Please use this identifier to cite or link to this item: http://cmuir.cmu.ac.th/jspui/handle/6653943832/73817
Full metadata record
DC FieldValueLanguage
dc.contributor.advisorพศุตม์ ลาศุขะ-
dc.contributor.authorถาน ชิ่งซงen_US
dc.date.accessioned2022-08-11T11:00:57Z-
dc.date.available2022-08-11T11:00:57Z-
dc.date.issued2020-12-
dc.identifier.urihttp://cmuir.cmu.ac.th/jspui/handle/6653943832/73817-
dc.description.abstractThis thesis studies the construction of cultural identity through cultural signs of Chinese-Thai people in the community of Warorot market, Chiang Mai Province, in the context of tourism economy dominant by tourists from mainland China. The past studies have examined the adaptation and identity building of Chinese-Thai in many communities. However, none of these studies have examined the cultural aspect of the group in Warorot Market area in Chiang Mai during the transformation of the tourism economy over the past decade, which saw the increase in number of Chinese tourists. The thesis, particularly, examines the way in which the Chinese-Thai locals in the market area commodify cultural signs to construct their cultural identities that can reinforce consumption and maintain the market’s economy. The study was conducted with the Chinese-Thai people in Warorot Market area by using the qualitative research methodology. The study was based on documents and theoretical concepts, in which they were combined with data collected from fieldwork. In the field, informal interviews with open-ended questions in a non-specific manner were carried out with informants in the Warorot market area. The fieldwork study also included participatory and non-participatory observations, in wihc the collected information was cross-examined and validated according to various issues and aspects of cultural identity which are examined in this thesis. The study found that the construction of cultural identities of the Thai-Chinese in Warorot Market is linked to the historical development of cultural life, in which they have to adapt and reconstruct their cultural identities. This is to maintain their socio-economic status in Warorot Market, the community that is driven by market-economy. For example, in the time when “Chinese-ness” is able to manifest and consumed in the public space, making it to become cultural resource and capital, the Chinese-Thai people in the market make use of this cultural signs to re-create Chinese identity to themselves and the goods that they sell, regardless of the complexity of the cultural roots of “Chinese-ness”. This can be seen exemplified in Chinese festivals in the market. In the time when the market welcomes more Chinese tourists, particularly since 2012, the Chinese-Thais in the market, once again, re-invent their cultural identity to match the pre-existing desire of the Chinese tourists who see Chinag Mai as a province of nature and fruits. This can be seen from the new type of goods that the locals present to the tourists. The above findings show that the cultural identity of the local people in Warorot Market area is less based on the traditional way of life, but more on the changing economic conditions and the transformation of market capitalism in the country and pronvice. The cultural and economic lives of the Chinese-Thais of Warorot Market have dynamics that can always adjust to the new life conditions.en_US
dc.language.isootheren_US
dc.publisherเชียงใหม่ : บัณฑิตวิทยาลัย มหาวิทยาลัยเชียงใหม่en_US
dc.subjectเชียงใหม่en_US
dc.subjectอัตลักษณ์ทางวัฒนธรรมen_US
dc.subjectสัญญะen_US
