Please use this identifier to cite or link to this item: http://cmuir.cmu.ac.th/jspui/handle/6653943832/72122
Full metadata record
DC FieldValueLanguage
dc.contributor.advisorYongyouth Yaboonthong-
dc.contributor.advisorChoocheep Puthaprasert-
dc.contributor.advisorPhetcharee Rupavijetra-
dc.contributor.authorPhongthun Na Chiangmaien_US
dc.date.accessioned2021-05-12T02:28:19Z-
dc.date.available2021-05-12T02:28:19Z-
dc.date.issued2020-10-
dc.identifier.urihttp://cmuir.cmu.ac.th/jspui/handle/6653943832/72122-
dc.description.abstractThe research objectives were 1) to study a condition, problems and factors supporting the administration of civil state school, 2) to create and develop a model and a handbook of administration for civil state school in order to improve the quality of education, and 3) to study a result of implementation of model and handbook of administration for civil state school. Tool and method were focus group, workshop, questionnaire, a workshop record form, a checking form on draft of model and handbook, a checking form of suitability and feasibility, an evaluation form of implementation of model and handbook, and satisfaction assessment on implementation of model, reflection of utilization, data analysis by statistic, frequency, percentage, mean, standard deviation, and content analysis. The result found that the condition of administration of civil state school had an operation/real at high level. Problems of administration of civil state school was at medium level. The most found of problems were learners, curriculum, teachers, and participation. The supporting factors found that overall were at high level from high to low mean score were administration, learning material, budget, and personal.Administration model of civil state school to improve the quality of education created had 6 components consisted of 1) principle 2) objective 3) system and mechanism 4) operational method, PDCA 5) guidelines of evaluation on model and 6) success condition of model. Handbook of administration of civil state school created had 3 parts consisting of part 1 introduction, part 2 fundamental knowledge of administration of civil state school, and part 3 administration model of civil state school to improve the quality of education. The results of evaluation on suitability, feasibility and correctness of model and handbook were at high level. The result of implementation of administration model of civil state school to improve the quality of education following cycle of quality: PDCA and key performance indicator (KPI) in 5 strategies in overall were at highest level and the result of satisfaction on model and handbook of administration of civil state school overall were at highest level. The result of reflection found that model and handbook were useful to administrate the civil state school for efficiency and effectiveness. The administrator had knowledge and understanding about administrative theory, policy of administration of civil state school, teacher and educational personal, committee of basic educational school, parents, community, and network members understood the policy of administration of civil state school and participated in development school with full potential under their roles. The administrator implemented the administration model and handbook for civil state school to be more efficiency and effectiveness.en_US
