Please use this identifier to cite or link to this item: http://cmuir.cmu.ac.th/jspui/handle/6653943832/73796
Full metadata record
DC FieldValueLanguage
dc.contributor.advisorณัฐพล แจ้งอักษร-
dc.contributor.authorกัลยาณี คุณาen_US
dc.date.accessioned2022-08-07T05:59:33Z-
dc.date.available2022-08-07T05:59:33Z-
dc.date.issued2021-05-
dc.identifier.urihttp://cmuir.cmu.ac.th/jspui/handle/6653943832/73796-
dc.description.abstractThe objective of this research was to analyze 1) the process of developing learning management in computational science of teachers, 2) the teacher's method of calculating learning management, and 3) the results that occur to students from the teacher's learning management. The qualitative samples collected from the interviews were 3 supervisors, 4 teachers as lecturers, 6 teachers of computational science, and 10 Grade 6 students. The quantitative sample collected from the questionnaire was 414 Grade 6 students. The instruments used to collect the qualitative data were the interview form, the development process participation observation form, and the teaching observation form. The instrument used to collect the quantitative data was a questionnaire about the measurement of student outcomes from computational science teachers' learning management. Qualitative data were analyzed with content analysis. Quantitative data were analyzed with basic statistical values. The results of the research can be summarized as follows. 1. The process of developing computational learning management of teachers was found to be a workshop and an online training which had the same content in organizing the process. The workshop process would show demonstrations of activities. Therefore, limited online training allowed students to only listen to lectures and take quizzes that must pass 80% or more. 2. The teacher's learning management in computational science was different according to the specific characteristics of the teachers. Activities were designed in line with the indicators and were prepared by studying the indicators and designing activities that made the students understand as much as possible. Instructors would plan, prepare materials, equipment, and worksheets that would be needed, and conduct experiments to check their understanding before letting students do it. Teaching techniques were used in conjunction with similar learning arrangements such as competitions, group work, and hands-on exercises both in unplugged and online. Finally, students were assessed based on their thought processes and activities. 3. The outcomes for students from the teacher's learning management in computational science were divided into three domains: cognitive domain, psychomotor domain, and affective domain. Overall, it was found that the students had the highest self-perception and had a good attitude towards studying computational science. It was followed by cognitive domain, psychomotor domain. Students enjoy learning through online channels using unplugged materials and a variety of activities, and teachers were fun to teach, thus maximizing their affective score.en_US
