Please use this identifier to cite or link to this item: http://cmuir.cmu.ac.th/jspui/handle/6653943832/73711
Full metadata record
DC FieldValueLanguage
dc.contributor.advisorสมหวัง แก้วสุฟอง-
dc.contributor.authorมานิตย์ กลางขอนนอกen_US
dc.date.accessioned2022-07-24T04:24:44Z-
dc.date.available2022-07-24T04:24:44Z-
dc.date.issued2021-05-
dc.identifier.urihttp://cmuir.cmu.ac.th/jspui/handle/6653943832/73711-
dc.description.abstractThis research, A Study of the Concept of Social Engineering, is set to analyze two main points of objectives which are: - 1) the components, origins, and main objectives of Roscoe Pound's social engineering theory, and 2) the foundation of Sound's social engineering concept. There is a basis for sharing the benefits of social engineering concepts or ethical concepts of utilitarianism. By using ethics as a framework for education Analyzed through the pound concept of his books and articles. The results of the study showed that Pound's concept of social engineering theory is a theory that is made up of three main theoretical concepts: 1. Social Engineering as a framework for exploring social structures 2. Sociology of Laws and Sociological Jurisprudence. Responsible for dealing with claims Needs and desires of people in society to be harmonious and cause as few problems as possible 3. Utilitarianism The aim of the concept of the pound's interests, though, is not the happiness of most people first But ultimately, the hierarchy of benefits must be made so that social interests are superior to all interests based on Bentham's conceptual benefit. In the field of interests, The meaning of the word interest from the concept of Pound's engineering theory is based on the concept of utilitarianism. But not the benefit that is homogeneous to the concept of Mill or Bantham. Pound then chose to use the word “Interest” because of the American social change that leaped from agriculture to industry. To keep the law in pace with the industrialized world Structural reforms of the law, therefore, rely on social reforms based on individual requirements and view their needs as a basis for problem-solving and meeting needs. Private interests are part of the objectives. To connect the interests of the public and society, not the happiness of most people in society, is the sole goal. In the utility, happiness must be calculated, and happiness is weighed. The legal process by an engineer lawyer is unable to calculate that happiness and suffering purely. Because the needs of each person are not equal Adjustment or coordination of interests is required by the law to permit or enforce. Even when punished for suffering Moral right and wrong cannot be calculated based on social needs. It simply wants to benefit most of society by following the traditional utility-based approach of social engineering theory. It is enough to finally balance the hierarchy of benefits. In conclusion, the benefits of Pound's theory are simply sketching a list that may be interchangeable for different eras. It cannot be defined clearly how to prioritize Because of ethics, benefits, and the style of Bentham with Mill It determines the quantity and quality of happiness. But in Pound's social engineering concept, happiness was not emphasized. Emphasize only the needs that must be met in the form of the basic needs of life in a modern changing society and secure their legitimate interests.en_US
dc.language.isootheren_US
dc.publisherเชียงใหม่ : บัณฑิตวิทยาลัย มหาวิทยาลัยเชียงใหม่en_US
