Please use this identifier to cite or link to this item: http://cmuir.cmu.ac.th/jspui/handle/6653943832/73946
Full metadata record
DC FieldValueLanguage
dc.contributor.advisorพิสัยศิษฎ์ ชัยจรีนนท์-
dc.contributor.advisorปิยะนารถ จาติเกตุ-
dc.contributor.authorชุติมา นวศรีen_US
dc.date.accessioned2022-08-20T03:27:54Z-
dc.date.available2022-08-20T03:27:54Z-
dc.date.issued2022-06-
dc.identifier.urihttp://cmuir.cmu.ac.th/jspui/handle/6653943832/73946-
dc.description.abstractBackground: At the present, dental implants have become a part of dental treatment to replace the natural teeth and to improve chewing ability, speaking and esthetic. Several studies showed that dental implants are safe with relatively high success rates. Although dental implants have been developed for better biological and mechanical properties, failures can still be found. Objectives: To assess the success rate of dental implant which had been restored in the Department of Prosthodontics, Faculty of Dentistry, Chiang Mai University, from 2015 to 2019. Methods: A retrospective study was investigated from data collected from patient who had dental implant placement in 2019 back to 2015. Recall a single visit for clinical and radiographic examination for maintenances 1 to 5 years after treatment. The outcomes in 130 dental implants (53 patients) were recorded. Success rate was evaluated in accordance with the criteria of the International Congress of Oral Implantologists, 2007. The reliability was tested in dental implants that exclude from this research. Kappa analysis was 0.87. Results: One hundred-thirty implants in 53 patients treated by post-graduated students in Prosthodontics, Chiang Mai university were follow-up. All implants were still survived in the oral cavity. The total success rate was 91.5%, satisfactory survival rate was 1.5%, compromised survival rate 4.6%% and failure rate 2.3%. And when classify to period after treatment 1 – 2 years and 3 – 5 years found the implant success rate 90.4% and 92.3% respectively. (Fisher’s Exact test; p-value = 0.754) Conclusions: Total success rate appeared in high percentage. Although dental implant that categorized in success group, but some implants had clinical features as mucositis. And this study found 3 implants failure. Therefore, Yearly maintenance is required for future implant treatment to prevent biologic complications and increase implant success. Keywords: dental implant, dental implant success rate, dental implant survival rateen_US
dc.language.isootheren_US
dc.publisherเชียงใหม่ : บัณฑิตวิทยาลัย มหาวิทยาลัยเชียงใหม่en_US
dc.subjectรากฟันเทียมen_US
dc.subjectอัตราความสำเร็จของรากฟันเทียม-
dc.subjectอัตราความอยู่รอดของรากฟันเทียม-
dc.subjectdental implant-
dc.subjectdental implant success rate-
dc.subjectdental implant survival rate-
dc.titleอัตราความสำเร็จของรากฟันเทียมที่ให้การรักษาโดยภาควิชาทันตกรรมประดิษฐ์ คณะทันตแพทยศาสตร์ มหาวิทยาลัยเชียงใหม่: การศึกษาย้อนหลัง 5 ปีen_US
