Please use this identifier to cite or link to this item:
http://cmuir.cmu.ac.th/jspui/handle/6653943832/71998
Title: | การบริหารจัดการแผนงานการเตรียมความพร้อมประเทศไทยเชิงรุกให้เป็นจุดหมายปลายทางการท่องเที่ยวเชิงสุขภาพที่มีคุณภาพ |
Other Titles: | Administrative Plan for Thailand to be A Quality Wellness Tourism Destination Project |
Authors: | วิภาดา คุณาวิกติกุล เพชรสุนีย์ ทั้งเจริญกุล อรอนงค์ วิชัยคำ กุลวดี อภิชาติบุตร อภิรดี นันท์ศุภวัฒน์ สิริลักษณ์ วรรธนะพงษ์ วิไลพรรณ ใจวิไล |
Authors: | วิภาดา คุณาวิกติกุล เพชรสุนีย์ ทั้งเจริญกุล อรอนงค์ วิชัยคำ กุลวดี อภิชาติบุตร อภิรดี นันท์ศุภวัฒน์ สิริลักษณ์ วรรธนะพงษ์ วิไลพรรณ ใจวิไล |
Keywords: | การบริหารจัดการแผนงาน;การท่องเที่ยวเชิงสุขภาพ;ประเทศไทย;Administrative plan;Wellness tourism;Thailand |
Issue Date: | 2563 |
Publisher: | คณะพยาบาลศาสตร์ มหาวิทยาลัยเชียงใหม่ |
Citation: | พยาบาลสาร 47,4 (ต.ค.-ธ.ค. 2563) 421-432 |
Abstract: | การบริหารจัดการแผนงานการเตรียมความพร้อมประเทศไทยเชิงรุกให้เป็นจุดหมายปลายทางการท่องเที่ยวเชิงสุขภาพที่มีคุณภาพ มีวัตถุประสงค์เพื่อวิเคราะห์ สังเคราะห์ และบูรณาการ ผลลัพธ์ ผลผลิต ผลกระทบ นวัตกรรม ที่เกิดจากการพัฒนารูปแบบของสปาและกีฬา เพื่อจัดทำชุดความรู้ใหม่ในการพัฒนาและเพิ่มขีดความสามารถในการยกระดับของธุรกิจสปาและการท่องเที่ยวเชิงกีฬา กอล์ฟ ศิลปะมวยไทย ปั่นจักรยานและวิ่ง เพื่อจัดทำ “ร่าง” แผนบริหารจัดการการเตรียมความพร้อมประเทศไทยเชิงรุก ให้เป็นจุดหมายปลายทางการท่องเที่ยวเชิงสุขภาพที่มีคุณภาพ เพื่อกำกับ ติดตาม เร่งรัด การดำเนินการโครงการวิจัยภายใต้แผนงานให้สำเร็จลุล่วง และส่งมอบผลสำเร็จการดำเนินงานตามเป้าหมายที่กำหนดไว้ โดยมีขั้นตอนการวิจัยเป็นกิจกรรม 3 กลุ่มได้แก่ 1) กิจกรรมเพื่อการบริหารจัดการโครงการวิจัยภายใต้แผนงาน 5 โครงการ 2) กิจกรรมเพื่อจัดทำชุดความรู้ใหม่ของกีฬาและสปาทั้ง 5 โครงการ 3) กิจกรรมจัดทำ ร่างแผนบริหารจัดการการเตรียมความพร้อมประเทศไทยเชิงรุกให้เป็นจุดหมายปลายทางการท่องเที่ยวเชิงสุขภาพ ที่มีคุณภาพที่มีคุณภาพอย่างยั่งยืน มีกลุ่มตัวอย่างในงานวิจัย คือ ทีมวิจัยภายใต้แผนงานทั้ง 5 โครงการ และผู้เชี่ยวชาญเกี่ยวกับการท่องเที่ยวเชิงกีฬาและสปา เครื่องมือที่ใช้ในงานวิจัยประกอบด้วย 5 ชุด ได้แก่ 1) เครื่องมือที่ใช้ในการสัมภาษณ์ผู้ทรงคุณวุฒิ 2) เครื่องมือที่ใช้ในการกำกับติดตามโครงการวิจัย ภายใต้แผนงาน 5 โครงการ 3) แบบวิเคราะห์สังเคราะห์ชุดความรู้ใหม่ภายใต้โครงการแผนงาน 5 โครงการ 4) แบบบันทึกการวิเคราะห์สถานการณ์เพื่อจัดทำแผนบริหารจัดการฯ และ 5) แบบประเมินผลการดำเนินงานตาม CIPP model ผลการวิจัยพบว่า 1.ชุดความรู้ใหม่ทั้ง 5 ชุด ในการพัฒนาและเพิ่มขีดความสามารถของธุรกิจสปาและยกระดับการท่องเที่ยวเชิงกีฬา กอล์ฟ ศิลปะมวยไทย ปั่นจักรยานและวิ่ง จำเป็นต้องได้รับการนำไปทดลองใช้ในแต่ละธุรกิจในปีต่อไปเพื่อพัฒนาและเพื่อเตรียมความพร้อมของประเทศไทยให้เป็นจุดหมายปลายทางการท่องเที่ยว เชิงสุขภาพที่มีคุณภาพต่อไป 2.“ร่าง” แผนบริหารจัดการการเตรียมความพร้อมประเทศไทยเชิงรุกให้เป็นจุดหมายปลายทางการท่องเที่ยวเชิงสุขภาพที่มีคุณภาพ ด้านกีฬาและสปา ในปีที่ 1 จะสามารถนำไปใช้ในการจัดทำแผนบริหารจัดการการท่องเที่ยวเชิงสุขภาพด้านกีฬาและสปาเพื่อให้ประเทศไทยเป็นจุดหมายปลายทางการท่องเที่ยว เชิงสุขภาพที่มีคุณภาพต่อไปในปีที่ 2 3.