dc.language.isootheren_US
dc.publisherเชียงใหม่ : บัณฑิตวิทยาลัย มหาวิทยาลัยเชียงใหม่en_US
dc.titleการวิเคราะห์กระบวนการพัฒนาการจัดการเรียนรู้วิชาวิทยาการคำนวณของครูและผลที่เกิดขึ้นกับนักเรียน: การวิจัยเชิงผสมวิธีen_US
dc.title.alternativeAnalysing the development process of teacher's learning management in computing sciences and the effects on students: mixed method researchen_US
dc.typeThesis
thailis.controlvocab.thashการเรียนรู้-
thailis.controlvocab.thashการเรียนแบบมีส่วนร่วม-
thailis.controlvocab.thashการศึกษา-
thailis.controlvocab.thashการคำนวณ-
thailis.controlvocab.thashนักเรียน-
thesis.degreemasteren_US
thesis.description.thaiAbstractการวิจัยครั้งนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อ 1) วิเคราะห์กระบวนการพัฒนาการจัดการเรียนรู้วิชาวิทยาการคำนวณของครู 2) วิเคราะห์วิธีการจัดการเรียนรู้วิทยาการคำนวณของครู และ 3) วิเคราะห์ผลที่เกิดขึ้นกับนักเรียนจากการจัดการเรียนรู้ของครู ตัวอย่างเชิงคุณภาพที่เก็บข้อมูลจากการสัมภาษณ์ คือ ศึกษานิเทศก์ จำนวน 3 คน ครูที่ร่วมเป็นวิทยากร จำนวน 4 คน และครูผู้สอนวิชาวิทยาการคำนวณ จำนวน 6 คน นักเรียนชั้นประถมศึกษาปีที่ 6 จำนวน 10 คน และตัวอย่างเชิงปริมาณที่เก็บข้อมูลจากการสอบถาม คือ นักเรียนชั้นประถมศึกษาปีที่ 6 จำนวน 414 คน เครื่องมือที่ใช้ในเก็บข้อมูลเชิงคุณภาพคือ แบบสัมภาษณ์ แบบสังเกตการเข้าร่วมกระบวนการพัฒนา และแบบสังเกตการณ์สอน เครื่องมือที่ใช้เก็บข้อมูลเชิงปริมาณคือ แบบสอบถามเกี่ยวกับการวัดผลที่เกิดขึ้นกับนักเรียนจากการจัดการเรียนรู้ของครูผู้สอนวิชาวิทยาการคำนวณ วิเคราะห์ข้อมูลเชิงคุณภาพด้วยการวิเคราะห์เนื้อหา และวิเคราะห์ข้อมูลเชิงปริมาณด้วยค่าาสถิติพื้นฐาน ผลการวิจัยสรุปได้ดังนี้ 1. กระบวนการพัฒนาการจัดการเรียนรู้วิชาวิทยาการคำนวณของครู พบว่า เป็นการอบรมเชิงปฏิบัติการและการอบรมแบบออนไลน์ ซึ่งมีเนื้อหาในการจัดกระบวนการแบบเดียวกัน โดยกระบวนการอบรมเชิงปฏิบัติการ จะทำให้เห็นการสาธิตการทำกิจกรรม ส่วนการอบรมแบบออนไลน์ด้วยข้อจำกัดจึงได้เพียงแต่ฟังบรรยายและทำแบบทดสอบ ซึ่งต้องผ่านเกณฑ์ร้อยละ 80 ขึ้นไป 2. การจัดการเรียนรู้วิชาวิทยาการคำนวณของครู มีลักษณะแตกต่างตาลักษณะเฉพาะของครูผู้สอน โดยออกแบบกิจกรรมให้สอดคล้องกับตัวชี้วัดเป็นหลัก มีการเตรียมความพร้อม โดยศึกษาตัวชี้วัดแล้วออกแบบกิจกรรมที่ทำให้นักเรียนเข้าใจได้มากที่สุด วางแผนเตรียมสื่ออุปกรณ์ ใบงานที่จะต้องใช้ และทำการทดลองเพื่อตรวจสอบความเข้าใจก่อนให้นักเรียนทำ ซึ่งใช้เทคนิคการสอนควบคู่กับการจัดการเรียนรู้ที่คล้ายคลึงกัน เช่น การแข่งขัน การทำงานเป็นกลุ่ม ลงมือปฏิบัติจริง ทั้งที่เป็นสื่อแบบ unplugged และออนไลน์ และประเมินนักเรียนจากกระบวนการคิดจากกิจกรรมที่ทำ 3. ผลที่เกิดขึ้นกับนักเรีขนจากการจัดการเรียนรู้วิชาวิทยาการคำนวณของครู แบ่งออกเป็น 3 ด้าน ได้แก่ ด้านความรู้ ด้านทักษะ และด้านจิตพิสัย โดยภาพรวมพบว่า นักเรียนมีการรับรู้ว่าตนเองมีจิตพิสัยที่ดีต่อการเรียนวิชาวิทยาการคำนวณมากที่สุด รองลงมาคือด้านความรู้ และด้านทักษะ ซึ่งนักเรียนมีความสุขกับการได้เรียนผ่านช่องทางออนไลน์ และใช้สื่อแบบ unplugged และกิจกรรมที่หลากหลาย และครูผู้สอนสอนได้สนุก จึงทำให้มีจิตพิสัยที่สูงที่สุดen_US
Appears in Collections:EDU: Theses

Files in This Item:
File Description SizeFormat 
620232001 กัลยาณี คุณา.pdf3.8 MBAdobe PDFView/Open    Request a copy


Items in CMUIR are protected by copyright, with all rights reserved, unless otherwise indicated.