Please use this identifier to cite or link to this item: http://cmuir.cmu.ac.th/jspui/handle/6653943832/72023
Title: ความถูกต้องของการรังวัดด้วยภาพถ่ายจากอากาศยานไร้คนขับสำหรับการสร้างแบบจำลองพื้นผิว บนระดับความสูงการบินที่แตกต่างกัน
Other Titles: Accuracy of UAV Based Photogrammetry for DSM Generation on Different flying Heights
Authors: มนทิรา ชนินทร์โชดึก
วิษุวัฒก์ แต้สมบัติ
Authors: มนทิรา ชนินทร์โชดึก
วิษุวัฒก์ แต้สมบัติ
Keywords: อากาศยานไร้คนขับ;ระดับความสูงแบบจำลองพื้นผิวเชิงเลข;unmanned aerial vehicle;flying height;DSM
Issue Date: 2563
Publisher: คณะวิศวกรรมศาสตร์ มหาวิทยาลัยเชียงใหม่
Citation: วารสารวิศวกรรมศาสตร์ มหาวิทยาลัยเชียงใหม่ 27, 3 (ก.ย.-ธ.ค. 2563), 1-14
Abstract: การศึกษาวิจัยนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อทดสอบความถูกต้องเชิงตำแหน่งของการรังวัด ด้วยภาพถ่ายจากอากาศยาน ไร้คนขับสำหรับการสร้างแบบจำลองพื้นผิว บนระดับความสูงการบินที่แตกต่างกันในพื้นที่ตำบลด่านมะขามเตี้ย อำเภอด่านมะขามเตี้ย จังหวัดกาญจนบุรีครอบคลุมพื้นที่ 0.8 km2 พื้นที่ศึกษาส่วนใหญ่เป็นพื้นที่เกษตรกรรม ได้ทำการเก็บข้อมูลภาพถ่าย 3 ระดับความสูงคือที่ระดับ 100, 150 และ 200 m. ด้วยอากาศยานไร้คนขับแบบ 4 ใบพัด และได้วางจุดควบคุมภาพถ่ายภาคพื้นดินก่อนการบินถ่ายภาพทางอากาศจำนวน 5 จุด และจุดตรวจสอบความถูกต้อง จำนวน 2 จุด จากนั้นทำการประมวลผลแบบจำลองพื้นผิวภูมิประเทศด้วยโปรแกรม Agisoft Photoscan เพื่อเปรียบเทียบตรวจสอบความละเอียดถูกต้องของแบบจำลองพื้นผิวภูมิประเทศ ตามมาตรฐานข้อกำหนดข้อมูลภูมิสารสนเทศพื้นฐาน (FGDS) ซึ่งพบว่า แบบจำลองพื้นผิวภูมิประเทศที่ระดับความสูง 100, 150 และ 200 m.ค่า RMSEr เท่ากับ 0.536, 0.488 และ 0.367 m. ตามลำดับ และ RMSEz เท่ากับ 0.007, 0.393 และ 0.173 m. ตามลำดับและมีระดับความเชื่อมั่น ร้อยละ 95 ทางราบเท่ากับ 0.929, 0.844 และ 0.636 m. ตามลำดับ และ ทางดิ่ง 0.014, 0.771 และ 0.339 m. ตามลำดับ จึงสรุปได้ ว่าแบบจำลองพื้นผิวที่ได้จากการรังวัดด้วยภาพถ่ายทางอากาศ ทั้ง 3 ระดับความสูง มีมาตราส่วน 1: 2,500 ตามมาตรฐานความถูกต้องของงานสำรวจภูมิประเทศและเหมาะสำหรับงานงานโยธางานออกแบบโครงสร้างงานซ่อมบำรุงการขนส่งและงานด้านทรัพยากรน้ำ This research is aimed to determine the positioning accuracy of UAV based photogrammetry for DSM generation on different flying heights in the area mainly for agriculture of Dan Makham Tia Subdistrict, Dan Makham Tia District, Karnchanaburi which occupies an area of 0.8 km2. UAV data collection was carried out at 3 flying heights namely 100, 150 and 200 m by 4-rotor UAV with 5 ground control points and 2 check points setup. After that, DSM were processed by Agisoft Photoscan software in order to compare the positioning accuracy of DSM products based on the standard test criteria for the accuracy of spatial data of FGDC, USA was later carried out. It was found that DSM at flying heights 100, 150 and 200 m, RMSEr values were 0.536, 0.488 and 0.367 m, respectively. RMSEz values were 0.007, 0.393 and 0.173 m, respectively with 95% confidence level in horizontal plane at 0.929, 0.844 and 0.636 m. and vertical plane at 0.014, 0.771 and 0.339 m, respectively.In conclusion, DSM processed at three flying heights suit united with the map scale of 1: 2,500 according to the accuracy standards of topographic surveying and were suitable for civil work structure design, maintenance, transportation and water resources.
Description: วารสารวิศวกรรมศาสตร์ มหาวิทยาลัยเชียงใหม่ (Engineering Journal Chiang Mai University) เป็นวารสารที่ตีพิมพ์บทความวิชาการในลักษณะบทความวิจัย และบทความปริทัศน์ที่มีคุณภาพสูง ทางด้านวิศวกรรมศาสตร์ วิทยาศาสตร์ และเทคโนโลยี รวมถึงสาขาอื่นที่เกี่ยวข้อง โดยมีเนื้อหาที่เป็นองค์ความรู้พื้นฐานจนกระทั่งการนำไปใช้ประโยชน์ ทั้งในแง่ทฤษฎี การวางแผน การทดลอง การออกแบบ หรือการพัฒนาอุปกรณ์และการจำลองการทำงานของระบบ หรือกระบวนการต่างๆ เป็นต้น ได้รับการยอมรับอยู่ในฐานข้อมูล Thailand Citation Index (TCI) กลุ่มที่ 2 สาขาวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี
URI: https://researchs.eng.cmu.ac.th/UserFiles/File/Journal/27_3/01.pdf
http://cmuir.cmu.ac.th/jspui/handle/6653943832/72023
ISSN: 2672-9695
Appears in Collections:CMUL: Journal Articles

Files in This Item:
There are no files associated with this item.


Items in CMUIR are protected by copyright, with all rights reserved, unless otherwise indicated.