Please use this identifier to cite or link to this item:
http://cmuir.cmu.ac.th/jspui/handle/6653943832/73645
Full metadata record
DC Field | Value | Language |
---|---|---|
dc.contributor.advisor | มาริสา สุขพัทธี | - |
dc.contributor.advisor | สิทธิชัย วนจันทรรักษ์ | - |
dc.contributor.author | ธีรนุช รุจิเรกานุสรณ์ | en_US |
dc.date.accessioned | 2022-07-17T07:30:11Z | - |
dc.date.available | 2022-07-17T07:30:11Z | - |
dc.date.issued | 2021-06 | - |
dc.identifier.uri | http://cmuir.cmu.ac.th/jspui/handle/6653943832/73645 | - |
dc.description.abstract | Purpose: To evaluate the effect of pulpal pressure on microtensile bond strength between resin cement and dentin surface coated with immediate dentin sealing technique. Materials: 50 extracted human third molars were random into 2 groups depending on presence of pulpal pressure and non-pulpal pressure (PP, NP). Each group was divided further into 5 subgroups; Direct immediate dentin technique (Control), Delayed dentin sealing technique (DDS) and Immediate dentin sealing technique with dental adhesive 3 systems: three-step etch-and-rinse (TE), two-step self-etching (SE), and universal adhesive (U). Restorations were built up in dentin surface. For PP groups, the specimens were applied under 20 cm H2O. After storage in a moist condition, specimens were cut into microtensile beam (1 mm') and submitted to u TBS testing and failure modes. Data were analyzed with two-way ANOVA followed by the post-hoc Tukey's test (p <0.05). Results: Immediate dentin sealing technique groups showed higher µTBS than control and DDS group after present/ absent of pulpal pressure. When present of pulpal pressure, µTBS of TE-PP and DDS-PP group was reduced significantly while there was no significant difference among 3 dental adhesive systems. Conclusion: All immediate dentin sealing technique groups produce higher µTBS than delay dentine sealing technique and control no matter pulpal pressure was applied. The µTBS obtained with etch and rinse system was affected by the pulpal pressure, it still yielded the highest µTBS. | en_US |
dc.language.iso | other | en_US |
dc.publisher | เชียงใหม่ : บัณฑิตวิทยาลัย มหาวิทยาลัยเชียงใหม่ | en_US |
dc.title | ผลของแรงดันของเหลวเนื้อเยื่อในต่อค่าแรงยึดดึงระดับจุลภาคระหว่างเรซิน ซีเมนต์กับเนื้อฟันที่เคลือบปิดผิวด้วยเทคนิคการเคลือบปิดผิวเนื้อฟันทันที: การศึกษาภายนอกร่างกาย | en_US |
dc.title.alternative | Effect of pulpal pressure on microtensile bond strength between resin cement and dentin surface coated with immediate dentin sealing technique: an in vitro study | en_US |
dc.type | Thesis | |
thailis.controlvocab.thash | เรซินคอมโพสิต | - |
thailis.controlvocab.thash | ซีเมนต์ทางทันตกรรม | - |
