Please use this identifier to cite or link to this item: http://cmuir.cmu.ac.th/jspui/handle/6653943832/73777
Full metadata record
DC FieldValueLanguage
dc.contributor.advisorพิมพ์เดือน รังสิยากูล-
dc.contributor.advisorปิยะนารถ จาติเกตุ-
dc.contributor.authorศรินลาวัณย์ สมบูรณ์จันทร์en_US
dc.date.accessioned2022-08-06T04:22:21Z-
dc.date.available2022-08-06T04:22:21Z-
dc.date.issued2022-05-
dc.identifier.urihttp://cmuir.cmu.ac.th/jspui/handle/6653943832/73777-
dc.description.abstractDependent older adults suffer from a variety of oral health issues and receive limited care. There is a shortage of information regarding the availability of dental healthcare staff, and financial resources to conduct home visits. The objectives of this study was to determine the oral health care supplies required by the dental health team conducting home visits to dependent older people. The samples were drawn from dental practitioners who are working in a government hospital in Phitsanulok province by a purposive sampling method. The data collection tool was a self-administered questionnaire which was constructed and tested for content validity and reliability. The questionnaire was divided into 3 sections: participant characteristics (through a checklist); the need for dental service and equipment and supplies (by a 5-point Likert scale); and recommendation. Data were collected in October 2020. The results were expressed as a percentage and as a mean+SD value. A total of 68 dentists, 60 dental therapists, and 35 dental public health practitioners took part in this study. They were all aged 34.60+9.24 years, 47.3% worked in community hospitals and 12.27% had gerodontology training. 71.8% of participants conducted home visits, with 41.1% doing so on a monthly basis, and they were accompanied by an average of 5-6 multidiscipline officers. The necessary oral health care equipment and supplies that were strongly agreed upon by participants were: general/assessment kit (which consists surgical mask, examination gloves, torch, plane mouth mirror, alcohol gel/spray, infectious waste bag, face shield, explorer, oral care plan, sphygmomanometer, gauze/cotton pellet, and oral lesion assessment); oral hygiene instruction kit (which consists toothbrush, toothpaste with fluoride, brush for denture, oral hygiene instruction media, and denture cleaning instruction media); and tooth extraction kit (which consists gauze/cotton pellet, extraction forceps, dental cartridge syringe, disposable needle, anesthetic cartridge, and elevator). These were all used for necessary dental services, as strongly agreed by participants, such as oral hygiene instruction (4.73+0.53), oral assessment (4.65+0.56), and oral health education (4.59+0.66). The most necessary dependent older adults' oral problem was poor oral hygiene (4.72+0.49). This study primarily evaluated normative needs, future studies should focus on the felt needs as well to develop guidelines for dental services provided via home visits. Additionally, institutions should support dental health teams in getting adequate knowledge and skills in providing oral health care for dependent older adults.en_US
dc.language.isootheren_US
dc.publisherเชียงใหม่ : บัณฑิตวิทยาลัย มหาวิทยาลัยเชียงใหม่en_US
dc.subjectNeeds Assessmenten_US
dc.subjectDependent Older Adultsen_US
dc.subjectHome Visitsen_US
dc.subjectOral Health Careen_US
dc.subjectDental Suppliesen_US
dc.titleการสำรวจความจำเป็นของอุปกรณ์และเวชภัณฑ์ทางทันตกรรมสำหรับทันตบุคลากรในการดูแลช่องปากผู้สูงอายุภาวะพึ่งพิง โดยการเยี่ยมบ้าน ในจังหวัดพิษณุโลก ประเทศไทยen_US
dc.title.alternativeNeeds assessment survey of dental oral health care equipment and supplies for dental health team in dependent older adults receiving home visits in Phitsanulok Province, Thailanden_US
