Please use this identifier to cite or link to this item:
http://cmuir.cmu.ac.th/jspui/handle/6653943832/72001
Title: | การวิเคราะห์สถานการณ์การบริหารความเสี่ยงต่อการตกเลือดหลังคลอด โรงพยาบาลเชียงรายประชานุเคราะห์ |
Other Titles: | Situational Analysis of Risk Management for Postpartum Hemorrhage, Chiangrai Prachanukroh Hospital |
Authors: | สุภิชชา ปันแก้ว อภิรดี นันทศุภวัฒน์ เพชรสุนีย์ ทั้งเจริญกุล |
Authors: | สุภิชชา ปันแก้ว อภิรดี นันทศุภวัฒน์ เพชรสุนีย์ ทั้งเจริญกุล |
Keywords: | การวิเคราะห์สถานการณ์;การบริหารความเสี่ยง;การติกเลือดหลังคลอด;โรงพยาบาลเชียงรายประชานุเคราะห์;Chiangrai Prachanukroh Hospital;Situational Analysis;Risk Management;Postpartum Hemorrhage |
Issue Date: | 2563 |
Publisher: | คณะพยาบาลศาสตร์ มหาวิทยาลัยเชียงใหม่ |
Citation: | พยาบาลสาร 47,4 (ต.ค.-ธ.ค. 2563) 374-385 |
Abstract: | การบริหารความเสี่ยงในระบบบริการสุขภาพมีเป้าหมายเพื่อค้นหา ประเมินผลและดำเนินการแก้ไข ความเสี่ยงที่อาจนำไปสู่อันตรายต่อผู้ป่วย วัตถุประสงค์ของการศึกษาครั้งนี้ เพื่ออธิบายสถานการณ์การบริหาร ความเสี่ยง ปัญหาและอุปสรรค และแนวทางในการแก้ไขปัญหาที่เกี่ยวกับการบริหารความเสี่ยงต่อการตกเลือดหลังคลอด โรงพยาบาลเชียงรายประชานุเคราะห์ ผู้เข้าร่วมการศึกษาประกอบด้วยพยาบาลวิชาชีพที่อยู่ในระดับผู้บริหารและคณะกรรมการความเสี่ยงกลุ่มงานสูตินรีเวชกรรม จำานวน 8 คน พยาบาลวิชาชีพที่ปฏิบัติงานในหน่วยงานห้องคลอดจำนวน 17 คน ผู้ช่วยเหลือคนไข้ที่ปฎิบัติงานในหน่วยงานห้องคลอดจำานวน 9 คน รวบรวมข้อมูลโดย แบบสอบถามการสัมภาษณ์ และการประชุมระดมสมอง วิเคราะห์ข้อมูลด้วยสถติ ิเชิงบรรยายและวิเคราะห์เนื้อหา 1. สถานการณ์การบริหารความเสี่ยงต่อการตกเลือดหลังคลอด โรงพยาบาลเชียงรายประชานุเคราะห์อธิบาย ตามกระบวนการบริหารความเสี่ยงของอนุวัฒน์ ศุภชุติกุล (2543) มีดังต่อไปนี้ 1.1 การค้นหาความเสี่ยง พบว่าระดับการรับรู้การบริหารความเสี่ยงโดยรวมมีระดับสูง 1.2 การประเมินหรือการวิเคราะห์ความเสี่ยง พบว่าระดับการรับรู้การบริหารความเสี่ยงโดยรวมมีระดับสูง 1.3 การจัดการกับความเสี่ยง พบว่าระดับการรับรู้การบริหารความเสี่ยงโดยรวมมีระดับสูง 1.4 การประเมินผล พบว่าระดับการรับรู้การบริหารความเสี่ยงโดยรวมมีระดับสูง 2. ปัญหาและอุปสรรคในการบริหารความเสี่ยงต่อการตกเลือดหลังคลอด ประกอบด้วย การบันทึกเหตุการณ์ ไม่ครอบคลุม และไม่ได้นำาเหตุการณ์มาทบทวนทันที ขาดประสบการณ์ในการประเมินและปฏิบัติตามแนวทางการรายงานอุบัติการณ์ในระบบอินทราเน็ตล่าช้า ระบบการรายงานความเสี่ยงในอินทราเน็ตมีความซับซ้อนและไม่เสถียร การฝึกอบรมไม่เพียงพอ เจ้าหน้าที่ไม่กล้าที่จะรายงานอุบัติการณ์ 3. ข้อเสนอแนะแนวทางในการแก้ไขปัญหาที่เกี่ยวกับการบริหารความเสี่ยงต่อการตกเลือดหลังคลอด โดย การกำหนดการทบทวนอบุ ตั ิการณ์อย่างชัดเจนและสม่ำเสมอ การพัฒนาระบบการรายงานความเสี่ยงของโรงพยาบาลโดยให้รักษาความลับของผู้รายงาน การส่งเสริมให้มีการจัดอบรมให้ความรู้กับบุคลากรอย่างสม่ำเสมอ การปรับปรุงระบบบันทึกเหตุการณ์และพัฒนาช่องทางการรายงานอุบัติการณ์ การสร้างทัศนคติเชิงบวกต่อการรายงานอุบัติการณ์ผลการศึกษาครั้งนี้เป็นข้อมูลพื้นฐานของการบริหารความเสี่ยงต่อการตกเลือดหลังคลอดซึ่งผู้บริหารความเสี่ยงในหน่วยงานห้องคลอด คณะกรรมการความเสี่ยงของโรงพยาบาลสามารถนำาไปเป็นข้อมูลในการพัฒนากระบวนการบริหารความเสี่ยงของหน่วยงานห้องคลอดต่อไป