Please use this identifier to cite or link to this item: http://cmuir.cmu.ac.th/jspui/handle/6653943832/72134
Full metadata record
DC FieldValueLanguage
dc.contributor.advisorSorawat Thongsahuan-
dc.contributor.advisorAtiporn Saeung-
dc.contributor.advisorBenjawan Pitasawat-
dc.contributor.advisorAnuluck Junkum-
dc.contributor.advisorWichai Srisuka-
dc.contributor.authorKittipat Aupaleeen_US
dc.date.accessioned2021-09-10T02:37:34Z-
dc.date.available2021-09-10T02:37:34Z-
dc.date.issued2020-10-
dc.identifier.urihttp://cmuir.cmu.ac.th/jspui/handle/6653943832/72134-
dc.description.abstractBlack flies (Diptera: Simuliidae) are small blood-sucking insects of medical, veterinary and ecological importance. Some species are known to be vectors of the filarial parasite, Onchocerca volvulus, which is responsible for human diseases such as onchocerciasis or river blindness. The bites of infected female black flies with the filarial worm of animal origin also can cause a rare disease, i.e., human zoonotic onchocerciasis. Up until now, at least 38 human cases of zoonotic onchocerciasis have been reported throughout the world. In Thailand, at least 134 black fly species belonging to the six subgenera in the genus Simulium Latreille s.l., have been recorded so far. Although no human onchocerciasis or zoonotic onchocerciasis has been reported in Thailand, three anthropophilic black fly species, including S. nodosum, S. asakoae s.l. and S. nigrogilvum, were incriminated as the natural vectors of three different types of filarial worms in Chiang Mai province, northern Thailand. However, previous studies on natural filarial infections in black flies in Chiang Mai province were based solely on morphological characteristic analysis of the recovered larvae, from which molecular analysis has never been used to clarify species status. Therefore, this study explored the filarial infections in adult female black flies collected in Chiang Mai province, northern Thailand, and clarified the species status of the recovered filarial parasites and their black fly vectors by using the combined method of morpho-taxonomic and molecular analyses [mitochondrial cox1 and 12S rRNA, and nuclear 18S rRNA (SSU HVR-I)]. Female black flies were collected from two study sites (Ban Lek and Ban Pang Dang) in Chiang Mai province from March 2018 to January 2019 using humans and swine as baits. At Ban Lek, a total of 805 adult female black flies belonging to seven taxa were captured, and four of 309 adult female S. nigrogilvum were positive for Onchocerca sp. type I in the hot and rainy seasons. At Ban Pang Dang, a total of 4,597 adult female flies belonging to nine taxa were collected. Among them, five unknown filarial larvae (possibly new species) were detected in Simulium sp. in the S. varicorne species-group and three species (S. asakoae, S. myanmarense and S. monglaense/S. nanthaburiense) in the S. asakoae species-group in all seasons. Furthermore, three non-filarial larvae of three different taxa also were found in three females (S. asakoae, S. monglaense/S. nanthaburiense and S. pitasawatae) of the