dc.titleการวิเคราะห์ทฤษฎีวิศวกรรมสังคมของรอสโค พาวนด์en_US
dc.title.alternativeAn analysis of roscoe pound’s theory of social engineeringen_US
dc.typeThesis
thailis.controlvocab.thashวิศวกรรมสังคม-
thailis.controlvocab.thashการควบคุมทางสังคม-
thailis.controlvocab.thashกฎหมาย-
thailis.controlvocab.thashรอสโค พาวนด์-
thesis.degreemasteren_US
thesis.description.thaiAbstractการศึกษาแนวคิดวิศวกรรมสังคมของพาวนด์ มีวัตถุประสงค์เพื่อจะวิเคราะห์อยู่ 2 ประเด็นหลักคือ แนวคิดเรื่อง 1) องค์ประกอบ ที่มา และเป้าประสงค์หลักในทฤษฎีวิศวกรรมสังคม ของรอสไค พาวนด์ ตลอดจน 2) พื้นฐานแนวคิดวิศวกรรมสังคมของพาวนด์ มีฐานคิดการแบ่งประโยชน์ในแนวคิดแบบวิศวกรรมสังคมหรือแนวคิดแบบจริยปรัชญาประโยชน์นิยม โดยใช้ทฤษฎีประโยชน์นิยมทางจริยศาสตร์มาเป็นกรอบในการศึกษา วิเคราะห์ผ่านกรอบคิดของพาวนด์จากหนังสือและบทความของเขาเพื่อให้ได้ข้อสรุปในแนวคิดเรื่องวิศวกรรมสังคมของรอสโค พาวนด์ ผลการศึกษาพบว่า แนวคิดทฤษฎีวิศวกรรมสังคมของพาวนด์ เป็นทฤษฎีที่ถูกประกอบสร้างด้วยแนวคิดทฤษฎีหลักด้วยกัน 3 ส่วน คือ 1.แนวคิดเรื่องวิศวกรรมสังคม (Social Engineering) เป็นเสมือนแม่บทที่เป็นการสำรวจโครงสร้างในทางสังคม 2.แนวคิดเรื่องสังคมวิทยากฎหมายและนักนิติศาสตร์เชิงสังคม (Sociology of Laws and Sociological Jurisprudence) ที่รับภาระเกี่ยวกับการจัดการกับข้อเรียกร้อง ความต้องการและความปรารถนาของคนในสังคม ให้มีความกลมกลืนและเกิดปัญหาน้อยที่เท่าที่จะกระทำได้ 3.แนวคิดเรื่องประโยชน์นิชม (Utilitarianism) จุดมุ่งหมายในแนวคิดของผลประโยชน์ของพาวนด์แม้ว่าจะไม่ใช่ความสุขของคนส่วนมากเป็นหลักก่อน แต่ท้ายที่สุดลำดับขั้นของผลประโยชน์ต้องยกให้ผลประโยชน์สังคมนั้นเหนือกว่าผลประโยชน์ในทุกด้านตามพื้นฐานแบบแนวคิดประโยชน์นิยมของแบนธัมในด้านของผลประโยชน์ความหมายของคำว่า Interest จากเค้าโครงของแนวคิดทฤษฎีวิศวกรรมของพาวนด์นั้นมีพื้นฐานมาจากแนวคิดแบบประโยชน์นิยม แต่ไม่ใช่ประโยชน์นิยมที่เป็นเนื้อเดียวกันกับแนวคิดของมิลล์หรือแบนธัม พาวนด์จึงเลือกใช้คำว่า Interest เพราะการเปลี่ยนแปลงทางสังคมแบบอเมริกาที่ก้าวกระโดดจากเกษตรกรรมเป็นอุตสาหกรรม เพื่อจะให้กฎหมายก้าวทันกับโลกยุคอุตสาหกรรม การปรับปรุงกฎหมายในเชิงโครงสร้าง จึงต้องอาศัยการปฏิรูปทางสังคมที่ยึดข้อเรียกร้องของปัจเจกชนเป็นหลักและมองถึงความต้องการของเขาเป็นแม่บทในการแก้ปัญหาและการตอบสนองความต้องการ ผลประโยชน์ของเอกชนเป็นส่วนหนึ่งในเป้าประสงค์ ในการเชื่อมผลประโยชน์ทั้งหลายเข้าด้วยกันทั้งผลประโยชน์มหาชนและสังคมไม่ใช่ความสุขของคนส่วนมากในสังคมเป็นเป้าหมายเพียงประการเดียว ในอรรถประโยชน์ต้องมีการคำนวณความสุขและการชั่งน้ำหนักความสุข ความทุกข์ ขบวนการทางกฎหมายโดยนักกฎหมายที่เป็นวิศวกรนั้น ไม่อาจคำนวณความสุขความทุกข์นั้นได้หมดจดเพราะความต้องการของแต่ละบุคคลนั้นไม่เท่ากัน การปรับหรือการประสานผลประโยชน์จึงจำต้องอาศัยอำนาจแห่งกฎหมายเพื่อที่จะอนุญาตหรือบังคับ แม้กระทั้งลงโทษให้ได้รับความทุกข์ ความถูกผิดทางศีลธรรมไม่อาจคำนวณได้จากความต้องการของคนในสังคมทั้งหมด เพียงแค่ต้องการผลประโยชน์ให้เกิดขึ้นกับสังคมคนหมู่มากที่สุดตามแนวทางของอรรถประโยชน์ที่เป็นดันแบบดั้งเดิมของทฤษฎีวิศวกรรมสังคม ก็เพียงพอที่จะปรับลำดับขั้นของประโยชน์ให้สมดุลกันได้ในที่สุดจากสมมุติฐานและข้อสรุป ผลประโยชน์ของพาวนด์เป็นเพียงการร่างรายการที่อาจสลับกันได้ในแต่ละยุคสมัย ไม่อาจกำหนดลงไปให้ชัดเจน ได้ว่าต้องจัดลำดับก่อนอย่างไร เพราะจริยศาสตร์ประโยชน์นิยมแบบเบนธัมและมิลล์นั้น เป็นการกำหนดถึงปริมาณและคุณภาพทางความสุข แต่ในแนวคิดวิศวกรรมสังคมของพาวนด์ไม่ได้เน้นถึงความสุข เน้นเพียงความต้องการที่ต้องได้รับการตอบสนองในความต้องการพื้นฐานของชีวิตที่อยู่ในสังคมที่เปลี่ยนแปลงตามยุคสมัยและรักษาความปลอดภัยให้กับผลประโยชน์ตามกฎหมายen_US
Appears in Collections:HUMAN: Theses

Files in This Item:
File Description SizeFormat 
600131003 มานิตย์ กลางขอนนอก.pdf1.13 MBAdobe PDFView/Open    Request a copy


Items in CMUIR are protected by copyright, with all rights reserved, unless otherwise indicated.