Please use this identifier to cite or link to this item:
http://cmuir.cmu.ac.th/jspui/handle/6653943832/71991
Full metadata record
DC Field | Value | Language |
---|---|---|
dc.contributor.author | มินตรา อุทัยรังษี | en_US |
dc.contributor.author | บุญพิชชา จิตต์ภักดี | en_US |
dc.contributor.author | ฐิติณัฏฐ์ อัคคะเดชอนันต์ | en_US |
dc.date.accessioned | 2021-02-05T02:29:37Z | - |
dc.date.available | 2021-02-05T02:29:37Z | - |
dc.date.issued | 2563 | en_US |
dc.identifier.citation | พยาบาลสาร 47,4 (ต.ค.-ธ.ค. 2563) 316-326 | en_US |
dc.identifier.issn | 0125-5118 | en_US |
dc.identifier.uri | https://he02.tci-thaijo.org/index.php/cmunursing/article/view/247958/168439 | en_US |
dc.identifier.uri | http://cmuir.cmu.ac.th/jspui/handle/6653943832/71991 | - |
dc.description | วารสาร พยาบาลสาร Nursing Journal วัตถุประสงค์ 1. เพื่อเผยแพร่ผลงานวิจัย ผลงานทางวิชาการ ความรู้ทางการพยาบาลและสุขภาพ 2. เพื่อส่งเสริมงานวิจัย ผลงานทางวิชาการ และเป็นสื่อกลางในการแลกเปลี่ยนความรู้ ที่เกี่ยวข้องกับการพยาบาลและสุขภาพ 3. เพื่อสร้างเครือข่ายความร่วมมือ ระหว่างบุคลากรที่อยู่ในวงการวิชาชีพการพยาบาล | en_US |
dc.description.abstract | ทุนทางจิตวิทยาเป็นปัจจัยหนึ่งที่ช่วยส่งเสริมให้เกิดความผูกพันในงานของพยาบาล การวิจัยเชิงพรรณนาแบบหาความสัมพันธ์นี้มีวัตถุประสงค์เพื่อศึกษาทุนทางจิตวิทยา ความผูกพันในงาน และความสัมพันธ์ระหว่างทุนทางจิตวิทยาและความผูกพันในงานของพยาบาล โรงพยาบาลศูนย์ กลุ่มตัวอย่างคือ พยาบาลที่ปฏิบัติงานในโรงพยาบาลอุตรดิตถ์ โรงพยาบาลพุทธชินราช พิษณุโลก และโรงพยาบาลเชียงรายประชานุเคราะห์จำนวน 438 คน เครื่องมือที่ใช้ในการรวบรวมข้อมูลคือแบบสอบถามประกอบด้วย 3 ส่วน คือ 1)แบบสอบถามข้อมูลส่วนบุคคล 2) แบบวัดทุนทางจิตวิทยาของ Luthans, Youssef, & Avolio (2007) ที่แปลย้อนกลับและปรับภาษาให้เหมาะสมกับบริบททางการพยาบาลโดยผู้วิจัย และ 3) แบบวัดความผูกพันในงานซึ่ง Supaporn Muanlamai (2012)ดัดแปลงมาจากแบบวัดความผูกพันในงานยูเทรคของ Schaufeli & Bakker (2003) วิเคราะห์ค่าความเชื่อมั่นของแบบวัดทุนทางจิตวิทยาและแบบวัดความผูกพันในงาน มีค่าความเชื่อมั่นเท่ากับ 0.84 และ 0.85 ตามลำดับ วิเคราะห์ข้อมูลโดยใช้สถิติพรรณนา และการหาสัมประสิทธิ์สหสัมพันธ์ของสเปียร์แมน ผลการวิจัยพบว่าทุนทางจิตวิทยาของพยาบาลโดยรวม ด้านการรับรู้สมรรถนะแห่งตนและด้านความหวัง อยู่ในระดับสูง สำหรับด้านการยืดหยุ่นและด้านการมองโลกในแง่ดี อยู่ในระดับปานกลางความผูกพันในงานโดยรวม ด้านความรู้สึกเต็มเปี่ยมไปด้วยพลังในการทำงานและด้านความทุ่มเทในการทำงานอยู่ในระดับค่อนข้างสูง ด้านความรู้สึกเป็นอันหนึ่งอันเดียวกันกับงาน อยู่ในระดับปานกลาง และทุนทางจิตวิทยาโดยรวมและรายด้านมีความสัมพันธ์ทางบวกกับความผูกพันในงาน ผู้บริหารการพยาบาลสามารถใช้ผลการวิจัยครั้งนี้เป็นข้อมูลพื้นฐานสำหรับการพัฒนาและส่งเสริมให้พยาบาลมีทุนทางจิตวิทยาเพิ่มขึ้น ซึ่งจะส่งผลต่อการเพิ่มพูนความผูกพันในงานของพยาบาล Psychological capital is a factor enhancing the work engagement of nurses. The purpose of this descriptive correlational research was to identify psychological capital and work engagement as well as the relationship between psychological capital and work engagement of nurses working in regional hospitals. The participants were 438 nurses working in Uttaradit Hospital, Buddhachinaraj Phitsanulok Hospital, and Chiang Rai Prachanukroh Hospital. The research instrument used in this study was a questionnaire which consisted of 3 parts; 1) personal data questionnaire, 2) Psychology Capital Questionnaire developed by Luthans et al. (2007) that had been back-translated and adapted to fit a nursing context by the researcher, and 3) The Work Engagement Scale by Supaporn Muanlamai (2012) modified from The Utrecht Work Engagement Scale by Schaufeli and Bakker (2003). The Cronbach’s Alpha Coeffient of the Psychological Capital Questionnaire and the Work Engagement Scales were 0.84 and 0.85 respectively. Data were analyzed using descriptive statistics and Spearman rank correlation coefficient. The results showed that overall psychological capital of nursing in regional hospitals, as well as dimensions of self-efficacy and hope, were at a high level while dimensions of resilience and optimism were at moderate level. The overall work engagement, as well as dimensions of vigor and dedication, were at relatively high level while the dimension of absorption was at moderate level. Psychological capital and its’ dimensions had positive relationships with work engagement. Nursing Administrators can used the results of this research as basic information for developing and enhancing nurses to increase psychological capital that will result in increasing work engagement. | en_US |
dc.language.iso | Tha | en_US |
dc.publisher | คณะพยาบาลศาสตร์ มหาวิทยาลัยเชียงใหม่ | en_US |
dc.subject | ทุนทางจิตวิทยา | en_US |
dc.subject | ความผูกพันในงาน | en_US |
dc.subject | พยาบาล | en_US |
dc.subject | โรงพยาบาลศูนย์ | en_US |
dc.subject | Regional Hospitals | en_US |
dc.subject | Nurses | en_US |
dc.subject | Psychological Capital Work Engagement of Nurses | en_US |
dc.title | ทุนทางจิตวิทยาและความผูกพันในงานของพยาบาล โรงพยาบาลศูนย์ | en_US |
dc.title.alternative | Psychological Capital and Work Engagement of Nurses, Regional Hospitals | en_US |
Appears in Collections: | CMUL: Journal Articles |
Files in This Item:
There are no files associated with this item.
Items in CMUIR are protected by copyright, with all rights reserved, unless otherwise indicated.