thailis.controlvocab.thash | การยึดติดทางทันตกรรม | - |
thailis.controlvocab.thash | ทันตวัสดุ | - |
thesis.degree | master | en_US |
thesis.description.thaiAbstract | วัตถุประสงค์: เพื่อศึกษาผลของแรงดันของเหลวเนื้อเยื่อในต่อค่าแรงยึดดึงระดับจุลภาคระหว่างเรซินซีเมนต์กับเนื้อฟันที่ถูกเคลือบปิดผิวเนื้อฟันด้วยเทคนิคการเคลือบปิดผิวเนื้อฟันทันที วัสดุและวิธีการ: ทำการศึกษาโดยใช้ฟันกรามแท้ซี่ที่สาม จำนวน 50 ซี่ แบ่งออกเป็น 2 กลุ่ม ได้แก่กลุ่มที่มีแรงดันของเหลวเนื้อเยื่อในและไม่มีแรงดันของเหลวเนื้อเชื่อใน (PP, NP) แบ่งกลุ่มตัวอย่างของแต่ละกลุ่มเป็น 5 กลุ่มย่อยสำหรับการทดสอบ ได้แก่ กลุ่มบูรณะโดยตรง (กลุ่มควบคุม) กลุ่มบูรณะโดยอ้อมแบบดั้งเดิม (DDS) และกลุ่มที่ใช้สารยึดติดทางทันตกรรม 3 ระบบที่เคลือบปิดผิวเนื้อฟันด้วยเทคนิคการเคลือบปิดผิวเนื้อฟันทันที คือ ระบบเอทช์แอนด์รินส์ (TE) ระบบเซลฟ็เอทช์ (SE) และระบบยูนิเวอร์แซล (U) โดยวัสดุบูรณะจะทำการยึดติดบนผิวเนื้อฟัน สำหรับกลุ่มที่ให้แรงดันของเหลวเนื้อเยื่อในจะถูกต่อเข้ากับอุปกรณ์ควบคุมแรงดันน้ำที่ 20 เซนติเมตรน้ำตลอดการทดสอบ หลังจากเก็บชิ้นทดสอบในสภาวะที่มีความชื้น ชิ้นทดสอบถูจะถูกตัดเป็นแท่งสี่เหลี่ยม (1 mm 2 ) จำนวน 10 ชิ้นจากทุกกลุ่มนำไปทดสอบความแข็งแรงยึดดึงระดับจุลภาคและประเมินรูปแบบความล้มเหลว วิเคราะห์ข้อมูลโดยใช้สถิติการวิเคราะห์ความแปรปรวนสองทางและการวิเคราะห์ความแปรปรวนทางเดียวของทูกีย์ ที่ระดับความเชื่อมั่นร้อยละ 95 ผลการศึกษา: กลุ่มที่ทำเทคนิคการเคลือบปิดผิวเนื้อฟันทันทีด้วยสารยึดติดทางทันตกรรมมีค่าแรงยึดดึงระดับจุลภาคมากกว่ากลุ่มควบคุมและกลุ่มที่บูรณะโดยอ้อมแบบดั้งเดิม ทั้งในสภาวะที่มีและ ไม่มี แรงดันของเหลวเนื้อเยื่อในอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติ และในกลุ่มบูรณะโดยอ้อมแบบดั้งเดิมมีค่าแรงยึดดึงระดับจุลภาคน้อยที่สุด พบว่าเมื่อมีแรงดันของเหลวเนื้อเชื่อในมีผลให้ค่าแรงยึดดึงระดับจุลภาคในกลุ่มที่ใช้สารยึดติดทางทันตกรรมระบบเอทข์แอบด์รินส์และกลุ่มบูรณะโดยอ้อมแบบดั้งเดิมลดลงอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติ ในขณะที่ไม่มีความแตกต่างอย่างมีนัยสำคัญระหว่างกลุ่มที่ทำเทคนิคการเคลือบปิดผิวเนื้อฟันทันทีด้วยสารยึดติดทางทันตกรรมทั้ง 3 ระบบ สรุปผลการศึกษา: การเคลือบปิดผิวเนื้อฟันด้วยเทคนิคการเคลือบปิดผิวเนื้อฟันทันทีให้ค่าแรงยึดระดับจุลภาคมากกว่าการบูรณะโดยอ้อมแบบดั้งเดิมและการบูรณะโดยตรง ทั้งในสภาวะที่มีและไม่มีแรงดันของเหลวเนื้อเยื่อใน ในขณะที่เมื่อทำเทคนิคการเคลือบปิดผิวเนื้อฟันทันทีด้วยสารยึดติดระบบเอทร์แอนด์รินส์แม้ว่าจะได้รับผลกระทบจากสภาวะที่มีแรงดันของเหลวเนื้อเยื่อใน แต่ยังคงมีค่าค่าแรงยึดระดับจุลภาคสูงสุด | en_US |
Appears in Collections: | DENT: Theses |
Files in This Item:
File | Description | Size | Format | |
---|---|---|---|---|
610931012 ธีรนุช รุจิเรกานุสรณ์.pdf | 1.69 MB | Adobe PDF | View/Open Request a copy |
Items in CMUIR are protected by copyright, with all rights reserved, unless otherwise indicated.