Please use this identifier to cite or link to this item:
http://cmuir.cmu.ac.th/jspui/handle/6653943832/72118
Title: | การละเมิดสิทธิความเป็นส่วนตัวและสิทธิในชื่อเสียงโดยการประจานในพื้นที่ซื้อขายสินค้าออนไลน์ |
Other Titles: | The Violation of Right to Privacy and Right to Reputation by Vilification in Electronic Commerce Area |
Authors: | ณัฐณิชา คุ้มแพทย์ |
Authors: | ณัฐณิชา คุ้มแพทย์ |
Keywords: | การประจาน;ชื่อเสียง;ความเป็นส่วนตัว;ผู้บริโภค;การซื้อขายสินค้าออนไลน์;Vilification;Reputation;Privacy;Consumer;Electronic commerce |
Issue Date: | 2563 |
Publisher: | คณะนิติศาสตร์ มหาวิทยาลัยเชียงใหม่ |
Citation: | นิติสังคมศาสตร์ 13, 1 (ม.ค.-มิ.ย. 2563), 24-53 |
Abstract: | ปัจจุบันสื่อสังคมออนไลน์เข้ามามีอิทธิพลต่อมนุษย์ในหลายๆ ด้าน โดยเฉพาะด้านการพาณิชย์อิเล็กทรอนิกส์ (อี-คอมเมิร์ซ) หรือการซื้อขายสินค้าออนไลน์ เนื่องจากการทำธุรกรรมมีความสะดวกสบายมากขึ้น โดยผู้ประกอบธุรกิจไม่จำเป็นต้องเปิดร้านเป็นของตัวเอง แต่สามารถใช้สื่อสังคมออนไลน์เพื่อขายสินค้าบนพื้นที่ออนไลน์ได้ และผู้บริโภคก็สามารถเลือกซื้อสินค้าออนไลน์ได้เช่นกัน อย่างไรก็ตาม การซื้อขายสินค้าออนไลน์ส่งผลให้ผู้บริโภคและผู้ประกอบธุรกิจไม่ได้มีปฏิสัมพันธ์กันแบบตัวต่อตัว อีกทั้งธรรมเนียมปฏิบัติทั่วไปในการซื้อขายสินค้าออนไลน์ผู้บริโภคต้องเป็นฝ่ายโอนเงินให้กับผู้ประกอบธุรกิจก่อนจึงจะได้รับมอบสินค้า แนวปฏิบัติในรูปแบบเช่นนี้ย่อมก่อให้เกิดปัญหาตามมา กล่าวคือ ในกรณีที่ผู้บริโภคสั่งสินค้าแต่ไม่ได้โอนเงินไปให้ผู้ประกอบธุรกิจหรือยกเลิกการสั่งสินค้า ผู้ประกอบธุรกิจบางรายจะนำข้อความการสนทนาออนไลน์ รวมทั้งข้อมูลส่วนบุคคลบางอย่างที่อาจระบุตัวตนของผู้บริโภคได้มาประจานต่อสาธารณชนซึ่งเป็นการละเมิดสิทธิความเป็นส่วนตัว เช่น ชื่อและสกุล รูปถ่ายบุคคล ที่อยู่ อี-เมล์ หรือชื่อบัญชีสื่อสังคมออนไลน์ เป็นต้น การกระทำดังกล่าวเป็นมาตรการลงโทษผู้บริโภคโดยใช้สื่อสังคมออนไลน์เป็นเครื่องมือในการทำให้ผู้บริโภคเสียชื่อเสียง โดยผู้ประกอบธุรกิจบางรายเชื่อว่าเป็นสิ่งที่ควรกระทำในการเตือนผู้ประกอบธุรกิจรายอื่น ให้ระมัดระวังพฤติกรรมหรือหลีกเลี่ยงการขายสินค้าให้กับผู้บริโภครายนั้น ผู้เขียนได้ทำการศึกษาเกี่ยวกับมาตรการเยียวยาความเสียหายของผู้บริโภคสำหรับกรณีดังกล่าวจากกฎหมายหลายฉบับ พบว่าพระราชบัญญัติคุ้มครองข้อมูลส่วนบุคคล พ.ศ.2562 มีมาตรการที่ครอบคลุมที่สุด เนื่องจากมีกลไกการเยียวยาผู้บริโภคหลายกลไก ได้แก่ การร้องเรียนผ่านคณะกรรมการผู้เชี่ยวชาญ การเยียวยาผู้บริโภคทางแพ่ง และความรับผิดของผู้ประกอบธุรกิจ (ผู้ควบคุมข้อมูล) ทั้งทางอาญา และทางปกครอง โดยผู้บริโภคจะได้รับประโยชน์จากการไม่ต้องนำคดีขึ้นสู่ศาล ทำให้ประหยัดทั้งเวลาและค่าใช้จ่าย ทั้งนี้ หากผู้บริโภคและผู้ประกอบธุรกิจสามารถประนีประนอมได้สำเร็จตั้งแต่ขั้นตอนการไกล่เกลี่ยจากกลไกการร้องเรียนก็จะเป็นประโยชน์ต่อคู่กรณีทั้งสองฝ่ายมากที่สุด อย่างไรก็ดี ผู้เขียนเห็นว่าควรเพิ่มบทบัญญัติเกี่ยวกับการโฆษณาคำขอโทษ คำสั่งของคณะกรรมการผู้เชี่ยวชาญ หรือคำพิพากษาของศาลไว้ในพระราชบัญญัติคุ้มครองข้อมูลส่วนบุคคล พ.