Please use this identifier to cite or link to this item:
http://cmuir.cmu.ac.th/jspui/handle/6653943832/73767
Full metadata record
DC Field | Value | Language |
---|---|---|
dc.contributor.advisor | พิมพ์เดือน รังสิยากูล | - |
dc.contributor.advisor | พิสัยศิษฎ์ ชัยจรีนนท์ | - |
dc.contributor.author | ฐิติพงศ์ ผาสุขใจ | en_US |
dc.date.accessioned | 2022-08-05T10:15:06Z | - |
dc.date.available | 2022-08-05T10:15:06Z | - |
dc.date.issued | 2022-06 | - |
dc.identifier.uri | http://cmuir.cmu.ac.th/jspui/handle/6653943832/73767 | - |
dc.description.abstract | Objectives: To study the effect of acrylic resin reinforcement methods on flexural properties, which consist of flexural strength and flexural modulus. Materials and Methods: Acrylic resin specimens (10 x 64 x 3.3 mm) were reinforced with 5 different materials: cast metal framework, double metal wires, single metal wire, stainless steel mesh and silanized nano-silica particles. The control group was an acrylic resin that is not reinforced. Flexural strength and flexural modulus were investigated for all groups and were analyzed using one-way ANOVA at 95% confidence intervals. Fracture sites of specimen were examined by scanning electron microscope (SEM). Results: The average flexural strength ranged from 100.01 to 130.13 MPa. The highest flexural strength of acrylic resins was found in the group reinforced with cast metal framework (130.13 ± 9.92 MPa), significantly different from the control group. The second were the group reinforced with double metal wires (126.76 ± 10.94 MPa), and the group reinforced with single metal wire (117.11 ± 4.72 MPa), not significantly different from the control group. The average of flexural modulus ranged from 2.12 to 3.47 GPa. The highest flexural modulus was found in the group which reinforced with cast metal framework (3.47 ± 0.53 GPa), significantly different from the control group and other groups. The second was the group reinforced with double metal wires (2.69 ± 0.21 GPa), significantly higher than the control group. Conclusion: Reinforcing with cast metal framework, double metal wires and single metal wire could increase flexural strength and flexural modulus of acrylic resin. The acrylic resin reinforced with cast metal framework had the highest flexural strength and flexural modulus, significantly different from the control group. | en_US |
dc.language.iso | other | en_US |
dc.publisher | เชียงใหม่ : บัณฑิตวิทยาลัย มหาวิทยาลัยเชียงใหม่ | en_US |
dc.title | ผลของวิธีการเสริมความแข็งแรงต่อคุณสมบัติดัดขวางของวัสดุอะคริลิกเรซิน | en_US |
dc.title.alternative | Effect of strengthening methods on flexural properties of acrylic resin | en_US |
dc.type | Thesis | |
thailis.controlvocab.thash | เรซินอะคริลิก | - |
thailis.controlvocab.thash | เรซินอะคริลิกทางทันตกรรม | - |
thesis.degree | master | en_US |
thesis.description.thaiAbstract | วัตถุประสงค์: เพื่อศึกษาผลของวิธีการเสริมความแข็งแรงของวัสดุอะคริลิกเรซินต่อคุณสมบัติดัดขวาง ซึ่งประกอบด้วยความแข็งแรงดัดขวาง และโมดูลัสดัดขวาง วัสดุและวิธีการ: อะคริลิกเรซินขนาด 10 x 64 x 3.3 มิลลิเมตร นำมาเสริมความแข็งแรงด้วยวิธีการต่างๆ แบ่งเป็น 5 กลุ่ม ได้แก่ โครงโลหะเหวี่ยง ลวดโลหะเดี่ยว ลวดโลหะคู่ ตาข่ายโลหะไร้สนิม และผสมด้วยอนุภาคนาโนซิลิกาที่ผ่านการปรับสภาพผิวด้วยไซเลน โดยมีกลุ่มควบคุมคืออะคริลิกเรซินที่ไม่ได้มีการเสริมความแข็งแรง ทำการทดสอบความแข็งแรงดัดขวางและโมดูลัสดัดขวางของอะคริลิกเรซิน และวิเคราะห์ผลด้วยสถิติความแปรปรวนแบบทางเดียวที่ระดับความเชื่อมั่นร้อยละ 95 และทำการตรวจสอบการแตกหักของชิ้นตัวอย่างด้วยกล้องจุลทรรศน์อิเล็กตรอนแบบส่องกราด ผลการศึกษา: ค่าเฉลี่ยความแข็งแรงดัดขวางมีค่าตั้งแต่ 100.01 - 130.13 เมกะปาสคาล โดยค่าเฉลี่ยความแข็งแรงดัดขวางของอะคริลิกเรซินสูงที่สุดในกลุ่มที่เสริมความแข็งแรงด้วยโครงโลหะเหวี่ยง (130.13 ± 9.92 เมกะปาสคาล) แตกต่างจากกลุ่มควบคุมอย่างมีนัยสำคัญ รองลงมาเป็นกลุ่มที่เสริมความแข็งแรงด้วยลวดโลหะคู่ (126.76 ± 10.94 เมกะปาสคาล) และกลุ่มที่เสริมความแข็งแรงด้วยลวดโลหะเดี่ยว (117.11 ± 4.72 เมกะปาสคาล) โดยไม่แตกต่างจากกลุ่มควบคุมอย่างมีนัยสำคัญ ในส่วนของค่าเฉลี่ยโมดูลัสดัดขวางมีค่าตั้งแต่ 2.12 -3.47 กิกะปาสคาล โดยพบว่ามีค่ามากที่สุดในกลุ่มที่เสริมความแข็งแรงด้วยโครงโลหะเหวี่ยง (3.47 ± 0.53 กิกะปาสคาล) ซึ่งแตกต่างจากกลุ่มควบคุมและกลุ่มอื่นอย่างมีนัยสำคัญ รองลงมาเป็นกลุ่มที่เสริมความแข็งแรงด้วยลวดโลหะคู่ (2.69 ± 0.21 กิกะปาสคาล) ซึ่งสูงกว่ากลุ่มควบคุมอย่างมีนัยสำคัญเช่นเดียวกัน สรุปผลการศึกษา: การเสริมความแข็งแรงของอะคริลิกเรซินด้วยโครงโลหะเหวี่ยง ลวดโลหะคู่ และลวดโลหะเดี่ยวส่งผลให้อะคริลิกเรซินมีค่าความแข็งแรงดัดขวางและโมดูลัสดัดขวางเพิ่มขึ้น โดยกลุ่มอะคริลิกเรซินที่เสริมด้วยโครงโลหะเหวี่ยงมีค่าความแข็งแรงดัดขวางและโมดูลัสดัดขวางสูงที่สุดและแตกต่างจากกลุ่มควบคุมอย่างมีนัยสำคัญ | en_US |
Appears in Collections: | DENT: Theses |
Files in This Item:
File | Description | Size | Format | |
---|---|---|---|---|
Thesisfilm_approved.pdf | 4.07 MB | Adobe PDF | View/Open Request a copy |
Items in CMUIR are protected by copyright, with all rights reserved, unless otherwise indicated.