Please use this identifier to cite or link to this item: http://cmuir.cmu.ac.th/jspui/handle/6653943832/72115
Title: ความคิด “ปีศาจ”: นิติราษฎร์, พรรคอนาคตใหม่, กับการสร้างการเมืองแห่งความหวัง
Other Titles: The The “Specter” of Thought: Nitirat, Future Forward Party, and the Construction of the Politics of Hope
Authors: กมลวรรณ ชื่นชูใจ
Authors: กมลวรรณ ชื่นชูใจ
Keywords: การเมืองแห่งความหวัง;ความคิด “ปีศาจ”;เนติบริกร;นิติราษฎร์;ปัญญาชน;politics of hope;“specter” of thought;legal service boy;nitirat;intellectual
Issue Date: 2563
Publisher: คณะนิติศาสตร์ มหาวิทยาลัยเชียงใหม่
Citation: นิติสังคมศาสตร์ 13, 2 (ก.ค.-ธ.ค. 2563), 87-119
Abstract: บทความนี้ต้องการนำเสนอภาพการต่อสู้ทางความคิดของนักกฎหมาย 2 ฝ่าย คือ ฝ่ายชนชั้นนำอนุรักษนิยม ซึ่งสื่อมวลชนเรียกว่า “เนติบริกร” และฝ่ายประชาธิปไตยก้าวหน้าที่เรียกตนเองว่า “นิติราษฎร์” วิเคราะห์ภายใต้แนวคิดเรื่องการครองอำนาจนำ (hegemony) ของ อันโตนิโย กรัมชี ซึ่งอธิบายว่าทุกสังคมมีกลุ่มชั้นปัญญาชนโดยเฉพาะของตนเอง การครองอำนาจนำ ของสังคมหนึ่งๆ ย่อมมีปัญญาชนค้ำจุนอำนาจนั้นอยู่เสมอ ปัญญาชนจึงเป็นส่วนสำคัญของ การครองอำนาจนำ กรัมชีแบ่งปัญญาชนและสำนึกชนชั้นในการต่อสู้ทางการเมืองเป็น 2 กลุ่ม คือ Traditional Intellectual ปัญญาชนฝ่ายที่ยึดโยงกับชนชั้นนำทางการเมือง และ Organic Intellectuals ปัญญาชนที่ยึดโยงกับผลประโยชน์ของชนชั้นล่าง และแนวคิดเรื่องอำนาจ/ความรู้ของ มิเชล ฟูโกต์ ซึ่งอธิบายว่า อำนาจ (power) ไม่ใช่สถาบันหรือโครงสร้าง แต่เป็นสถานการณ์ที่สลับซับซ้อนของการต่อสู้ช่วงชิงยุทธศาสตร์ในสังคม หรือ ความหลากหลายซับซ้อนแห่งความสัมพันธ์ของพลังต่างๆ อำนาจได้สร้างความจริงในสังคม อำนาจผลิตความรู้ ความรู้และอำนาจต่างสื่อความหมายต่อกันและกันโดยตรง บทความนี้มีสมมติฐานว่า กฎหมายเป็นพื้นที่ของการต่อสู้ทางความคิดเพื่อแย่งชิงการนิยามความหมายว่าด้วยประชาธิปไตยที่เป็นการสร้างการเมืองของความหวัง โดยนำเสนอ 2 ประเด็นคือ 1. การเกิดขึ้นของนิติราษฎร์ 2. การช่วงชิงความหมายว่าด้วยประชาธิปไตย การศึกษาพบว่า 1. นิติราษฎร์เกิดขึ้นเพื่อคัดค้านการใช้กฎหมายที่ไม่ถูกต้องตามหลักนิติรัฐของคณะรัฐประหารทั้ง 2 ครั้งที่มุ่งกำจัดฝ่ายประชาธิปไตยออกไปจากพื้นที่ทางการเมือง 2. การช่วงชิงนิยามความหมายว่าด้วยประชาธิปไตย โดยยืนยันว่ารัฐธรรมนูญต้องมาจากอำนาจของประชาชนและมีสาระสำคัญเพื่อการปฏิรูปสถาบันหลักทางการเมือง คือ สถาบันกษัตริย์ สถาบันตุลาการ และกองทัพโดยให้สถาบันกษัตริย์อยู่ภายใต้รัฐธรรมนูญ, ให้สถาบันตุลาการยึดโยงกับอำนาจของประชาชน, และเพื่อป้องกันการรัฐประหาร ตามลำดับ ข้อเสนอดังกล่าวเปรียบดัง “ปีศาจ” ที่นำความเปลี่ยนแปลงมาสู่ชนชั้นนำอนุรักษนิยม และ “หลอกหลอน” พวกเขายิ่งขึ้นเมื่อพรรคอนาคตใหม่ผลักดันความคิดนี้ผ่านการเสนอร่างกฎหมาย และการแก้ไขรัฐธรรมนูญ ถึงแม้ว่าความคิดนี้จะถูกสกัดกั้นด้วยการประทุษร้ายแกนนำนิติราษฎร์ หรือใช้มาตรการทางกฎหมายในหลายรูปแบบกระทั่งนำไปสู่การยุบพรรคโดยคำวินิจฉัยของศาลรัฐธรรมนูญ แต่พวกเขาก็ไม่ยอมจำนนและก้าวพ้นความกลัวที่ครอบคลุมสังคมไทยมาอย่างยาวนาน ยังคงยืนยันบทบาททาง การเมืองทั้งระดับชาติและระดับท้องถิ่นต่อไปภายใต้ชื่อพรรคก้าวไกลและคณะก้าวหน้า ดังนั้น การขับเคลื่อนความคิดของนิติราษฎร์โดยพรรคอนาคตใหม่จึงเป็นการก่อรูปอย่างมีพลังอีกครั้งหนึ่งของฝ่ายประชาธิปไตยนับแต่เปลี่ยนแปลงการปกครองในปี พ.