Please use this identifier to cite or link to this item: http://cmuir.cmu.ac.th/jspui/handle/6653943832/73798
Full metadata record
DC FieldValueLanguage
dc.contributor.advisorณัฐพล แจ้งอักษร-
dc.contributor.authorปกรณ์เกียรติ พูลสวัสดิ์en_US
dc.date.accessioned2022-08-07T06:25:13Z-
dc.date.available2022-08-07T06:25:13Z-
dc.date.issued2021-05-
dc.identifier.urihttp://cmuir.cmu.ac.th/jspui/handle/6653943832/73798-
dc.description.abstractThe objective of this research was to develop a computational thinking skills assessment scale that does not focus on programming but uses situations that students aged 13-15 have the opportunity to encounter as questions. The objectives were to develop and examine the psycho-dimensional properties of the computational thinking skills scale for Grade 9 students and to analyze the computational thinking skills scale of Grade 9 students. The research instruments were the qualification form of the computational thinking skills scale for Grade 9 students. The results of the research revealed that 60 items of the computational thinking skill scale for Grade 9 students consisted of 4 components as follows: The first component was problem breakdown, 15 items, weight 20 points. The second component was format consideration, 20 items, weight 35 points. The third component was abstract thinking, 12 items, weighted 20 points. The fourth component was the algorithm design, 13 items, weight score 25 points. The total was 100 points. The results of the psycho-dimensional analysis of the computational thinking skills scale showed that the content validity, which was determined by the IOC consistency index, ranged from 0.63 to 1.00. Structural validity was measured by confirmatory factor analysis (CFA). The computational thinking skills scale model was harmonious with the empirical data with a difficulty value of between 0.51 – 0.81 and a power of discrimination between 0.19 – 0.91. Reliability was checked using Cronbach's alpha coefficient formula. It was found that the reliability of the whole copy was .974. Each question was multiple-choice in terms of language usage. The researcher revised the questions so that the interpretive language was clear, the computational thinking skill was easy to understand, the questions were unambiguous, and the expert advice was followed. Finally, the quality of data retention was determined by the percentage of data loss which was only 2.16 –5.76%. The level of computational thinking skills of 139 Grade 9 students was at a good level. If analyzed according to the level of the GPA range, it was found that the students in the 3.50 – 4.00 GPA had a very good level of computational thinking skills. Students with a GPA of 1.00 - 1.49 had a relatively low level of computational thinking skills. Comparative thinking skill levels of students with different GPA ranges showed that students in all GPA ranges had statistically different levels of computational thinking skills at the .05 level. Comparative thinking skill levels of students with different computational grades showed that students who achieved grade 4 had higher levels of computational thinking skills than students who received grades 3, 2.5, 2, 1.5, and 1. Students with grades 3.5 had higher levels of computational thinking skills than students with grades 2.5, 2, 1.5, and 1. Students who achieved grades 3, 2.5, and 2 had statistically significantly higher levels of computational thinking skills than students who achieved grade 1 at the .05 level.en_US
dc.language.isootheren_US
