Please use this identifier to cite or link to this item: http://cmuir.cmu.ac.th/jspui/handle/6653943832/73880
Full metadata record
DC FieldValueLanguage
dc.contributor.advisorรัชนีกร ทองสุขดี-
dc.contributor.authorทรงกลด จารุนนทรากุลen_US
dc.date.accessioned2022-08-16T10:12:28Z-
dc.date.available2022-08-16T10:12:28Z-
dc.date.issued2022-05-
dc.identifier.urihttp://cmuir.cmu.ac.th/jspui/handle/6653943832/73880-
dc.description.abstractThis mixed-methods research aimed to examine 1) state of the Disability Support Services Center (DSS) in the Upper North Region, 2) undergraduate students with disabilities (SWDs) satisfaction of DSS, and 3) educational services development guidelines for DSS. Participants were 120 SWDs studying at six universities and six DSS staff. Research tools used included 1) questionaires for DSS staff and SWDs 2) semi-structured interviews for DSS staff and 3) focus group for SWDs. Data were collected between January and September 2021. Data analysis included frequencies, percentages, means, standard deviation and content analysis. The following general findings were formulated. Strategy 1: Educational Opportunities: The result showed that each university had different numbers and types of SWDs. Informations for applications and admissions were promoted mainly through general exams and special projects. It was also found that the majority of SWDs were students with physical impairments, or movement, or health (47.1%). Strategy 2: Development of Learning Management: It was found that the majority of SWDs (40.95%) requested for tutoring services. However, 66.07% of SWDs did not request for any support for academic media services and 53.95% did not request for any accommodations. Strategy 3: Building Knowledge about Disability: The result revealed that all six DSS supported in organizing or participating relevant seminars and provided opportunities for faculty members and staff to exchange informations and experiences regarding disabilities. Some of DSS promoted the services through pamphlets as well as encouraging opportunities for students with or without disabilities to engage in activities together to promote positive attitudes. and Strategy 4: Promoting Employment: The results showed that DSS operated collaborative projects with various agencies to promote employment after graduates, but SWDs lacked of interest and preferred to look for job on their own. SWDs satisfaction for DSS services used in Strategy 1-4 was rated as very high (x ̅ = 3.56, 3.93, 3.93 and 3.64, respectively. Regarding educational services development guidelines following four strategies for SWDs in the Upper North Regions, the results showed that each university should recruit SWDs with a larger number and various disability classification. DSS should provide more practical media and accommodations that meet the needs of SWDs individually. More effective ways for employment for graduates with disabilities should be promoted. In addition, the principles of Universal Design (UD) and Universal Design in Higher Education (UDHE) should be implemented as a guideline for DSS sustainable development.en_US
dc.language.isootheren_US
dc.publisherเชียงใหม่ : บัณฑิตวิทยาลัย มหาวิทยาลัยเชียงใหม่en_US
dc.subjectแนวทางการพัฒนาen_US