จากการติดตาม การวิเคราะห์ การให้ข้อเสนอแนะการดำเนินงานของโครงการวิจัย ทั้ง 5 โครงการ ได้ผลผลิตของโครงการวิจัยที่มีความสอดคล้องกับวัตถุประสงค์การวิจัยและมีการกำหนดผลลัพธ์ที่ต้องการอย่างชัดเจน มีการติดตามปัญหา อุปสรรค การให้ข้อเสนอแนะจากผู้ทรงคุณวุฒิเป็นระยะ ทำให้สามารถปรับกระบวนการวิจัยได้ตรงตามเป้าหมาย 4.ผลการวิจัยที่ได้ในปีที่ 1 จะสามารถนำไปดำเนินการในปีที่ 2 เพื่อให้เกิดประโยชน์สูงสุดต่อไป The administrative plan for Thailand to be a quality health tourism destination aims to analyze, synthesize, and integrate outputs, outcomes, impacts and innovation based on the spa and sport developmental model. This project has three objectives, to create new knowledge models to aid in the development of the spa and tourism business as a way to increase the capacity to upgrade sport tourism in the areas of Thai boxing, golf, cycling, and running; to develop an administrative plan; and to regulate, monitor, and speed up the successful implementation and completion of spa and sport research projects. The main project activities included: 1) monitoring and consulting activities for the five sub-studies; 2) developing new spa and sports knowledge in the five sub-studies; 3) developing the administrative plan for Thailand to be a quality wellness tourism destination. The study sample included researchers from the five sub-studies as well as experts and stakeholders. The research instruments included: 1) interview guide; 2) instruments for monitoring the give sub-studies; 3) analysis and synthesis form for the five sub-studies; 4) situational analysis record form; and 5) CIPP model evaluation form. Results revealed that: 1.The five new knowledge models for Thai boxing, golf, cycling, running, and service innovation require testing before implementation 2.The draft administrate plan which included a SWOT analysis could be used to develop the administrative plan for the second year of the project. 3.The findings from the monitoring, analysis, and suggestions from the five sub-studies were consistent with the research objectives and research outcomes. Recommendations from experts and periodic monitoring of issues and problems have aided with the achievement of research processes and project goals. In conclusion, the study results are significant and can lead to optimal benefit for research projects to be conducted during the second year of the project. |
Description: | วารสาร พยาบาลสาร Nursing Journal วัตถุประสงค์ 1. เพื่อเผยแพร่ผลงานวิจัย ผลงานทางวิชาการ ความรู้ทางการพยาบาลและสุขภาพ 2. เพื่อส่งเสริมงานวิจัย ผลงานทางวิชาการ และเป็นสื่อกลางในการแลกเปลี่ยนความรู้ ที่เกี่ยวข้องกับการพยาบาลและสุขภาพ 3. เพื่อสร้างเครือข่ายความร่วมมือ ระหว่างบุคลากรที่อยู่ในวงการวิชาชีพการพยาบาล |
URI: | https://he02.tci-thaijo.org/index.php/cmunursing/article/view/243378/168449 http://cmuir.cmu.ac.th/jspui/handle/6653943832/71998 |
ISSN: | 0125-5118 |
Appears in Collections: | CMUL: Journal Articles |
Files in This Item:
There are no files associated with this item.
Items in CMUIR are protected by copyright, with all rights reserved, unless otherwise indicated.