S. asakoae species-group. The results obtained in this study provided a new body of knowledge for a better understanding of zoonotic filarial parasites and black fly vectors in Thailand, especially in Chiang Mai province. The Simulium striatum species-group is one of 33 species-groups of the subgenus Simulium (Simulium) in the Oriental region and includes 31 named, and one unnamed species. In Thailand, five species, namely S. chiangmaiense, S. nakhonense, S. quinquestriatum, S. thailandicum and S. phraense have been documented. A few previous studies attempted to differentiate members of this species-group molecularly. DNA barcoding using cox1 gene failed to separate S. chiangmaiense, S. nakhonense and S. quinquestriatum, and the nuclear elongation complex protein 1 (ECP1) gene also could not separate S. chiangmaiense and S. nakhonense. Subsequently, the big zinc finger (BZF) gene could differentiate S. phraense, S. chiangmaiense and S. nakhonense clearly. When focusing on S. quinquestriatum, preliminary phylogenetic analysis, based on cox1 sequences, suggested that the morphologically named S. quinquestriatum may consist of at least two species. Thus, in order to clarify whether S. quinquestriatum from various locations in Thailand represents only one single species or species complex, this black fly species was reexamined morphologically. In addition, the phylogenetic relationships of S. quinquestriatum were elucidated by molecular analysis using the mitochondrial (cox2) and nuclear (BZF) genes. Adults reared from pupae were re-examined, with pupal exuviae and cocoons of morphologically identified S. quinquestriatum collected from 16 locations in 10 provinces of Thailand. Three new species, namely S. wangkwaiense Takaoka, Srisuka & Saeung, sp. nov.; S. tadtonense Takaoka, Srisuka & Saeung, sp. nov.; and S. maeklongkeense Takaoka, Srisuka & Saeung, sp. nov., were discovered and morphologically identified, one of which being known formerly as S. quinquestriatum. Phylogenetic analyses, based on BZF gene sequences, could separate all six Thai members (except for S. thailandicum) of the S. striatum species-group clearly from one another. Furthermore, two possibly new species were found based on molecular analyses. However, more specimens in all stages need to be re-examined in order to describe possible new species. The results obtained from this study further supported the effectiveness of the BZF gene, which is not only useful in differentiating members of the S. striatum species-group, but also revealing more cryptic or new species in this species group.en_US
dc.language.isoen_USen_US
dc.publisherเชียงใหม่ : บัณฑิตวิทยาลัย มหาวิทยาลัยเชียงใหม่en_US
dc.titleRevision of simulium quinquestriatum (diptera: simuliidae) in thailand and the study of filarial infections of black fly vectors in Chiang Mai Province, Northern Thailanden_US
dc.title.alternativeการศึกษาทบทวนแมลงริ้นดำชนิด Simulium quinquestriatum (Diptera: Simuliidae) ในประเทศไทย และการศึกษาการติดเชื้อหนอนพยาธิฟิลาเรียของแมลงริ้นดำพาหะในจังหวัดเชียงใหม่ ภาคเหนือของประเทศไทยen_US
dc.typeThesis
