Please use this identifier to cite or link to this item: http://cmuir.cmu.ac.th/jspui/handle/6653943832/72010
Title: ประสิทธิภาพของเชื้อราไตรโคเดอร์มาที่รวบรวมได้จากจังหวัดเชียงใหม่ ในการควบคุมเชื้อรา Sclerotium rolfsii
Other Titles: Efficacy of Trichoderma spp. Collected from Chiang Mai Province for Controlling Sclerotium rolfsii
Authors: โสภา จอมอิ่น
อังสนา อัครพิศาล
ชาตรี สิทธิกุล
ชาญณรงค์ ดวงสอาด
Authors: โสภา จอมอิ่น
อังสนา อัครพิศาล
ชาตรี สิทธิกุล
ชาญณรงค์ ดวงสอาด
Keywords: การควบคุมโดยชีววิธี;Trichoderma;Sclerotium rolfsii;dual culture;biological control
Issue Date: 2552
Publisher: คณะเกษตรศาสตร์ มหาวิทยาลัยเชียงใหม่
Citation: วารสารเกษตร 25, 1 (ก.พ. 2552), 21-29
Abstract: เชื้อรา Trichoderma spp. ที่แยกจากวัสดึเพราะในฟาร์มเห็ด ตัวอย่างดินแปลงเกษตรกรทุดอำเภอในจังหวัดเชียงใหม่ และสารชีวภัณฑ์ โดยวิธี dilution plate จำนวนทั้งหมด 156 ไอโซเลท เมื่อนำมาศึกษาการเจริญของเส้นใยเชื้อราบนอาหาร PDA สามารแบ่งอัตราการเจริญออกเป็น 3 กลุ่ม โดยมีอัตราการเจริญเฉลี่ย ± SD เท่ากับ 32.30 ± 1.62, 27.17 ± 2.32 และ 19.48 ± 0.56 มิลลิเมตรต่อวัน ตามลำดับ และการสร้างสปอร์ทั้ง 3 กลุ่ม มีปริมาณการสร้างสปอร์เฉลี่ย ± SD เท่ากับ 13.04 ± 2.52 × 1010, 7.37 ± 1.28 × 1010 และ 3.22 ± 1.22 × 1010 สปอร์/มิลลิลิตร จากนั้นคัดเลือกเชื้อราไตรโคเดอร์มา มาทดสอบประสิทธิภาพประสิทธิภาพในการเป็นปฏิปักษ์ต่อเชื้อรา Sclerotium rolfsii สาเหตุโรคราและโคนเน่าของถั่วเหลืองด้วยเทคนิค dual culture พบว่าไอโซเลท T12, T42, T75 และ TM10 มีเปอร์เซ็นต์ของการยับยั้งการเจริญเติบโตของเชื้อสาเหตุโรคภายในห้องปฏิบัติการเท่ากับ 71.67, 54.93, 60.79 และ 25.42 เปอร์เซ็นต์ตามลำดับ และจากการทดสอบประสิทธิภาพการควบคุมโรคในสภาพเรือนทดลอง พบว่า ไอโซเลท T15 และ T75 มีประสิทธิภาพในการควบคุมเชื้อสาเหตุได้ดีโดยพบการเกิดโรคกับต้นพืชเพีบง 25.00 เปอร์เซ็นต์ทั้ง 2 ไอโซเลท และ T42 พบการเกิดโรคถึง 48.75 เปอร์เซ็นต์ ส่วนไอโซเลท TM10 มีประสิทธิภาพในการควบคุมโรคต่ำ คือพืชแสดงอาการการเกิดโรคเท่ากับ 72.50 เปอร์เซ็นต์ One hundred and ffty-six isolates of Trichoderma spp, were collected from mushroom spawn, farm lands from all districts in Chiang Mai and commercial biological product by dilution plate method. Based on growth rate (mean t SD) on PDA medium, the fungal isolates could be separated into 3 groups which were high 32.30 + 1.62, moderate 27. 17: 2.32 and low 19.48 + 0.56 mm per day. The result indicated the average sporilation value of all these :3 groups which were 13.04 t 2.52 x 10"0 7.37 土 1.28 x 10" and 3.22 土1.22 x 10~ spores/ml. Afterwards, screening of fungi were evaluated for antagonistic activity to Sclerotium rolisi the casual agent of damping-off, by dual culture technique. Percentage of growth inhibition of S. rolfsii by Trichoderma spp. isolates T15, T42, T75 and TM10 were 71.67, 54.93, 60,79 and 25.42%, respectively. The results of greenhouse experiment indicated that Trichoderma spp.,isolate T15 and T75 showed a high ability of inhibitory effects on plant pathogen that percentages of disease incidences were 25.00% for both of the isolates and 48.75% for the T42 isolate. TM 10 isolate had low ability to inhibit-pathogen that the incidence rates for disease were 72.50 %.
Description: วารสารเกษตร เป็นวารสารวิชาการของคณะเกษตรศาสตร์ มหาวิทยาลัยเชียงใหม่ โดยวารสารจะออกราย 4 เดือน (มกราคม พฤษภาคม และกันยายน) ซึ่งจะพิมพ์เผยแพร่ผลงานวิชาการสาขา เกษตรศาสตร์ อุตสาหกรรมเกษตร สัตวแพทย์ และชีววิทยา ทั้งจากภายในและภายนอกมหาวิทยาลัย และปัจจุบันวารสารเกษตรอยู่ในฐานข้อมูลระดับชาติ ศูนย์ดัชนีการอ้างอิงวารสารไทย (TCI) กลุ่มที่ 1
URI: https://li01.tci-thaijo.org/index.php/joacmu/article/view/245814/168040
http://cmuir.cmu.ac.th/jspui/handle/6653943832/72010
ISSN: 0857-0841
Appears in Collections:CMUL: Journal Articles

Files in This Item:
There are no files associated with this item.


Items in CMUIR are protected by copyright, with all rights reserved, unless otherwise indicated.