Please use this identifier to cite or link to this item: http://cmuir.cmu.ac.th/jspui/handle/6653943832/73840
Full metadata record
DC FieldValueLanguage
dc.contributor.advisorPaungmali, Aatit-
dc.contributor.advisorSitilertpisan, Patraporn-
dc.contributor.advisorJoseph, Leonard Henry-
dc.contributor.authorDuangruedee Dissanguan-
dc.date.accessioned2022-08-13T07:07:08Z-
dc.date.available2022-08-13T07:07:08Z-
dc.date.issued2021-01-
dc.identifier.urihttp://cmuir.cmu.ac.th/jspui/handle/6653943832/73840-
dc.description.abstractLow back pain is a health problem with a high incidence in people of all countries. It affects work performance and activity in daily living. Lumbar supports are suggested as one of the assistive devices in the management of low back pain. However, there was limited use due to the concerns about the complication of trunk muscle weakness from prolonged usage. Therefore, it was decided to redesign lumbar support with additional built-in features such as superficial heat therapy and biofeedback to exercise the core muscles. The therapeutic effects of innovative lumbar support including hot pack and core stability activation in the management of low back pain are warranty to prove before launching to the larger population. The first study aimed to explore the effectiveness of pain modulation and quality of life of the lumbar support belt in patients with low back pain. The relevant articles using keywords “back pain, lumbar support belt, lumbar belt, back belt” were collected from the databases to identify the effectiveness of lumbar support for pain reduction and quality of life. Five of them were good quality randomized controlled trials. A systematic review showed that using lumbar support with receiving usual care reduced pain and improved quality of life in individuals with low back pain. The prescription of lumbar support, which showed positive results, was wearing lumbar support 6 – 8 hours daily for at least one month. The second study aimed to examine the validity and reliability of the feedback device for TrA muscle contraction. Twenty healthy participants were studied. The feedback sensor was applied at the front of the trunk attached to the lumbar support. Participants performed an abdominal drawing-in maneuver (ADIM) to activate TrA, and the values from the feedback sensor were collected at the same time. Ultrasound imaging of the TrA was also collected simultaneously. The feedback sensor collected values at the different clinical levels of the pressure biofeedback unit at 64, 66, 68, and 70 mmHg. The protocol was repeated with 24 hr. intervals. The intraclass correlation coefficient, coefficient of variation, and standard error of measurements were used to examine reliability. The validity of the values obtained from the relationship between the feedback sensor and TrA