dc.subjectนักศึกษาพิการen_US
dc.subjectศูนย์บริการสนับสนุนนักศึกษาพิการen_US
dc.subjectยุทธศาสตร์en_US
dc.subjectความพึงพอใจen_US
dc.titleแนวทางการพัฒนาการให้บริการทางการศึกษาสำหรับนักศึกษาพิการในเขตภาคเหนือตอนบนen_US
dc.title.alternativeEducational services development guidelines for university students with disabilities in Upper North Regionen_US
dc.typeThesis
thailis.controlvocab.thashคนพิการ -- การศึกษา-
thailis.controlvocab.thashคนพิการ -- ไทย (ภาคเหนือ)-
thailis.controlvocab.thashการศึกษาพิเศษ-
thesis.degreemasteren_US
thesis.description.thaiAbstractการวิจัยครั้งนี้เป็นการวิจัยแบบผสม มีวัตถุประสงค์เพื่อศึกษา 1) สภาพการให้บริการของศูนย์บริการสนับสนุนนักศึกษาพิการ (DSS) ในเขตภาคเหนือตอนบน 2) ความพึงพอใจที่ได้รับจากศูนย์บริการสนับสนุนนักศึกษาพิการของนักศึกษาพิการระดับปริญญาตรี และ 3) แนวทางพัฒนา การให้บริการของศูนย์บริการสนับสนุนนักศึกษาพิการ ผู้เข้าร่วมการวิจัย ได้แก่ นักศึกษาพิการที่กำลังศึกษาอยู่ในมหาวิทยาลัยจำนวน 6 แห่ง จำนวน 120 คน และเจ้าหน้าที่ศูนย์บริการสนับสนุนนักศึกษาพิการจากแต่ละมหาวิทยาลัย จำนวน 6 คน เครื่องมือที่ใช้ ได้แก่ 1) แบบสอบถามสำหรับเจ้าหน้าที่ และนักศึกษาพิการ 2) แบบสัมภาษณ์กึ่งโครงสร้างสำหรับเจ้าหน้าที่ และ 3) แบบสนทนากลุ่มสำหรับนักศึกษาพิการ ผู้วิจัยเก็บข้อมูลในช่วงเดือน มกราคม-กันยายน 2564 การวิเคราะห์ข้อมูล ได้แก่ การหาค่าความถี่ ร้อยละ ค่าเฉลี่ย ค่าส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน และการวิเคราะห์เนื้อหา สรุปโดยการอุปนัยตามวัตถุประสงค์ของการวิจัยและนำเสนอเชิงพรรณนา ผลการวิจัยพบว่า 1. ยุทธศาสตร์ที่ 1 โอกาสทางการศึกษา พบว่า มหาวิทยาลัยแต่ละแห่งมีจำนวนและประเภทนักศึกษาพิการแตกต่างกัน มีการประชาสัมพันธ์การสมัครและรับเข้าศึกษาต่อผ่านช่องทางหลัก ได้แก่ การสอบทั่วไป และโครงการพิเศษ และพบว่า นักศึกษาบกพร่องทางร่างกายหรือการเคลื่อนไหวหรือสุขภาพมีจำนวนมากที่สุด (ร้อยละ 47.1) ยุทธศาสตร์ที่ 2 การพัฒนาการจัดการเรียนรู้ พบว่านักศึกษาพิการส่วนใหญ่ร้อยละ 40.95 ขอใช้บริการสอนเสริมมากที่สุด ร้อยละ 66.07 ไม่ได้ขอใช้บริการสื่อทางการเรียน และร้อยละ 53.95 ไม่ได้ขอรับบริการสิ่งอำนวยความสะดวก ยุทธศาสตร์ที่ 3 การสร้างองค์ความรู้เกี่ยวกับความพิการ พบว่า ทั้ง 6 ศูนย์สนับสนุนการจัดสัมมนาหรือเข้าร่วมสัมมนาที่เกี่ยวข้อง และเปิดโอกาสให้คณาจารย์และเจ้าหน้าที่แลกเปลี่ยนข้อมูล บางแห่งมีการประชาสัมพันธ์ผ่านแผ่นพับรวมถึงส่งเสริมโอกาสให้นักศึกษาที่มีและไม่มีความพิการได้ทำกิจกรรมร่วมกันเพื่อเป็นการส่งเสริมการสร้างทัศนคติเชิงบวก เป็นต้น และยุทธศาสตร์ที่ 4 การส่งเสริมการมีงานทำ พบว่าศูนย์บริการสนับสนุนนักศึกษาพิการมีการจัดทำโครงการส่งเสริมการมีงานทำกับหน่วยงานต่าง ๆ ที่เกี่ยวข้อง แต่นักศึกษาพิการให้ความสนใจน้อยและต้องการหางานทำด้วยตนเอง 2. นักศึกษาพิการมีความพึงพอใจในการใช้บริการของศูนย์ฯ ในยุทธศาสตร์ที่ 1-4 อยู่ในระดับมากโดยมีค่าเฉลี่ยเท่ากับ 3.56 3.93 3.93 และ 3.64 ตามลำดับ 3. แนวทางในการพัฒนาการให้บริการทางการศึกษาสำหรับนักศึกษาพิการในเขตภาคเหนือตอนบนตามยุทธศาสตร์ 1-4 พบว่า แต่ละมหาวิทยาลัยควรรับนักศึกษาพิการจำนวนและประเภทความพิการที่หลากหลายมากขึ้น ศูนย์ฯ ต้องมีสื่อ และสิ่งอำนวยความสะดวกที่ใช้งานได้จริงและตรงกับความต้องการของนักศึกษาพิการเป็นรายบุคคล เพิ่มช่องทางที่หลากหลายในการมีงานทำให้แก่บัณฑิตพิการ และควรนำหลักการอารยสถาปัตย์ และการออกแบบที่เป็นสากลในระดับอุดมศึกษามาใช้เป็นแนวทางการพัฒนาศูนย์บริการสนับสนุนนักศึกษาพิการอย่างยั่งยืนมากยิ่งขึ้นen_US
Appears in Collections:EDU: Theses



Items in CMUIR are protected by copyright, with all rights reserved, unless otherwise indicated.