Please use this identifier to cite or link to this item: http://cmuir.cmu.ac.th/jspui/handle/6653943832/73621
Full metadata record
DC FieldValueLanguage
dc.contributor.advisorรุ้งลาวัลย์ สมสุนันท์-
dc.contributor.authorนิตยา จิตประสงค์en_US
dc.date.accessioned2022-07-11T10:51:23Z-
dc.date.available2022-07-11T10:51:23Z-
dc.date.issued2020-12-
dc.identifier.urihttp://cmuir.cmu.ac.th/jspui/handle/6653943832/73621-
dc.description.abstractAn ideal wound dressing should produce a suitably moist environment for healing of wound, absorb the surplus exudation, allow a gaseous swapping and easily to unwrap them without trauma. In addition, it has to be antimicrobial, nontoxic and biocompatible. One of the most interesting candidates used for wound dressing is a hydrogel. The objective of this research is to synthesize characterize hydrogel for use as wound dressing based on poly(N-isopropylacrylamide) (NIPAm), Nsuccinyl chitosan (NSC) and poly(vinyl alcohol) (PVA). Initially, chitosan was modified to NSC at the N-terminal of the glucosamine units and it was confirmed the success of the modification by Fourier transform infrared spectroscopy. NSC was then copolymerized with NIPAm and PVA in an aqueous solution at various w/w NSC:NIPAm ratio of 1:2:8, 1:4:8 and 1:6:8 using glutaraldehyde as a crosslinking agent. The hydrogels were synthesized via free radical copolymerization and characterization was carried out with Fourier transform infrared spectroscopy in transmission mode, differential scanning calorimetry, gel fraction, swelling ratio (SR), equilibrium water content (%EWC), water vapor transmission rate (%WVTR) and %water retention (%WR). Their morphology was investigated by scanning electron microscopy. The mechanical properties of the synthesized hydrogels were evaluated by tensile test. The results show that suitable gel properties and mechanical properties were obtained in the NSC:NIPAm ratio of 1:4 sample with the tensile stress (0.596 ± 0.015 MPa), Young’s modulus (0.042 ± 0.001 MPa), %EWC (92.56 ± 0.71%), %WVTR (78.87 ± 4.63%), SR (12.96 ± 1.34) and %WR (7.27 ± 0.82%), respectively. The images of scanning electron microscopy showed that the morphology of the hydrogels was porous. From tensile testing results, it clearly indicated that NIPAm can enhance the mechanical property of the hydrogel. From the above results, it can be concluded that the synthesized hydrogels in this research show the performance that close to the requirements of an ideal wound dressing.en_US
dc.language.isootheren_US
dc.publisherเชียงใหม่ : บัณฑิตวิทยาลัย มหาวิทยาลัยเชียงใหม่en_US
dc.titleการเตรียม การหาลักษณะเฉพาะ และการทดสอบสมบัติของไฮโดรเจล เอ็น-ซักซินิลไคโตซาน-กราฟต์- พอลิ(เอ็น-ไอโซพรอพิลอะคริลาไมด์)/พอลิ(ไวนิลแอลกอฮอล์) สำหรับใช้เป็นวัสดุปิดแผลen_US