dc.subjectบริโภคนิยมen_US
dc.subjectชาวไทยเชื้อสายจีนen_US
dc.subjectChiang Maien_US
dc.subjectcultural identityen_US
dc.subjectsymbolismen_US
dc.subjectconsumerismen_US
dc.subjectChinese-Thaien_US
dc.titleอัตลักษณ์ทางวัฒนธรรมของชาวไทยเชื้อสายจีนในย่านตลาดวโรรส จังหวัดเชียงใหม่ ระหว่างปี พ.ศ. 2555 – 2563en_US
dc.title.alternativeThe Cultural identity of Chinese-Thai in Warorot Market Area, Chiang Mai, from 2012 - 2020en_US
dc.typeThesis
thailis.controlvocab.thashตลาดวโรรส-
thailis.controlvocab.thashตลาด -- เชียงใหม่-
thailis.controlvocab.thashชาวจีน-
thailis.controlvocab.thashอัตลักษณ์-
thailis.controlvocab.thashสัญลักษณ์นิยม-
thesis.degreemasteren_US
thesis.description.thaiAbstractวิทยานิพนธ์เรื่องนี้ศึกษาการสร้างอัตลักษณ์ผ่านสัญญะทางวัฒนธรรมของชาวไทยเชื้อสายจีนในชุมชนย่านตลาดวโรรส จังหวัดเชียงใหม่ในช่วงของการเปลี่ยนแปลงทางเศรษฐกิจการท่องเที่ยวซึ่งนำโดยนักท่องเที่ยวกลุ่มชาวจีน งานศึกษาที่ผ่านมามีการศึกษาถึงเรื่องการปรับตัวและการสร้างอัตลักษณ์ของชุมชนชาวไทยเชื้อสายจีนในพื้นที่ต่าง ๆ ของไทย ทั้งนี้ยังไม่พบว่ามีการศึกษาในพื้นที่ของชุมชน “ตลาดวโรรส” ในมิติทางวัฒนธรรมและช่วงการเปลี่ยนแปลงของเศรษฐกิจการท่องเที่ยวในทศวรรษที่ผ่านมาที่จังหวัดเชียงใหม่โดยมีนักท่องเที่ยวชาวจีนเพิ่มมากขึ้น โดยเฉพาะอย่างยิ่ง วิทยานิพนธ์เรื่องนี้ศึกษา การที่ผู้คนในชุมชนตลาดวโรรสผลิตสร้างสัญญะขึ้นมาใหม่และทำให้วัตถุทางวัฒนธรรมกลายเป็นสินค้า เพื่อให้เกิดการบริโภคและดำรงไว้ซึ่งระบบเศรษฐกิจของตลาด ผู้เขียนศึกษาอัตลักษณ์ทางวัฒนธรรมของชาวไทยเชื้อสายจีนผ่านพื้นที่ทางวัฒนธรรมที่เกิดขึ้นในย่านตลาดวโรรสโดยใช้ระเบียบวิธีวิจัยเชิงคุณภาพ จากการศึกษาข้อมูลเอกสาร แนวคิด ทฤษฎี ร่วมกับข้อมูลจากการลงภาคสนามโดยการสัมภาษณ์แบบไม่เป็นทางการด้วยคำถามปลายเปิด (Open-ended question) ในลักษณะไม่เจาะจงตัวบุคคลผู้ให้ข้อมูลในชุมชนย่านตลาดวโรรส รวมถึงการสังเกตการณ์แบบมีส่วนร่วมและไม่มีส่วนร่วม ข้อมูลที่ได้ทำการคัดเลือกความสำคัญ แยกแยะ และตรวจสอบความถูกต้องตามวัตถุประสงค์ของการวิจัยที่ได้ตั้งไว้ ตามประเด็นสำคัญต่อการทำความเข้าใจในการสร้าง อัตลักษณ์ทางวัฒนธรรมผ่านพื้นที่ย่านตลาดวโรรส ผลการศึกษาพบว่า อัตลักษณ์ทางวัฒนธรรมของชาวไทยเชื้อสายจีนในย่านตลาดวโรรสมีความเกี่ยวข้องกับวิถีชีวิตทางวัฒนธรรมในทางประวัติศาสตร์ที่ชาวไทยเชื้อสายจีนในย่านดังกล่าวต้องมีการปรับตัวและสร้างตัวตนทางวัฒนธรรมใหม่เพื่อให้ใช้ชีวิตอยู่ในสังคมของตลาดวดรรสที่เป็นย่านตลาดเศรษฐกิจได้ อาทิเช่น ในปัจจุบันที่ความเป็นจีนได้กลายเป็นทรัพยากรและทุนทางวัฒนธรรม สามารถแสดงออกและบริโภคในที่สาธารณได้ ชาวไทยเชื้อสายจีนได้นำเอาสัญญะความเป็นจีนเหล่านี้มาสร้าง อัตลักษณ์ทางวัฒนธรรมให้ตัวเองและสินค้า โดยไม่ต้องคำนึงถึงความหลากหลายและซับซ้อนของความเป็นจีนดั้งเดิม ปรากฎการณ์ดังกล่าวเห็นได้ในเทศกาลตามประเพณีแบบจีนภายในตลาด และเมื่อย่านตลาดมีผู้ซื้อที่มเป็นนักท่องเที่ยวจากประเทศจีนมากขึ้น ชาวไทยเชื้อสายจีนที่เป็นผู้ค้าในตลาดก็ได้ปรับตัวตนทางวัฒนะรรมของตัวเองอีกครั้งหนึ่งเพื่อให้สอดคล้องกับความปรารถนาและภาพแทนเกี่ยวกับจังหวัดเชียงใหม่ที่มีอยู่แล้วในหมู่นักท่องเที่ยวจีน ที่มองว่าเชียงใหม่คือจังหวัดแห่งธรรมชาติและผลไม้ ปรากฎการณ์นี้เห็นได้จากสินค้าแบบใหม่ที่ผู้ค้าได้นำเสนอให้กับนักท่องเที่ยวจีน ข้อค้นพบดังกล่าวแสดงให้เห็นว่า อัตลักษณ์ทางวัฒนธรรมของชาวไทยเชื้อสายจีนในย่านตลาดวโรรสไม่ได้ขึ้นอยู่กับวิถีดั้งเดิมของชุมชนมากไปกว่าเงื่อนไขการเปลี่ยนแปลงทางเศรษฐกิจ และลักษณะของทุนนิยมแบบตลาดที่เกิดขึ้นในประเทศไทยและจังหวัดเชียงใหม่ ชีวิตทางวัฒนธรรมและเศรษฐกิจของชาวไทยเชื้อสายจีนที่เป็น “คนท้องถิ่น” ในย่านตลาดมีพลวัตในการเปลี่ยนแปลงตัวตนของตัวเองให้สอดคล้องไปกับเงื่อนไขชีวิตใหม่อยู่เสมอen_US
Appears in Collections:HUMAN: Theses

Files in This Item:
File Description SizeFormat 
590131038 TAN QINGSONG.pdf2.55 MBAdobe PDFView/Open    Request a copy


Items in CMUIR are protected by copyright, with all rights reserved, unless otherwise indicated.