dc.publisherเชียงใหม่ : บัณฑิตวิทยาลัย มหาวิทยาลัยเชียงใหม่en_US
dc.titleการพัฒนาแบบวัดทักษะการคิดเชิงคำนวณของนักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 3: การวิเคราะห์คุณสมบัติทางจิตมิติen_US
dc.title.alternativeDevelopment of computational thinking skill inventory of grade 9 students: an analysis of psychometric propertiesen_US
dc.typeThesis
thailis.controlvocab.thashจิตมิติ-
thailis.controlvocab.thashความคิดและการคิด-
thailis.controlvocab.thashทักษะทางการคิด-
thailis.controlvocab.thashแบบทดสอบ-
thailis.controlvocab.thashนักเรียน-
thesis.degreemasteren_US
thesis.description.thaiAbstractการวิจัยในครั้งนี้ มีวัตถุประสงค์เพื่อมุ่งพัฒนาแบบวัดทักษะการคิดเชิงคำนวณที่ไม่เน้นการเขียนโปรแกรม แต่ได้นำสถานการณ์ต่าง ๆ ที่นักเรียนในช่วงอายุ 13-15 ปี มีโอกาสพบเจอมาใช้เป็นข้อคำถาม ซึ่งมีวัตถุประสงค์เพื่อพัฒนาและตรวจสอบคุณสมบัติทางจิตมิติของแบบวัดทักษะการคิดเชิงคำนวณสำหรับนักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 3 และเพื่อวิเคราะห์ ทักษะการคิดเชิงคำนวณของนักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 3 เครื่องมือที่ใช้ในการวิจัยคือ แบบตรวจสอบคุณสมบัติของแบบวัดทักษะการคิดเชิงคำนวณ และแบบวัดทักษะการคิดเชิงคำนวณสำหรับนักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 3 ผลการวิจัย พบว่าการพัฒนาแบบวัดทักษะการคิดเชิงคำนวณสำหรับนักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 3 จำนวน 60 ข้อ ประกอบด้วย 4 องค์ประกอบ ได้แก่ องค์ประกอบที่ 1 ด้านการแยกย่อยปัญหา จำนวน 15 ข้อน้ำหนัก 20 คะแนน องค์ประกอบที่ 2 ด้านการพิจารณารูปแบบ จำนวน 20 ข้อ น้ำหนัก 35 คะแนนองค์ประกอบที่ 3 ด้านการคิดเชิงนามธรรม จำนวน 12 ข้อ น้ำหนักคะแนน 20 คะแนน และองค์ประกอบที่ 4 ด้านการออกแบบขั้นตอนวิธี จำนวน 13 ข้อ น้ำหนักคะแนน 25 คะแนน รวม 100 คะแนน ผลการวิเคราะห์คุณสมบัติทางจิตมิติของแบบวัดทักษะการคิดเชิงคำนวณ พบว่า ความตรงเชิงเนื้อหา ซึ่งพิจารณาจากคำดัชนีความสอดคล้อง IOC มีค่าอยู่ระหว่าง 0.63 ถึง 1.00 ความตรงเชิงโครงสร้างด้วยวิธีการวิเคราะห์องค์ประกอบเชิงยืนยัน (confirmatory factor analysis: CFA) โมเดลการวัดทักษะการคิดเชิงคำนวณมีความสอดคล้องกลมกลืนกับข้อมูลเชิงประจักษ์ มีค่าความยากอยู่ระหว่าง 0.51 - 0.81 มีค่าอำนาจจำแนกอยู่ระหว่าง 0.19 - 0.91 ตรวจสอบความเที่ยงโดยใช้สูตรสัมประสิทธิ์แอลฟาของครอนบาก พบว่า มีค่าความเที่ยงทั้งฉบับ เท่ากับ .974 ข้อคำถามแต่ละข้อมีความเป็นปรนัยในด้านการใช้ภาษา ซึ่งผู้วิจัยได้ปรับแก้ข้อคำถาม เพื่อให้ภาษาที่ใช้สื่อความหมายชัดเจน ผู้ทำแบบวัดทักษะการคิดเชิงคำนวณเข้าใจข้อคำถามได้ง่าย ไม่กำกวม ตามคำแนะนำของผู้เชี่ยวชาญ สุดท้ายคุณภาพความเป็นไปได้ในการเก็บข้อมูล พิจารณาจากร้อยละการ สูญหายของข้อมูลมีเพียงร้อยละ 2.16 - 5.76 ระดับทักษะการคิดเชิงคำนวณ ของนักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 3 จำนวน 139 คน อยู่ในระดับ ดี หากแยกวิเคราะห์ตามระดับช่วงเกรดเฉถี่ย พบว่า นักเรียนช่วงเกรดเฉลี่ยน 3.50 - 4.00 มีระดับทักษะการคิดเชิงคำนวณอยู่ในระดับดีมาก และนักเรียนช่วงเกรดเฉลี่ย 1.00-1.49 มีระดับทักษะการคิดเชิงคำนวณอยู่ในระดับค่อนข้างต่ำ ผลการเปรียบเทียบระดับทักษะการคิดเชิงคำนวณของนักเรียน ที่มีช่วงเกรดเฉลี่ยที่ต่างกัน พบว่านักเรียน ทุกช่วงเกรดเฉลี่ยมีระดับทักษะการคิดเชิงคำนวณแตกต่างกันอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ .05 สำหรับผลการเปรียบเทียบระดับทักษะการคิดเชิงคำนวณของนักเรียนที่เกรดรายวิชาวิทยาการคำนวณแตกต่างกัน พบว่านักเรียนที่ได้เกรด 4 มีระดับทักษะการคิดเชิงคำนวณสูงกว่านักเรียนที่ได้เกรด 3, 2.3, 2, 1.5 และ เกรด 1 ส่วนนักเรียนที่ได้เกรด 3.5 มีระดับทักษะการคิดเชิงคำนวณสูงกว่านักรียนที่ได้เกรด 2.5, 2, 1.5 และ เกรด 1สำหรับนักเรียนได้เกรด 3, 2.5 และ 2 มีระดับทักษะการคิดเชิงคำนวณสูงกว่านักเรียนที่ได้เกรด 1 อย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ .05en_US
Appears in Collections:EDU: Theses



Items in CMUIR are protected by copyright, with all rights reserved, unless otherwise indicated.