Please use this identifier to cite or link to this item: http://cmuir.cmu.ac.th/jspui/handle/6653943832/72124
Full metadata record
DC FieldValueLanguage
dc.contributor.advisorเกียรติสุดา ศรีสุข-
dc.contributor.authorขวัญนิดา บรรดิษฐภักดิ์en_US
dc.date.accessioned2021-05-12T02:38:01Z-
dc.date.available2021-05-12T02:38:01Z-
dc.date.issued2020-10-
dc.identifier.urihttp://cmuir.cmu.ac.th/jspui/handle/6653943832/72124-
dc.description.abstractThis research aims to analyze the composition and indicators of the life and work skills of junior high school students. And to study factors and create predictive equations that affect life skills and work of lower secondary school students. The sample group used in the research was students who were studying in lower secondary school level of schools under the office of basic education service area ministry of education, northern region, academic year 2018, of 400 people, by multistage random sampling, divided by the size of small, medium, large school until the required number. The tools used were the life and work skills test of lower secondary school students and the factors that affected the life skills, life skills and work of the students. Is students have 38 questions with classification power. (r) Between .528 and .647 the reliability values of .924 and .872, respectively, were analyzed using basic statistical analysis. Exploratory Factor Analysis (EFA) for Objective 1, and Stepwise Multiple Regression Analysis for Objective 2. Results of the study showed that 1. Life and work skills of lower secondary school students consist of 3 components, 20 indicators, including interpersonal and work components consisting of 8 indicators with the weight of elements between .503 and .745 elements In terms of personal ability, there are 5 indicators which have an element weight between .578 and .758 and the ability to think consists of 6 indicators which have an element weight between .514 and .682 which both 3 components together explain the life and work skills indicators of junior high school students at 44.60% 2. Variable factors affecting the life and work skills of lower secondary school students each has a positive relationship with life skills. With statistical significance at the level of .01 with achievement motivation the most correlated with life skills which is equal to. 720, followed by attitude towards learning, teacher quality, work ability and adaptation. Media influence family duties, raising family relationships self-confidence classroom environment with the correlation coefficient equal to .631 .603 .573 .525 .493 .468 .442 .426 and .366 respectively, and the internal correlation coefficient between factor variables w .282 and. The 668 highest internal correlation coefficient is the relationship between parenting variables and family relationships. In which the researchers used to create the situation forecasting factors affecting life and work skills of lower secondary school students In raw scores as follows Y = .908 + .130XA2 + .158XA4 + .161XC1 + .136XB2 + .152XC3 And the prediction equation for life and work skills of lower secondary school students. In the form of a standard score as follows Z = .243ZA2 + .204ZA4 + .227ZC1 + .212ZB2 + .196ZC3en_US
dc.language.isootheren_US
dc.publisherเชียงใหม่ : บัณฑิตวิทยาลัย มหาวิทยาลัยเชียงใหม่en_US
dc.subjectทักษะชีวิตen_US
dc.subjectนักเรียนชั้นมัธยมศึกษาตอนต้นen_US