ศ.2562 ให้ผู้ประกอบธุรกิจปฏิบัติในช่องทางเดียวกับที่กระทำละเมิดด้วยเช่นเดียวกับบทบัญญัติในประมวลกฎหมายอาญา จะทำให้การคุ้มครองเยียวยาผู้บริโภคมีความสมบูรณ์ยิ่งขึ้นไป At present, digital media has influenced to humans in many ways, especially electronic commerce (E-commerce) due to the convenient of online transaction. Businesspersons don’t need to open their own stores but they can use social media to sell their goods. Meanwhile, consumers can use social media for shopping online without traveling. However, the relationship in this manner would be at risk in some way because the businessperson and the consumer haven’t contacted one another by face to face. Moreover a practice of E-commerce requires the consumer to firstly transfer money to the businesspersons and then the businesspersons will deliver goods to the consumers. Currently, some consumers might order the goods but have not transferred money to the businesspersons or even cancel the order; the businesspersons will active post their personal conversation and information of the consumers online, such as names and surnames, personal photographs, addresses, e-mail, including name of consumer’s social media accounts to vilify the business persons publicly. Such action becomes social punishment measure by using social media to violate privacy rights and make consumers lose their reputation. In addition the businessperson doesn’t afraid of being prosecuted under the law due to the businessperson believes that the action should be done to warn other online businesspersons to be careful about these consumers’ behavior and avoid selling goods to them. The researcher has studied the mechanism of consumers’ damage remedies for such cases from various laws. As a result, the Personal Data Protection Act B.E. 2562 has the most comprehensive measures because it has both the mechanism of complaint through the committee and consumer remedies; civil, criminal and administrative measures. In addition, consumers also do not need to bring the case to court that help the consumers save their both time and money. If consumers and businesspersons can reconcile from the process of mediation, it will be most beneficial to both parties. However, the researcher suggests that the provisions regarding the power of the court to order the offenders to publish the sentences or the apology advertising should be added in the Personal Data Protection Act B.E. 2562 for giving more complete protection, as well as the provisions in the Penal Code. |
Description: | CMU Journal of Law and Social Sciences รับพิจารณาบทความวิชาการ และบทปริทัศน์ ทั้งภาษาไทยและภาษาอังกฤษ โดยขอบเขตเนื้อหาทางวิชาการของCMU Journal of Law and Social Sciences จะครอบคลุมเนื้่อหา เกี่ยวกับกฎหมายทุกสาขา เช่น กฎหมายมหาชน กฎหมายเอกชน กฎหมายอาญา กฎหมายระหว่างประเทศ เป็นต้น ซึ่งสัมพันธ์กับความรู้ทางด้านสังคมศาสตร์ในสาขาต่างๆ |
URI: | https://so01.tci-thaijo.org/index.php/CMUJLSS/article/view/220961/164305 http://cmuir.cmu.ac.th/jspui/handle/6653943832/72118 |
ISSN: | 2672-9245 |
Appears in Collections: | CMUL: Journal Articles |
Files in This Item:
There are no files associated with this item.
Items in CMUIR are protected by copyright, with all rights reserved, unless otherwise indicated.