thickness was analyzed using Pearson’s correlation coefficients. Results: Test-retest reliability of the feedback sensor was excellent (ICC = 0.946, CV = 2.6%, SEMs = 0.54%). The values of feedback sensor reported a significant moderate correlation with the gold standard ultrasound measurement (r = - 0.514, p < 0.001). The third study aimed to investigate the effectiveness of innovative lumbar support comprising hot pack and core muscle activation feedback on pain, muscle function, quality of life, and disability. Eighty participants with chronic non-specific low back pain were randomly allocated into 4 groups, 20 participants for each group: 1) traditional lumbar support, 2) innovative lumbar support with a hot pack, 3) innovative lumbar support with core muscle exercise, and 4) innovative lumbar support with a hot pack and core muscle exercise. All participants were instructed to use lumbar support daily for 8 weeks. The primary outcomes were pain intensity, pressure pain threshold, thermal pain threshold, tissue blood flow, and transversus abdominis muscle thickness. The secondary outcomes were lumbopelvic stability control, the cross-section area of lumbar multifidus muscle, quality of life, and disability. Blinded outcome measures were taken at baseline, 4-week intervals, after treatment, and at 3-month follow-up. The results showed that there was no loss to follow-up. All groups improved in primary and secondary outcome measures at all periods of assessment (p < 0.05) except the size of core muscles and lumbopelvic stability control, which were improved in only groups 3 and 4. Overall results when compared to group 1, participants in groups 2 and 4 had more significantly reduced in pain intensity, pressure pain threshold, and thermal pain threshold (p < 0.05), participants in groups 3 and 4 had greater core muscle size and core muscle i function (p < 0.05), and participants in group 4 had greater improved in quality life and disability (p < 0.05). This study suggested that the lumbar support seems to be effective as additional intervention along with usual care in the management of non-specific low back pain and using 6 – 8 hours at least a month. The innovative device had potential reliability and validity for clinical usage to indicate transversus abdominis muscle activation. The overall finding highlights that innovative lumbar support comprising a hot pack and core muscle activation feedback is more effective than traditional lumbar support. It could be considered an additional device in rehabilitation in people who suffer chronic nonspecific low back pain.en_US
dc.description.sponsorship-en_US
dc.language.isoenen_US
dc.publisherChiang Mai : Graduate School, Chiang Mai Universityen_US
dc.titleInvestigation of the therapeutic effects of an innovative lumbar support comprising hot pack and core muscle activation feedback in individuals with low back painen_US