dc.subjectการทำงานen_US
dc.titleปัจจัยที่มีอิทธิพลต่อทักษะชีวิตและการทำงานของนักเรียนชั้นมัธยมศึกษาตอนต้นen_US
dc.title.alternativeFactors Affecting Life Skills and Work of Lower Secondary School Studentsen_US
dc.typeThesis
thesis.degreemasteren_US
thesis.description.thaiAbstractการวิจัยในครั้งนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อวิเคราะห์องค์ประกอบและตัวบ่งชี้ทักษะชีวิตและการทำงานของนักเรียนมัธยมศึกษาตอนต้น และเพื่อศึกษาปัจจัยและสร้างสมการพยากรณ์ที่ส่งผลต่อทักษะชีวิตและการทำงานของนักเรียนมัธยมศึกษาตอนต้น กลุ่มตัวอย่างที่ใช้ในการวิจัย คือ นักเรียนที่กำลังศึกษาอยู่ในระดับชั้นมัธยมศึกษาตอนต้น ของโรงเรียนในสังกัดสานักงานเขตพื้นที่การศึกษาขั้นพื้นฐาน กระทรวงศึกษาธิการ ภาคเหนือ ปี การศึกษา 2561 จำนวน 400 คน โดยการสุ่มหลายขั้นตอน (Multistage Random Sampling) แบ่งตามขนาดของโรงเรียน เล็ก กลาง ใหญ่ จนได้ครบจำนวนที่ต้องการ และเครื่องมือที่ใช้ คือ แบบวัดทักษะชีวิตและการทำงานของนักเรียนระดับชั้นมัธยมศึกษาตอนต้นและปัจจัยที่ส่งผลต่อทักษะชีวิตทักษะชีวิตและการทำงานของนักเรียน เป็นแบบมาตราส่วนประมาณ (Rating Scale) โดยแบบวัดทักษะชีวิตและการทำงานของนักเรียนระดับชั้นมัธยมศึกษาตอนต้น มีข้อคำถามทั้งหมด 58 ข้อ มีค่าอำนาจจำแนก ( r )ระหว่าง .394 ถึง .762 และแบบสอบถามปัจจัยที่ที่ส่งผลต่อทักษะชีวิตและการทำงานของนักเรียนระดับชั้นมัธยมศึกษาตอนต้นมีข้อคำถามทั้งหมด 38 ข้อ โดยมีค่าอำนาจจำแนก ( r )ระหว่าง .528 ถึง .647 และมีค่าความเชื่อมั่นทั้งฉบับเป็น .924 และ .872 ตามลำดับ การวิเคราะห์ข้อมูลใช้การวิเคราะห์สถิติพื้นฐาน การวิเคราะห์องค์ประกอบเชิงสารวจ (Exploratory Factor Analysis : EFA) สาหรับตอบวัตถุประสงค์ ข้อที่ 1 และวิเคราะห์การถดถอยพหุคูณ (Stepwise Multiple Regression Analysis) สาหรับตอบวัตถุประสงค์ ข้อที่ 2 ผลการศึกษาพบว่า 1. ทักษะชีวิตและการทำงานของนักเรียนมัธยมศึกษาตอนต้น ประกอบไปด้วย 3 องค์ประกอบ 20 ตัวบ่งชี้ ได้แก่ องค์ประกอบด้านความสัมพันธ์ระหว่างบุคคลและการทำงานประกอบไปด้วย 8 ตัวบ่งชี้ ซึ่งมีน้ำหนักองค์ประกอบอยู่ระหว่าง .503 ถึง .745 องค์ประกอบด้านความสามารถส่วนบุคคลประกอบไปด้วย 5 ตัวบ่งชี้ ซึ่งมีน้ำหนักองค์ประกอบอยู่ระหว่าง .578 ถึง.758 และองค์ประกอบความสามารถในการคิด ประกอบไปด้วย 6 ตัวบ่งชี้ ซึ่งมีน้ำหนักองค์ประกอบอยู่ระหว่าง .514 ถึง .682 ซึ่งทั้ง 3 องค์ประกอบร่วมกันอธิบายตัวบ่งชี้ทักษะชีวิตและการทำงานของนักเรียนมัธยมศึกษาตอนต้น ได้ร้อยละ 44.60 2. ตัวแปรปัจจัยที่ส่งผลต่อทักษะชีวิตและการทำงานของนักเรียนมัธยมศึกษาตอนต้น แต่ละตัวมีความสัมพันธ์ทางบวกกับทักษะชีวิต อย่างมีนัยสาคัญทางสถิติที่ระดับ .01 โดยที่ แรงจูงใจใฝ่สัมฤทธ์ มีความสัมพันธ์กับทักษะชีวิตมากที่สุดซึ่งมีค่าเท่ากับ .720 รองลงมาคือ เจตคติต่อการเรียนคุณภาพครู ความสามารถในการทำงานและการปรับตัว อิทธิพลของสื่อ หน้าที่การงานของครอบครัวการเลี้ยงดู ความสัมพันธ์ในครอบครัว ความเชื่อมั่นในตนเอง สภาพแวดล้อมในห้องเรียน โดยมีค่าสัมประสิทธิ์สหสัมพันธ์เท่ากับ .631 .603 .573 .525 .493 .468 .442 .426 และ .366 ตามลำดับ และค่าสัมประสิทธ์ิสหสัมพันธ์ภายในระหว่างตัวแปรปัจจัย โดยมีค่าสัมประสิทธิ์สหสัมพันธ์อยู่ระหว่าง .282 ถึง .668 ซึ่งค่าสัมประสิทธิ์สหสัมพันธ์ภายในสูงที่สุดนั้นเป็นความสัมพันธ์ระหว่างตัวแปรการเลี้ยงดูกับความสัมพันธ์ในครอบครัว โดยผู้วิจัยได้นำมาสร้างสมการณ์ พยากรณ์ปัจจัยที่ส่งผลต่อทักษะชีวิตและการทำงานของนักเรียนมัธยมศึกษาตอนต้น ในรูปคะแนนดิบ ดังนี้ Y = .908 + .130XA2 + .158XA4 + .161XC1 + .136XB2 + .152XC3 และสมการพยากรณ์ทักษะชีวิตและการทำงานของนักเรียนมัธยมศึกษาตอนต้น ในรูปคะแนนมาตรฐาน ดังนี้ Z = .243ZA2 + .204ZA4 + .227ZC1 + .212ZB2 + .196ZC3en_US
Appears in Collections:EDU: Theses



Items in CMUIR are protected by copyright, with all rights reserved, unless otherwise indicated.