Risk management in the health service system aims to identify, evaluate, and take corrective action against potential risks that could lead to patient injury. The objectives of this study were to describe the risk management situation, explore the problems and barriers to risk management, and explore ways to solve problems related to risk management for postpartum hemorrhage at Chiang rai Prachanukroh Hospital. The participants included 8 risk management committee team members of the obstetric department, including the nursing director, 17 professional nurses, and 9 nurse aides from the labour room. Data were collected through questionnaire, interview, and brainstorming. Data were analyzed using descriptive statistics and content analysis. 1. Risk management for postpartum hemorrhage at Chiangrai Prachanukroh Hospital is presented using domains in Supachutikul’s risk management process (2000): 1.1 Risk identification: Perception of risk management with regards to risk identification was at a high level. 1.2 Risk assessment or risk analysis: Perception of risk management with regards to risk assessment/analysis was at a high level. 1.3 Action to manage risk: Perception of risk management with regards to actions to manage risk was at a high level. 1.4 Evaluation: Overall, participants perceptions of risk management at their institutions were at a high level. 2. The problems and barriers related to risk management included incomplete incident records, delayed incident reviews, lack of experience in conducting assessments and following the guidelines, delayed incident reporting in the intranet system, a complex and unstable reporting system via intranet, insufficient training, fear from staff in reporting incidents. 3. The participants’ made the following suggestions for solving problems: the timeline for reviewing incidents should be clear and consistent, a confidential incident reporting system should be developed and risk management staff trainings should be promoted., Participants also suggested improving the incident reporting system, developing an incident reporting channel, and promoting positive attitudes towards incident reporting. |
Description: | วารสาร พยาบาลสาร Nursing Journal วัตถุประสงค์ 1. เพื่อเผยแพร่ผลงานวิจัย ผลงานทางวิชาการ ความรู้ทางการพยาบาลและสุขภาพ 2. เพื่อส่งเสริมงานวิจัย ผลงานทางวิชาการ และเป็นสื่อกลางในการแลกเปลี่ยนความรู้ ที่เกี่ยวข้องกับการพยาบาลและสุขภาพ 3. เพื่อสร้างเครือข่ายความร่วมมือ ระหว่างบุคลากรที่อยู่ในวงการวิชาชีพการพยาบาล |
URI: | https://he02.tci-thaijo.org/index.php/cmunursing/article/view/247964/168444 http://cmuir.cmu.ac.th/jspui/handle/6653943832/72001 |
ISSN: | 0125-5118 |
Appears in Collections: | CMUL: Journal Articles |
Files in This Item:
There are no files associated with this item.
Items in CMUIR are protected by copyright, with all rights reserved, unless otherwise indicated.