dc.title.alternativePreparation, characterization and property testing of N-Succinyl chitosan-g-poly (N-isopropylacrylamide)/ poly(vinyl alcohol) Hydrogels for Use as wound dressingsen_US
dc.typeThesis
thailis.controlvocab.thashโพลิไวนิลแอลกอฮอล์-
thailis.controlvocab.thashไคโตแซน-
thailis.controlvocab.thashเคมี-
thesis.degreemasteren_US
thesis.description.thaiAbstractวัสดุปิดแผลในอุดมคติควรสร้างสภาพแวดล้อมที่มีความชื้นอย่างเหมาะสมสำหรับการรักษาบาดแผล ดูดซับสารคัดหลั่งส่วนเกิน มีการถ่ายเทก๊าซออกซิเจนบริเวณที่เกิดแผลและดึงออกได้ง่ายโดยไม่ รบกวนบาดแผล นอกจากนี้ยังสามารถต้านแบคทีเรีย ไม่เป็นพิษและเข้ากันได้ทางชีวภาพ ไฮโดรเจล เป็นหนึ่งในตัวเลือกที่น่าสนใจสำหรับวัสดุปิดแผล งานวิจัยนี้มีวัตถุประสงค์ในการสังเคราะห์ ไฮโดรเจลสำหรับวัสดุปิดแผลโดยใช้พอลิ(เอ็น-ไอโซพรอพลิอะคริลาไมด์) เอ็น-ซักซินิลไคโตซาน และพอลิ(ไวนิลแอลกอฮอล์) ในขั้นตอนแรกไคโตซานถูกดัดแปลงเป็น เอ็น-ซักซินิลไคโตซาน ที่ ตำแหน่งเอ็นของหน่วยกลูโคซามีนและยืนยันการเปลี่ยนโครงสร้างโดยเทคนิคฟูเรียร์ทรานส์ฟอร์ม อินฟราเรดสเปกโทรสโกปี แล้วทำการสังเคราะห์ไฮโดรเจลจากเอ็น-ซักซินิลไคโตซาน พอลิเมอไรซ์ กับ พอลิ(เอ็น-ไอโซพรอพลิอะคริลาไมด์) และ พอลิ(ไวนิลแอลกอฮอล์) โดยมีน้ำเป็นตัวกลางที่ สัดส่วนน้ำหนักต่อน้ำหนักของเอ็น-ซักซินิลไคโตซานต่อพอลิ(เอ็น-ไอโซพรอพลิอะคริลาไมด์) ที่ 1:2:8, 1:4:8 และ 1:6:8 และมีกลูตาราลดีไฮด์ เป็นสารเชื่อมขวาง ไฮโดรเจลถูกสังเคราะห์ขึ้นผ่าน ปฏิกิริยาฟรีแรดิคอลโคพอลิเมอไรเซชันและวิเคราะห์ลักษณะเฉพาะโดยใช้เทคนิคฟูเรียร์ทรานส์ ฟอร์มอินฟราเรดสเปกโทรสโกปี แบบการส่องผ่าน การเปลี่ยนแปลงทางความร้อนด้วย เครื่องดิฟเฟอ- เรนเชียลสแกนนิงแคลอริมิเตอร์ ปริมาณเจลที่สังเคราะห์ได้ สัดส่วนการพองตัว ปริมาณน้ำอัตราการ ส่งผ่านไอน้ำและปริมาณน้ำคงอยู่ ตรวจสอบสัณฐานวิทยาโดยกลอ้ งจุลทรรศน์อิเล็กตรอนแบบส่อง กราด วิเคราะห์สมบัติเชิงกลของไฮโดรเจลที่สังเคราะห์ได้โดยการทดสอบแรงดึง จากผลการศึกษา แสดงให้เห็นว่า ที่สัดส่วน 1:4:8 ของ เอ็น-ซักซินิลไคโตซาน-กราฟต์-พอลิ(เอ็น-ไอโซพรอพิล- อะคริลาไมด์)/พอลิ(ไวนิลแอลกอฮอล์) มีสมบัติความเป็นเจลและสมบัติเชิงกลที่ดีที่สุด โดยมีค่าความ เค้น เท่ากับ 0.596±0.015 เมกะปาสคาล โมดูลัส ของยัง 0.042±0.001 เมกะปาสคาล ปริมาณน้ำที่สมดุล ร้อยละ 92.56±0.71 อัตราการส่งผ่านไอน้ำร้อยละ 78.87±4.63 สัดส่วนการพองตัว 12.96±1.34 และ ปริมาณน้ำคงอยู่ ร้อยละ 7.27±0.82 ภาพจากเทคนิคสแกนนิง อิเลก็ ตรอน ไมโครสโกปี แสดงให้เห็นว่า สัณฐานวิทยาของไฮโดรเจลมีรูพรุน ผลการทดสอบแรงดึงชี้ให้เห็นอย่างชัดเจนว่า พอลิ(เอ็น-ไอโซ พรอพลิอะคริลาไมด์) สามารถปรับปรุงสมบัติเชิงกลของไฮโดรเจลได้ จากผลการวิจัยข้างต้นสรุปได้ ว่าไฮโดรเจลที่สังเคราะห์ได้ในงานวิจัยนี้ แสดงให้เห็นว่า มีประสิทธิภาพที่ดีและมีสมบัติที่ใกล้เคียง กับสมบัติของวัสดุปิดแผลในอุดมคติen_US
Appears in Collections:SCIENCE: Theses

Files in This Item:
File Description SizeFormat 
610531110 นิตยา จิตประสงค์.pdf7.64 MBAdobe PDFView/Open    Request a copy


Items in CMUIR are protected by copyright, with all rights reserved, unless otherwise indicated.