thailis.classification.ddc595.772-
thailis.controlvocab.thashBlack Flies -- Chiang Mai-
thailis.controlvocab.thashBlack Flies -- Diseases-
thailis.controlvocab.thashHelminths-
thailis.controlvocab.thashHelminthiasis-
thailis.manuscript.callnumberTh/N 595.772 K62R 2020-
thesis.degreedoctoralen_US
thesis.description.thaiAbstractแมลงริ้นดำ (Diptera: Simuliidae) เป็นแมลงกัดกินเลือดขนาดเล็ก ที่มีความสำคัญทางการแพทย์ สัตวแพทย์ และนิเวศวิทยา แมลงริ้นดำบางสปี ชีส์เป็นที่รู้กันดีว่าเป็นพาหะของหนอนพยาธิฟิลาเรีย Onchocerca volvulus ซึ่งเป็นสาเหตุของการเกิดโรคในมนุษย์ที่เรียกว่าโรคออนโคเซอร์ซิเอซิสหรือ โรคตาบอดแถบแม่นํ้า (onchocerciasis หรือ river blindness) การกัดของแมลงริ้นดำที่ติดเชื้อ หนอนพยาธิฟิลาเรียจากสัตว์สามารถก่อให้เกิดโรค zoonotic onchocerciasis ได้เช่นกัน จนถึงปัจจุบัน มีรายงานผู้ป่วยโรค zoonotic onchocerciasis จากทั่วโลกอย่างน้อย 38 ราย ในประเทศไทย มีรายงาน การค้นพบแมลงริ้นดำอย่างน้อย 134 สปีชีส์ ใน 6 สกุลย่อยของสกุล Simulium Latreille s.l. ถึงแม้ว่า ปัจจุบัน ยังไม่มีรายงานโรคออนโคเซอร์ซิเอซิสและโรค zoonotic onchocerciasis ในประเทศไทย แต่ มีรายงานเกี่ยวกับการเป็นพาหะตามธรรมชาติของหนอนพยาธิฟิลาเรียในแมลงริ้นดำที่ชอบกัดกิน เลือดคนในจังหวัดเชียงใหม่ ภาคเหนือของประเทศไทย จำนวน 3 สปี ชีส์ ได้แก่ S. nodosum, S. asakoae s.l. และ S. nigrogilvum อย่างไรก็ตาม การศึกษาการติดเชื้อหนอนพยาธิฟิลาเรียก่อนหน้านี้ อาศัยเพียงการวิเคราะห์ลักษณะทางสัณฐานวิทยาของหนอนพยาธิเท่านั้น ยังไม่เคยมีการวิเคราะห์ใน ระดับโมเลกุลของหนอนพยาธิที่ค้นพบเหล่านั้น ดังนั้นเพื่อจำแนกสปีชีส์ให้ชัดเจน การศึกษานี้ได้ ตรวจหาการติดเชื้อหนอนพยาธิฟิลาเรียในแมลงริ้นดำเพศเมียที่เก็บในพื้นที่จังหวัดเชียงใหม่ ภาคเหนือของประเทศไทย และจำแนกสปีชีส์ของหนอนพยาธิฟิลาเรียที่พบและแมลงริ้นดำที่เป็น พาหะ โดยการศึกษาวิเคราะห์ลักษณะทางด้านสัณฐานวิทยาร่วมกับการวิเคราะห์ในระดับโมเลกุล [ยีน ไมโทคอนเดรีย (cox1 และ 12S rRNA) และยีนนิวเคลียส 18S rRNA (SSU HVR-I)] แมลงริ้นดำเพศเมียถูกเก็บจากพื้นที่ศึกษาสองแห่ง (บ้านเล็กและบ้านปางแดง) ในจังหวัด เชียงใหม่ ตั้งแต่เดือนมีนาคม พ.ศ. 2561 ถึง เดือนมกราคม พ.ศ. 2562 โดยใช้มนุษย์และสุกรเป็นเหยื่อล่อ ในพื้นที่ศึกษาบ้านเล็ก จับแมลงริ้นดำตัวเต็มวัยเพศเมียได้ทั้งหมดจำนวน 805 ตัว ซึ่งจำแนกได้เป็น 8 สปีชีส์ และพบว่าแมลงริ้นดำตัวเต็มวัย S. nigrogilvum จำนวน 4 ตัวจาก 309 ตัวที่จับในฤดูร้อนและ ฤดูฝน ตรวจพบหนอนพยาธิฟิลาเรีย Onchocerca sp. type I ส่วนในพื้นที่ศึกษาบ้านปางแดง จับแมลง ริ้นดำตัวเต็มวัยเพศเมียได้ทั้งสิ้นจำนวน 4,567 ตัว จัดจำแนกได้เป็น 9 สปีชีส์ ในบรรดาแมลงริ้นดำ เหล่านี้ ตรวจพบหนอนพยาธิฟิลาเรียไม่ทราบสปีชีส์จำนวน 5 ตัว (ซึ่งน่าจะเป็นสปีชีส์ใหม่) ในแมลง ริ้นดำจำนวนหนึ่งสปีชีส์ที่เป็นสมาชิกในกลุ่ม S. varicorne species-group และในแมลงริ้นดำจำนวน สามสปี ชีส์ (S. asakoae, S. myanmarense และ S. monglaense/S. nanthaburiense) ที่เป็นสมาชิกใน กลุ่ม S. asakoae species-group ที่จับในทุกฤดูกาล นอกจากนี้ ยังตรวจพบหนอนพยาธิตัวกลมซึ่งไม่ได้ อยู่ในกลุ่มหนอนพยาธิฟิลาเรียจำนวนสามสปีชีส์ในแมลงริ้นดำเพศเมียจำนวนสามตัว (S. asakoae, S. monglaense/S. nanthaburiense และ S. pitasawatae) ที่เป็นสมาชิกในกลุ่ม S. asakoae species-group ผลที่ได้จากการศึกษานี้ ให้องค์ความรู้ใหม่ ซึ่งทำให้เข้าใจมากยิ่งขึ้นเกี่ยวกับหนอนพยาธิฟิลาเรียจาก สัตว์และแมลงริ้นดำพาหะในประเทศไทย โดยเฉพาะอย่างยิ่งในพื้นที่จังหวัดเชียงใหม่ แมลงริ้นดำในกลุ่ม