dc.title.alternativeการศึกษาผลการรักษาของนวัตกรรมอุปกรณ์พยุงหลังที่มีการประคบร้อนและการให้ข้อมูลป้อนกลับของการทางานกล้ามเนื้อแกนกลางในผู้ที่มีอาการปวดหลังส่วนล่างen_US
dc.typeThesisen_US
thailis.controlvocab.thashBackache-
thailis.controlvocab.thashBack -- Disease-
thailis.controlvocab.thashBiomedical engineering-
thailis.controlvocab.thashMedicine -- Equipment and supplies-
article.epageThesis-
thesis.degreedoctoral-
thesis.description.thaiAbstractอาการปวดหลังเป็นปัญหาสุขภาพที่พบอุบัติการณ์ได้สูงในประชาชนทุกประเทศ ซึ่งส่งผลกระทบถึงการทำงานและการดำรงชีวิตประจำวันค่อนข้างมาก อุปกรณ์พยุงหลังเป็นหนึ่งในอุปกรณ์ที่ได้รับการแนะนำเพื่อช่วยในการจัดการอาการปวดหลังส่วนล่าง อย่างไรก็ตามการใช้อุปกรณ์พยุงหลังยังมีการใช้งานที่จำกัด เนื่องจากความกังวลเกี่ยวกับกาวะแทรกซ้อนของกล้ามเนื้อลำตัวอ่อนแรงจากการใช้งานเป็นเวลานาน ดังนั้นจึงมีการออกแบบอุปกรณ์พยุงเอวใหม่ โดยมีคุณสมบัติเพิ่มเติมในตัวเช่นการบำบัดด้วยความร้อนและอุปกรณ์ให้ข้อมูลป้อนกลับเพื่อออกกำลังกล้ามเนื้อแกนกลาง ทั้งนี้จำเป็นต้องมีการประเมินผลกรรักษาของนวัตกรรมอุปกรณ์ยุงหลังที่มีการประคบร้อนและการให้ข้อมูลป้อนกลับของการทำงานกล้ามเนื้อแกนกลางลำตัวในการจัดการอาการปวดหลังส่วนล่างก่อนจะนำไปใช้จริงสำหรับประชากรที่มีอาการปาดหลัง การศึกษาแรกมีวัตถุประสงค์เพื่อศึกษาประสิทธิผลในการลดปวดและเพิ่มคุณภาพชีวิตของการใช้อุปกรณ์พยุงหลัง โดยทำการรวบรวมบทความที่เกี่ยวข้องจากฐานข้อมูลโดยใช้คำสำคัญ “back pain, lumbar support belt, lumbar belt, back belt” ซึ่งระบุประสิทธิภาพของอุปกรณ์พยุงหลังในการลดอาการปวดและเพิ่มคุณภาพชีวิต พบการศึกษาทดลองแบบสุ่มและมีกลุ่มควบคุมที่คุณภาพดีจำนวน 5 บทความ ซึ่งการทบทวนอย่างเป็นระบบชี้ให้เห็นว่าการใช้อุปกรณ์พยุงหลังร่วมกับการดูแลรักษาตามปกติช่วยลดอาการปวดและคุณภาพชีวิตที่ดีขึ้นในผู้ที่มีอาการปวดหลังส่วนล่าง โดยการใส่เครื่องพยุงเอว 6 - 8 ชั่วโมงเป็นประจำทุกวันอย่างน้อยหนึ่งเดือนจะให้ผลในเชิงบวก การศึกษาที่สองมีวัตถุประสงค์เพื่อพัฒนาและตรวจสอบความถูกต้องและความน่าเชื่อถือของอุปกรณ์ให้ข้อมูลป้อนกลับของการทำงานกล้ามเนื้อแกนกลางลำตัว โดยทำการศึกษาในอาสาสมัครสุขภาพดีจำนวน 20 คน อุปกรณ์ให้ข้อมูลป้อนกลับจะถูกติดที่ด้านในของอุปกรณ์พยุงหลัง อาสาสมัครทำ Abdominal drawing-in maneuver เพื่อกระตุ้นการทำงานของกล้ามเนื้อ Transversus abdominis โดยใช้ pressure biofeedback unit (PBU) ในการกำหนดเป้าหมายที่ 64, 66, 68และ 70 mmHg ซึ่งค่าจากอุปกรณ์ให้ข้อมูลป้อนกลับจะถูกรวบรวมในเวลาเดียวกันกับการเก็บภาพอัลตราซาวด์ของกล้ามเนื้อ Transversus abdominis ทำการทดลองซ้ำอีกครั้งโดยเว้นช่วงระยะเวลา 24 ชั่วโมง การตรวจสอบความน่าเชื่อถือจะใช้ค่าสัมประสิทธิ์สหสัมพันธ์ภายในชั้น ค่าสัมประสิทธิ์การแปรผันและค่าความคลาดเคลื่อนมาตรฐานของการวัด ความถูกต้องของอุปกรณ์ได้จากการหาความสัมพันธ์ระหว่างค่าที่ได้จากอุปกรณ์ให้ข้อมูลป้อนกลับ และการทำงานของกล้ามเนื้อ Transversus abdominis ซึ่งวิเคราะห์โดยใช้สัมประสิทธิ์สหสัมพันธ์ของเพียร์สัน ผลการทดลองพบว่าความน่าเชื่อถือในการวัดซ้ำของอุปกรณ์ให้ข้อมูลป้อนกลับอยู่ในระดับดีเยี่ยม (ICC = 