dc.title.alternativeSuccess rate of dental implants treated at department of prosthodontic, faculty of dentistry, Chiang Mai university: a retrospective study 5-year follow upen_US
dc.typeThesis-
thailis.controlvocab.thashทันตกรรมรากเทียม-
thailis.controlvocab.thashทันตกรรมรากฟัน-
thailis.controlvocab.thashทันตกรรมประดิษฐ์-
thesis.degreemasteren_US
thesis.description.thaiAbstractความเป็นมา: ปัจจุบันรากฟันเทียมได้กลายเป็นส่วนหนึ่งของวิธีการรักษาทางทันตกรรมเพื่อทดแทนฟันธรรมชาติ พัฒนาประสิทธิภาพการบดเคี้ยว การพูด และเพื่อความสวยงาม หลายการศึกษาแสดงให้เห็นว่ารากฟันเทียมมีความปลอดภัยและมีอัตราความสำเร็จค่อนข้างสูง แม้ว่ารากฟันเทียมจะถูกพัฒนาจนมีคุณสมบัติทางชีวภาพและทางกลดีขึ้น แต่ก็ยังพบความล้มเหลวเกิดขึ้นได้ วัตถุประสงค์: เพื่อประเมินอัตราความสำเร็จของรากฟันเทียมที่ให้การรักษาโดยนักศึกษาหลักสูตรหลังปริญญา ภาควิชาทันตกรรมประดิษฐ์ คณะทันตแพทยศาสตร์ มหาวิทยาลัยเชียงใหม่ ตั้งแต่ปี พ.ศ. 2558 ถึง พ.ศ. 2562 วิธีการศึกษา: การศึกษาแบบย้อนหลัง โดยนำรายชื่อผู้ป่วยที่ฝังรากฟันเทียมในปี พ.ศ. 2562 ย้อนหลังไปจนถึงปี พ.ศ. 2558 เรียกผู้ป่วยกลับมาตรวจทางคลินิกและถ่ายภาพรังสีรอบปลายราก เป็นการติดตามผลระยะเวลา 1 ถึง 5 ปีหลังการรักษา เป็นจำนวนรากฟันเทียมทั้งสิ้น 130 ซี่ จากผู้ป่วยจำนวน 53 คน วิเคราะห์อัตราความสำเร็จของรากฟันเทียมด้วยหลักเกณฑ์ของที่ประชุมทันตแพทย์รากฟันเทียมระดับนานาชาติในปี พ.ศ. 2550 การตรวจนี้มีค่าความเชื่อมั่น (reliability) ที่ทดสอบในผู้ป่วยรากฟันเทียมกลุ่มอื่นที่ไม่ได้อยู่ในกลุ่มวิจัย วิเคราะห์ค่าแคปปาเท่ากับ 0.87 ผลการศึกษา: รากฟันเทียม 130 ซี่ ในผู้ป่วยจำนวน 53 คน ที่ได้ติดตามผลภายหลังการฝังรากฟันเทียมโดยนักศึกษาหลังปริญญา ภาควิชาทันตกรรมประดิษฐ์ มหาวิทยาลัยเชียงใหม่ พบว่ารากฟันเทียมทุกซี่ยังคงอยู่รอดภายในช่องปาก โดยมีอัตราสำเร็จอยู่ที่ร้อยละ 91.5 อัตราอยู่รอดระดับพึงพอใจ ร้อยละ 1.5 อัตราอยู่รอดระดับยอมรับได้ ร้อยละ 4.6 และอัตราความล้มเหลวคิดเป็นร้อยละ 2.3 และเมื่อนำผลอัตราความสำเร็จที่ได้มาจำแนกข้อมูลตามระยะเวลาที่เรียกติดตามผลหลังฝังรากฟันเทียม พบอัตราความสำเร็จที่ระยะเวลาติดตามผล 1-2 ปี อยู่ที่ร้อยละ 90.4 และอัตราความสำเร็จที่ระยะเวลาติดตามผล 3-5 ปี อยู่ที่ร้อยละ 92.3 (การทดสอบทางสถิติของฟิสเชอร์ พบว่าไม่แตกต่างกันอย่างมีนัยสำคัญในทางสถิติ; p = 0.754) สรุป: อัตราความสำเร็จโดยรวมภายหลังการรักษาด้วยรากฟันเทียมมีค่าค่อนข้างสูง แม้ว่ารากฟันเทียมจะอยู่ในเกณฑ์สำเร็จ แต่พบว่าบางซี่มีลักษณะทางคลินิกของเนื้อเยื่อปริทันต์ที่แสดงการอักเสบอยู่ อีกทั้งจากการศึกษานี้ยังพบความล้มเหลวของรากฟันเทียม 3 ซี่ ดังนั้น การเรียกผู้ป่วยกลับมาติดตามผลทุกปีจึงเป็นสิ่งจำเป็นสำหรับการรักษารากฟันเทียมในอนาคตต่อไปเพื่อป้องกันการเกิดภาวะแทรกซ้อนทางชีวภาพและช่วยเพิ่มอัตราความสำเร็จให้สูงขึ้น คำสำคัญ: รากฟันเทียม อัตราความสำเร็จของรากฟันเทียม อัตราความอยู่รอดของรากฟันเทียมen_US
Appears in Collections:DENT: Theses

Files in This Item:
File Description SizeFormat 
630931037 complete thesis ชุติมา นวศรี.pdf3.39 MBAdobe PDFView/Open    Request a copy


Items in CMUIR are protected by copyright, with all rights reserved, unless otherwise indicated.