dc.language.isoen_USen_US
dc.publisherเชียงใหม่ : บัณฑิตวิทยาลัย มหาวิทยาลัยเชียงใหม่en_US
dc.subjectAdministration Modelen_US
dc.subjectCivil State Schoolsen_US
dc.subjectEducationen_US
dc.titleAdministration Model of Civil State Schools to Improve the Quality of Educationen_US
dc.title.alternativeรูปแบบการบริหารโรงเรียนประชารัฐเพื่อยกระดับคุณภาพการศึกษาen_US
dc.typeThesis
thesis.degreedoctoralen_US
thesis.description.thaiAbstractงานวิจัยนี้มีวัตถุประสงค์ 1) เพื่อศึกษาสภาพ ปัญหา และปัจจัยที่สนับสนุนการบริหารโรงเรียนประชารัฐ 2) เพื่อสร้าง และพัฒนารูปแบบและคู่มือการบริหารโรงเรียนประชารัฐเพื่อยกระดับคุณภาพการศึกษา 3) เพื่อศึกษาผลการใช้รูปแบบและคู่มือการบริหารโรงเรียนประชารัฐเพื่อยกระดับคุณภาพการศึกษา เครื่องมือและวิธีการที่ใช้ คือ การประชุมกลุ่มย่อย (Focus Group) การประชุมเชิงปฏิบัติการ (Work Shop) แบบสอบถาม แบบบันทึกการประชุมเชิงปฏิบัติการ แบบตรวจสอบร่างรูปแบบและร่างคู่มือการใช้ และแบบตรวจสอบ ความเหมาะสม ความเป็นไปได้ แบบประเมินผลการใช้รูปแบบและคู่มือการใช้รูปแบบ และประเมินผลความพึงพอใจต่อการใช้รูปแบบ การสะท้อนความคิดเห็นด้านความมีประโยชน์ วิเคราะห์ข้อมูลโดยใช้สถิติ ความถี่ ร้อยละ ค่าเฉลี่ย ส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน และการวิเคราะห์เนื้อหา ผลการวิจัย พบว่า สภาพการบริหารโรงเรียนประชารัฐมีการปฏิบัติ/เป็นจริงอยู่ในระดับมาก ปัญหาในการบริหารโรงเรียนประชารัฐโดยรวมอยู่ระดับปานกลาง ด้านที่มีปัญหามากที่สุดคือ ด้านผู้เรียน ด้านหลักสูตร ด้านครู ด้านผู้บริหารและด้านกระบวนการมีส่วนร่วม ปัจจัยสนับสนุน พบว่า โดยรวมอยู่ในระดับมาก เรียงลาดับค่าเฉลี่ยจากมากไปหาน้อย ได้แก่ ด้านการบริหารจัดการ รองลงมาได้แก่ ด้านวัสดุ ด้านงบประมาณและด้านบุคลากร รูปแบบการบริหารโรงเรียนประชารัฐเพื่อยกระดับคุณภาพการศึกษาที่สร้างขึ้นมี 6 องค์ประกอบด้วย 1) หลักการ 2) วัตถุประสงค์ 3) ระบบและกลไก 4) วิธีดำเนินการ การบริหารตามวงจรคุณภาพ (PDCA) 5) แนวทางการประเมินรูปแบบ 6) เงื่อนไขความสำเร็จของรูปแบบ คู่มือการบริหารโรงเรียนประชารัฐ ที่สร้างขึ้น มี 3 ตอน ตอนที่ 1 บทนำ ตอนที่ 2 ความรู้พื้นฐานเกี่ยวกับการบริหารโรงเรียนประชารัฐ ตอนที่ 3 รูปแบบการบริหารงานโรงเรียนประชารัฐเพื่อยกระดับคุณภาพการศึกษา ส่วนผลการประเมิน ความเหมาะสม ความเป็นไปได้และความถูกต้องของรูปแบบและคู่มือ อยู่ในระดับมากทุกด้าน ผลการใช้รูปแบบการบริหารโรงเรียนประชารัฐยกระดับคุณภาพตามวงจรคุณภาพ PDCA และตามตัวชี้วัดความสำเร็จ (KPI) ยุทธศาสตร์ 5 ด้าน โดยรวมอยู่ในระดับ มากที่สุด และผลความ พึงพอใจต่อรูปแบบ และคู่มือการบริหารโรงเรียนประชารัฐ โดยรวมอยู่ในระดับมากที่สุด ผลการสะท้อนคิด พบว่า รูปแบบและคู่มือเป็นประโยชน์ต่อการบริหารโรงเรียนประชารัฐให้มีประสิทธิภาพและประสิทธิผล ผู้บริหารมีความรู้ความเข้าใจในหลักการทฤษฎีการบริหาร แนวนโยบายการบริหารโรงเรียนประชารัฐ ครูและบุคลากรทางการศึกษา คณะกรรมการสถานศึกษาขั้นพื้นฐาน ผู้ปกครอง ชุนชน ภาคีเครือข่าย เข้าใจแนวนโยบายการบริหารโรงเรียนประชารัฐและได้มีส่วนร่วมในการพัฒนาโรงเรียนตามบทบาทของตนอย่างเต็มศักยภาพ ผู้บริหารนำรูปแบบและคู่มือการใช้รูปแบบการบริหารโรงเรียนประชารัฐไปใช้เป็นเครื่องมือในการบริหารให้มีประสิทธิภาพและเกิดประสิทธิผลเพิ่มขึ้นen_US
Appears in Collections:EDU: Theses

Files in This Item:
File Description SizeFormat 
570252011 พงศ์ธันย์ ณ เชียงใหม่.pdf3.02 MBAdobe PDFView/Open    Request a copy


Items in CMUIR are protected by copyright, with all rights reserved, unless otherwise indicated.