ศ. 2475 เป็นต้นมา This paper presents a picture of the contesting of thought between two lawyer groups: the progressive democrats, “Nitirat” group and the elitist conservative group, called by the media as “legal service boy.” The analysis utilized the hegemony concept of Antonio Gramsci, which explains that every society has its intellectual class. The hegemony of the society is always supported by the intellectuals, so the intellectuals are an important part in the hegemony. Gramsci divided the intellectuals and class consciousness in political struggle into two groups: Traditional Intellectuals who connect to the political elites, and Organic Intellectuals who connect to the interests of the lower class. Next, the power/knowledge concept of Michel Foucault, which explains that power is not institution or structure, but a complex situation of strategic contestation in society or the variety and complexity of force relations. Power creates social truth. Power produces knowledge. Knowledge and power are directly imply on one another. The hypothesis is that law is the space for the contesting of thought to seize the definition of democracy as constructing the politics of hope. The following two issues presented here are: (1) the formation of the Nitirat group, and (2) competition for the meaning of democracy. The findings are: First, the Nitirat group was formed to oppose the use of law not conforming to the legal doctrine. Second, in competing to define democracy, the Nitirat group insisted that the constitution must be derived from the power of the people and with the essence of reforming the principal political institutions: the monarch should be under the constitution, the courts must be connected to the people’s power, and the army should not be allowed to stage a coup. Such ideas in the view of the elites of the conservative are like those of “specter” “haunting” and bringing changes. When the Future Forward Party pushed the Parliament to amend the constitution, it was intercepted by assaulting Nitirat’s leaders or using various forms of legal measure against the party to dissolve it by the decision of the Constitutional Court. However, they did not surrender, but still proceed their roles in both national and local level in the name of the Move Forward Party and the Progressive Movement. Thus, the move of Nitirat’s thought by the Future Forward Party was powerfully formed again of the democrats since the great political change of 1932.
Description: CMU Journal of Law and Social Sciences รับพิจารณาบทความวิชาการ และบทปริทัศน์ ทั้งภาษาไทยและภาษาอังกฤษ โดยขอบเขตเนื้อหาทางวิชาการของCMU Journal of Law and Social Sciences จะครอบคลุมเนื้่อหา เกี่ยวกับกฎหมายทุกสาขา เช่น กฎหมายมหาชน กฎหมายเอกชน กฎหมายอาญา กฎหมายระหว่างประเทศ เป็นต้น ซึ่งสัมพันธ์กับความรู้ทางด้านสังคมศาสตร์ในสาขาต่างๆ
URI: https://so01.tci-thaijo.org/index.php/CMUJLSS/article/view/243308/165856
http://cmuir.cmu.ac.th/jspui/handle/6653943832/72115
ISSN: 2672-9245
Appears in Collections:CMUL: Journal Articles

Files in This Item:
There are no files associated with this item.


Items in CMUIR are protected by copyright, with all rights reserved, unless otherwise indicated.