Simulium striatum species-group เป็นหนึ่งในจำนวน 33 กลุ่มของแมลงริ้น ดำในสกุลย่อย Simulium (Simulium) ในเขตโอเรียนทอล ประกอบด้วยสมาชิกจำนวน 31 สปี ชีส์ที่ ได้รับการตั้งชื่อแล้ว และอีก 1 สปีชีส์ที่ยังไม่ได้รับการตั้งชื่อในประเทศไทย มีรายงานการค้นพบ แมลงริ้นดำกลุ่มนี้จำนวน 5 สปีชีส์ ได้แก่ S. chiangmaiense, S. nakhonense, S. uinuestriatum, S. thailandicum และ S. phraense การศึกษาก่อนหน้านี้หลายการศึกษาพยายามแยกสมาชิกของแมลงริ้น ดำกลุ่มนี้ออกจากกันด้วยวิธีการในระดบั โมเลกุล พบว่าเคร่ืองหมายดีเอน็ เอแบบบาร์โคด้ โดยใชย้ นี cox1 นั้ นไม่สามารถใช้ในการแยกแมลงริ้ นดำ S. chiangmaiense, S. nakhonense และ S. uinuestriatum ออกจากกันได้ รวมทั้งยีนนิวเคลียส elongation complex protein 1 (ECP1) ก็ไม่สามารถแยกแมลงริ้นดำ S. chiangmaiense และ S. nakhonense ออกจากกันได้เช่นกัน ต่อมาพบว่ายีน big zinc finger (BZF) สามารถแยกแมลงริ้นดำ S. phraense, S. chiangmaiense และ S. nakhonense ออกจากกันได้อย่างชัดเจน สำหรับแมลงริ้นดำ S. uinuestriatum นั้น ผลการวิเคราะห์วงศ์วาน วิวัฒนาการเบื้องต้นโดยอาศัยลำดับเบสของยีน cox1 ชี้ให้เห็นว่าแมลงริ้นดำที่เคยถูกเรียกกันตาม ลักษณะสัณฐานวิทยาก่อนหน้านี้ว่า S. uinuestriatum อาจจะประกอบด้วยสองสปี ชีส์เป็นอย่างน้อย ดังนั้นเพื่อที่จะทำให้เกิดความกระจ่างชัดว่าแมลงริ้นดำ S. uinuestriatum จากพื้นที่ต่าง ๆ ในประเทศ ไทยมีเพียงหนึ่งสปีชีส์หรือเป็นกลุ่มสปีชีส์ซับซ้อน แมลงริ้นดำสปีชีส์นี้จะได้รับการตรวจสอบ ลักษณะทางสัณฐานวิทยาใหม่อีกครั้ง นอกจากนี้เพื่อที่จะต้องการทราบอย่างกระจ่างชัด ถึง ความสัมพันธ์ทางวงศ์วานวิวัฒนาการของแมลงริ้นดำ S. uinuestriatum แมลงริ้นดำสปี ชีส์นี้จึง ได้รับการวิเคราะห์ในระดับโมเลกลุ โดยใช้ยีน ไมโทคอนเดรีย (cox2) และยีนนิวเคลียส (BZF) แมลงริ้นดำตัวเต็มวัยที่เลี้ยงจากระยะดักแด้ พร้อมทั้งคราบและรังดักแด้ของแมลงริ้นดำที่ได้รับ การจำแนกสปีชีส์โดยใช้ลักษณะทางสัณฐานวิทยาว่าเป็น S. uinuestriatum ซึ่งเก็บมาจาก 16 พื้นที่ ใน 10 จังหวัดของประเทศไทย ถูกตรวจสอบใหม่อีกครั้ง ผลจากการศึกษาพบแมลงริ้นดำสปีชีส์ใหม่ จำนวน 3 สปีชีส์ ได้แก่ S. wangkwaiense Takaoka, Srisuka & Saeung, sp. nov., S. tadtonense Takaoka, Srisuka & Saeung, sp. nov. และ S. maeklongkeense Takaoka, Srisuka & Saeung, sp. nov. ซึ่งจำแนก โดยใช้ลักษณะทางสัณฐานวิทยา โดยหนึ่งในแมลงริ้นดำสปีชีส์ใหม่นี้ แต่เดิมเคยถูกเรียกชื่อว่าเป็น S. uinuestriatum ผลการวิเคราะห์วงศ์วานวิวัฒนาการโดยอาศัยลำดับเบสของยีน BZF สามารถแยก แมลงริ้นดำทั้ง 6 สปีชีส์ (ยกเว้น S. thailandicum) ที่เป็นสมาชิกในกลุ่ม S. striatum species-group ใน ประเทศไทยออกจากกันได้อย่างชัดเจนยิ่ง ไปกว่านั้น ผลจากการวิเคราะห์ในระดับโมเลกุล ได้ค้นพบ แมลงริ้นดำที่คาดว่าน่าจะเป็นสปีชีส์ใหม่อีกสองสปีชีส์ อย่างไรก็ตาม เพื่อที่จะสรุปว่าแมลงริ้นดำ ดังกล่าวเป็นสปีชีส์ใหม่ จะต้องทำการศึกษาลักษณะทางสัณฐานของตัวอย่างแมลงริ้นดำทุกระยะ เพิ่มเติมอย่างละเอียด ผลที่ได้จากการศึกษานี้ สนับสนุนประสิทธิภาพของยีน BZF ที่นอกจากจะเป็น ประโยชน์ในการจำแนกสมาชิกของแมลงริ้นดำในกลุ่ม S. striatum species-group แต่ยีนนี้ยังสามารถ เผยให้เห็นถึงสปีชีส์ซ่อนเร้นหรือสปีชีส์ใหม่ที่เพิ่มขึ้นในแมลงริ้นดำกลุ่มนี้en_US
Appears in Collections:MED: Theses

Files in This Item:
File Description SizeFormat 
580751016 กิตติภัทร อุปาลี.pdf10.09 MBAdobe PDFView/Open    Request a copy


Items in CMUIR are protected by copyright, with all rights reserved, unless otherwise indicated.