0.946, CV = 2.6%, SEMs = 0.54%) ค่าที่ได้จากอุปกรณ์ให้ข้อมูลป้อนกลับมีความสัมพันธ์ในระดับปานกลางอย่างมีนัยสำคัญกับการวัดการทำงานของกล้ามเนื้อโดยใช้อัลตราซาวด์ (r = - 0.514, p <0.001) การศึกษาที่สามมีวัตถุประสงค์เพื่อศึกษาประสิทธิภาพของนวัตกรรมอุปกรณ์พยุงหลังที่มีการประคบร้อนและการให้ข้อมูลป้อนกลับของการทำงานกล้ามเนื้อแกนกลางลำตัวต่ออาการปวดหลังส่วนล่าง การทำงานของกล้ามเนื้อแกนกลางลำตัว ความสามารถในการทำกิจกรรม และคุณภาพชีวิตอาสาสมัครที่มีอาการปวดหลังส่วนล่างจำนวน 80 คน ถูกสุ่มแบ่งออกเป็น 4 กลุ่มๆละ 20 คน ดังนี้ 1) อุปกรณ์พยุงหลังทั่วไป 2) นวัตกรรมอุปกรณ์พยุงหลังร่วมกับการประคบร้อน 3) นวัตกรรมอุปกรณ์พยุงหลังร่วมกับการฝึกกล้ามเนื้อแกนกลางลำตัว 4) นวัตกรรมอุปกรณ์พยุงหลังร่วมกับการประคบร้อนและการฝึกกล้ามเนื้อแกนกลางลำตัว อาสาสมัครทุกคนจะได้ทดลองใช้อุปกรณ์เป็นเวลา 20 นาทีและได้รับคำแนะนำในการใส่อุปกรณ์ด้วยตนเองทุกวันเป็นเวลา 8 สัปดาห์ ตัวแปรที่ศึกษาหลักได้แก่ความรุนแรงของอาการปวดหลัง อัตราการ ไหลเวียนโลหิต ระดับขีดกั้นความเจ็บปวดจากแรงกดระดับขีดกั้นความเจ็บปวดจากความร้อนและความเย็น และความหนาของกล้ามเนื้อ Transversus abdominis ตัวแปรที่ศึกษารองได้แก่ ความสามารถในการควบคุมความมั่นคงของเชิงกราน ขนาดของกล้ามเนื้อ Multifidus ความสามารถในการทำกิจกรรม และคุณภาพชีวิต ตัวแปรทั้งหมดถูกประเมินก่อนการรักษา หลังใช้อุปกรณ์ 20 นาที หลังได้รับการรักษา 4 สัปดาห์ หลังสิ้นสุดการรักษา และติดตามผล 3 เดือน ผลการศึกษาไม่มีอาสาสมัครหายไปในช่วงที่ติดตามผลการรักษา ตัวแปรที่ศึกษาหลักและรองในทุกกลุ่มดีขึ้นทุกช่วงของการติดตามผล (p< 0.05) ยกเว้นผลของขนาดกล้ามเนื้อ Transversus abdominis และ Multifidus และความสามารถในการควบคุมความมั่นคงของเชิงกรานที่พบได้ในกลุ่มที่ 3 และ 4 เท่านั้น ผลการศึกษาในภาพรวมเมื่อเปรียบเทียบกับกลุ่มที่ 1 พบว่า อาสาสมัครกลุ่มที่ 2 และ 4 มีการลดลงของความรุนแรงของอาการปวด ระดับขีดกั้นความเจ็บปวดจากแรงกด ความร้อน และความเย็นมากกว่า อาสาสมัครกลุ่มที่ 3 และ 4 (P < 0.05) อีกทั้งมีขนาดของกล้ามเนื้อแกนกลางลำตัวและความสามารถในการควบคุมความมั่นคงของเชิงกรานมากกว่า (p < 0.05)ทั้งนี้ยังพบว่าอาสาสมัครในกลุ่มที่ 4 ความสามารถในการทำกิจกรรมและคุณภาพชีวิตที่ดีกว่า (p<0.05) อีกด้วย การศึกษานี้เสนอแนะว่าการใช้อุปกรณ์พยุงหลังมีประสิทธิผลที่ดีเมื่อใช้ร่วมกับการได้รับการดูแลรักษาตามปกติในการจัดการอาการปวดหลังส่วนล่างที่ไม่เฉพาะเจาะจง โดยใส่ 6-8 ชั่วโมงเป็นระยะเวลาอย่างน้อยหนึ่งเดือน นอกจากนี้นวัตกรรมอุปกรณ์พยุงหลังที่พัฒนาขึ้นยังมีความถูกต้องและน่าเชื่อถือสำหรับการใช้งานทางคลินิกเพื่อบ่งชี้การทำงานของกล้ามเนื้อ transversus abdominis การค้นพบโดยรวมชี้ให้เห็นว่านวัตกรรมอุปกรณ์พยุงหลังที่มีการประคบร้อนและการให้ข้อมูลป้อนกลับของการทำงานกล้ามเนื้อแกนกลางลำตัวนั้นมีประสิทธิภาพมากกว่าอุปกรณ์พยุงหลังแบบดั้งเดิม ซึ่งอาจพิจารณาใช้เป็นอุปกรณ์เสริมในการฟื้นฟูผู้ที่มีอาการปวดหลังส่วนล่างเรื้อรังแบบไม่เฉพาะเจาะจง-
Appears in Collections:BMEI: Theses

Files in This Item:
File Description SizeFormat 
581151005 ดวงฤดี ดิษสงวน.pdf1.69 MBAdobe PDFView/Open


Items in CMUIR are protected by copyright, with all rights reserved, unless otherwise indicated.