dc.typeThesis
thailis.controlvocab.thashผู้สูงอายุ -- การดูแลทันตสุขภาพ -- พิษณุโลก-
thailis.controlvocab.thashฟัน -- การดูแลและสุขวิทยา-
thailis.controlvocab.thashทันตสุขศึกษา-
thailis.controlvocab.thashช่องปาก -- การดูแลและสุขวิทยา-
thesis.degreemasteren_US
thesis.description.thaiAbstractผู้สูงอายุที่มีภาวะพึ่งพิงจะเผชิญกับปัญหาสุขภาพช่องปากที่หลากหลาย แต่ยังขาดการดูแลที่เหมาะสม เนื่องจากขาดแคลนข้อมูลปัญหาในช่องปากที่สำคัญ รวมทั้งขาดบุคลากรที่มีความรู้ด้านการดูแลผู้สูงอายุภาวะพึ่งพิง และงบประมาณ ทำให้ยังไม่มีแนวทางที่ชัดเจนในการดูแลสุขภาพช่องปากผู้สูงอายุในระบบการดูแลระยะยาว การศึกษานี้มีวัตถุประสงค์เพื่อประเมินความจำเป็นของอุปกรณ์และเวชภัณฑ์ทางทันตกรรมที่ใช้เพื่อดูแลช่องปากผู้สูงอายุภาวะพึ่งพิงในการออกเยี่ยมบ้านโดยทันตบุคลากร กลุ่มตัวอย่าง คือ บุคลากรที่ปฏิบัติงานด้านทันตกรรมในโรงพยาบาลสังกัดสำนักงานปลัดกระทรวงสาธารณสุข ด้วยวิธีการสุ่มอย่างเฉพาะเจาะจงจากบุคลากรทั้งหมดในจังหวัดพิษณุโลก ทำการเก็บข้อมูลด้วยแบบสอบถามที่สร้างขึ้นและผ่านการตรวจสอบความเที่ยงตรงเนื้อหา และความเชื่อถือได้ แบ่งเป็น 3 ตอนคือ 1) ข้อมูลทั่วไปของกลุ่มตัวอย่าง ในรูปแบบรายการ 2) สภาวะช่องปากของผู้สูงอายุภาวะพึ่งพิงที่มีความจำเป็นต้องรักษา งานทางทันตกรรมที่จำเป็นต้องให้บริการแก่สูงอายุภาวะพึ่งพิง และรายการอุปกรณ์และเวชภัณฑ์ทางทันตกรรมที่จำเป็นเพื่อใช้ดูแลช่องปากผู้สูงอายุภาวะพึ่งพิงในการเยี่ยมบ้าน ใช้มาตรวัดมาตรวัดแบบลิเคิร์ท 5 ระดับ 3) ข้อเสนอแนะ เก็บรวบรวมข้อมูลในเดือนตุลาคม 2563 นำเสนอข้อมูลด้วยความถี่ในรูปแบบร้อยละ ค่าเฉลี่ยและส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน ผลการศึกษาพบว่า กลุ่มตัวอย่างประกอบด้วยทันตแพทย์ 68 คน เจ้าพนักงานทันตสาธารณสุข 60 คน และนักวิชาการสาธารณสุข(ทันตสาธารณสุข) 35 คน มีอายุเฉลี่ย 34.60+9.24 ปี ปฏิบัติงานในโรงพยาบาลชุมชนร้อยละ 47.3 ผ่านการอบรม/ศึกษาต่อเนื่องด้านทันตกรรมผู้สูงอายุร้อยละ 12.27 และมีประสบการณ์การออกเยี่ยมบ้านร้อยละ 71.8 โดยกลุ่มตัวอย่างมีการออกเยี่ยมบ้านเป็นประจำอย่างน้อยเดือนละ 1 ครั้งร้อยละ 41.1 มีบุคลากรร่วมทีมในการออกเยี่ยมบ้านเฉลี่ย 5-6 คนต่อครั้ง อุปกรณ์และเวชภัณฑ์ที่กลุ่มตัวอย่างเห็นว่าจำเป็นมากในการออกเยี่ยมบ้าน คือ 1) ชุดทั่วไป/ตรวจประเมิน (ประกอบด้วย หน้ากากอนามัย ถุงมือตรวจโรค ไฟฉาย กระจกส่องปาก เจล/สเปรย์แอลกอฮอล์ล้างมือ ถุงขยะแดง กระบังหน้า เครื่องมือสำรวจ แผนการดูแลช่องปากรายบุคคล เครื่องวัดความดันโลหิต กอซ สำลีก้อน และแบบตรวจรอยโรคในช่องปาก) 2) ชุดฝึกทักษะและให้คำแนะนำดูแลช่องปากและฟันเทียม (ประกอบด้วย แปรงสีฟันขนนุ่ม ยาสีฟันผสมฟลูออไรด์ความเข้มข้น 1000 ส่วนในล้านส่วน แปรงสำหรับทำความสะอาดฟันเทียม สื่อการสอนทำความสะอาดช่องปาก และสื่อการสอนทำความสะอาดฟันเทียม) และ 3) ชุดถอนฟัน (ประกอบด้วย กอซ สำลีก้อน คีมถอนฟันบน/ล่าง กระบอกฉีดยาชา เข็มฉีดยาสั้น/ยาว ยาชาชนิดมีสารบีบหลอดเลือด และเครื่องมืองัดฟัน) ซึ่งอุปกรณ์และเวชภัณฑ์เหล่านี้ใช้สำหรับให้บริการทางทันตกรรมที่จำเป็น ตามที่กลุ่มตัวอย่างเห็นว่ามีความจำเป็นมาก ได้แก่ การฝึกทักษะการทำความสะอาดช่องปาก (ระดับความจำเป็นเฉลี่ย 4.73+0.53) การตรวจสุขภาพช่องปาก (ระดับความจำเป็นเฉลี่ย 4.65+0.56) และให้คำแนะนำและ/หรือการปรับพฤติกรรมเพื่อควบคุมคราบจุลินทรีย์ (ระดับความจำเป็นเฉลี่ย 4.59+0.66) โดยสภาวะช่องปากของผู้สูงอายุภาวะพึ่งพิงที่กลุ่มตัวอย่างมีความเห็นว่าจำเป็นมาก คือ ความสะอาด/อนามัยช่องปาก (ระดับความจำเป็นเฉลี่ย 4.72+0.49) อย่างไรก็ดี การศึกษานี้เป็นการศึกษาความจำเป็นที่ควรมี จึงควรมีการศึกษาเพิ่มเติมถึงความจำเป็นตระหนักของผู้สูงอายุภาวะพึ่งพิงในการรับบริการทันตกรรมประเภทต่างๆ เพื่อประกอบการจัดรูปแบบการให้บริการทางทันตกรรมที่บ้านต่อไป และหน่วยงานที่เกี่ยวข้องควรจัดให้มีการเพิ่มพูนความรู้และทักษะที่จำเป็นที่เหมาะสมกับทันตบุคลากรแต่ละวิชาชีพตามส่วนขาดที่จำเป็นen_US
Appears in Collections:DENT: Theses

Files in This Item:
File Description SizeFormat 
ศรินลาวัณย์_ส่งบัณฑิต_20072565.pdfMain article5 MBAdobe PDFView/Open    Request a copy


Items in CMUIR are protected by copyright, with all rights reserved, unless otherwise indicated.