึกษาแนวทางการสร้างหลักสูตรภูมิปัญญาเครื่องปั้นดินเผาเหมืองกุงสู่การเรียนรู้ ของเยาวชนเพื่อการสืบทอดอย่างยั่งยืน พบว่า แนวการสร้างหลักสูตรภูมิปัญญาเครื่องปั้นดินเผาเหมืองกุง สาระการเรียนรู้เหมืองกุงดินจี่ ประกอบ 3 องค์ประกอบคือ 1) องค์ประกอบหลักสูตรชุมชนเป็นฐาน ได้แก่ หลักการของหลักสูตร สมรถถนะสำคัญของหลักสูตร คำอธิบายสาระการเรียนรู้ สมรรถนะผู้เรียน ผลการเรียนรู้ โครงสร้างหลักสูตร โครงสร้างเวลาเรียน สื่อ อุปกรณ์ แหล่งเรียนรู้ และการวัดผลประเมินผล 2) องค์ประกอบการจัดกิจกรรมการเรียนรู้ภูมิปัญญาโดยใช้แหล่งเรียนรู้ชุมชนเป็นฐาน ได้แก่ กิจกรรมการเรียนรู้จากประสบการณ์ ประกอบด้วย 18 ฐานการเรียนรู้ในชุมชน กิจกรรมการเรียนรู้ ผ่านการเรียนรู้ด้วยตนเอง ผ่านสื่อออนไลน์และสารานุกรมเครื่องปั้นดินเผา เหมืองกุงเชียงใหม่ และกระบวนการสอนแบบโครงงานบนฐานชุมชน และ3) องค์ประกอบการวัดและการประเมินผลโดยใช้ชุมชนเป็นฐาน ผลที่เกิดจากการเรียนรู้ หรือภาระงานเป็นตัวกำหนด การวัดผลจากการเรียน การปฏิบัติ และผู้เรียนสามารถปฏิบัติได้จบหลักสูตรกำหนดระดับขั้นของสมรรถนะ ทั้งนี้ผู้วิจัยเสนอแนะว่าสำหรับแนวทางการนำหลักสูตรภูมิปัญญาเครื่องปั้นดินเผาเหมืองกุง สู่การเรียนรู้ของเยาวชนเพื่อการสืบทอดอย่างยั่งยืนไปใช้ ควรเป็นการศึกษาคู่ขนานโรงเรียนร่วมกับชุมชนและการจัดการเรียนรู้แบบผสมผสาน ได้แก่ การศึกษานอกระบบ และการศึกษาตามอัธยาศัย สู่การเรียนรู้ของเยาวชนเพื่อการสืบทอดอย่างยั่งยืน | en_US |
Appears in Collections: | EDU: Theses |
Files in This Item:
File | Description | Size | Format | |
---|---|---|---|---|
600251009 เกษราภรณ์ สิงห์คะมณี.pdf | 5.59 MB | Adobe PDF | View/Open Request a copy |
Items in CMUIR are protected by copyright, with all rights reserved, unless otherwise indicated.