Please use this identifier to cite or link to this item:
http://cmuir.cmu.ac.th/jspui/handle/6653943832/71990
Title: | การพัฒนารูปแบบการให้ข้อมูลสำาหรับญาติของผู้ป่วยมะเร็งหอผู้ป่วยอายุรกรรมชาย โรงพยาบาลพุทธชินราช พิษณุโลก |
Other Titles: | Development of an Information Provision Model for Cancer Patients’ Relatives, Male Medical Ward, Buddhachinaraj Phitsanulok Hospital |
Authors: | ภัทรพร นาคะไพฑูรย์ กุลวดี อภิชาติบุตร เพชรสุนีย์ ทั้งเจริญกุล |
Authors: | ภัทรพร นาคะไพฑูรย์ กุลวดี อภิชาติบุตร เพชรสุนีย์ ทั้งเจริญกุล |
Keywords: | การให้ข้อมูล;ญาติของผู้ป่วยมะเร็ง;Information Provision;Cancer Patients’ Relatives |
Issue Date: | 2563 |
Publisher: | คณะพยาบาลศาสตร์ มหาวิทยาลัยเชียงใหม่ |
Citation: | พยาบาลสาร 47,4 (ต.ค.-ธ.ค. 2563) 304-315 |
Abstract: | การให้ข้อมูลแก่ญาติของผู้ป่วยมะเร็งที่ได้รับการดูแลแบบประคับประคองทำาให้เกิดคุณภาพชีวิตที่ดีของทั้ง ผู้ป่วยและครอบครัว การศึกษาครั้งนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อพัฒนารูปแบบการให้ข้อมูล และศึกษาผลลัพธ์ของรูปแบบการให้ข้อมูลสำาหรับญาติของผู้ป่วยมะเร็ง ในหอผู้ป่วยอายุรกรรมชาย โรงพยาบาลพุทธชินราช พิษณุโลก โดยประยุกต์ใช้กระบวนการพัฒนาคุณภาพอย่างต่อเนื่องโฟกัสพีดีซีเอ (Batalden & Stoltz, 1993) ประชากรประกอบด้วยพยาบาลวิชาชีพจำานวน 20 คน กลุ่มตัวอย่าง คือ ญาติของผู้ป่วยมะเร็งจำานวน 35 คน เครื่องมือที่ใช้ในการศึกษาครั้งนี้ประกอบด้วย 1) แนวคำาถามการประชุมกลุ่มเกี่ยวกับการให้ข้อมูลแก่ญาติของผู้ป่วยมะเร็ง 2) คู่มือการให้ข้อมูล 3) แบบสังเกตการปฏิบัติตามรูปแบบการให้ข้อมูลแก่ญาติของผู้ป่วยมะเร็ง 4) แบบสอบถามความพึงพอใจของพยาบาลต่อรูปแบบการให้ข้อมูล 5) แบบสอบถามความพึงพอใจของญาติของผู้ป่วยมะเร็งต่อการได้รับข้อมูล เครื่องมือวิจัยได้รับการตรวจสอบคุณภาพโดยผู้ทรงคุณวุฒิจำานวน 3 คน ค่าดัชนีความตรงตามเนื้อหาของแบบสอบถามความพึงพอใจของพยาบาลต่อรูปแบบการให้ข้อมูล และแบบสอบถามความพึงพอใจของญาติของผู้ป่วยมะเร็งต่อการได้รับข้อมูล เท่ากับ 1.00 และ .95 ตามลำาดับ ส่วนค่าดัชนีความสอดคล้องของผู้สังเกตจำานวน 2 คู่เท่ากับ .99 และ .99 ตามลำาดับ วิเคราะห์ข้อมูลโดยใช้จำานวน ร้อยละ ค่าเฉลี่ย และส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน ผลการศึกษาพบว่า 1) รูปแบบการให้ข้อมูลประกอบด้วย 6 องค์ประกอบคือบุคลากรผู้ให้ข้อมูล สถานที่ที่ใช้ในการให้ข้อมูล อุปกรณ์และสื่อในการให้ข้อมูล ระยะเวลาในการให้ข้อมูล ข้อมูลสำาหรับญาติผู้ป่วย และขั้นตอนการให้ข้อมูล 2) ผลลัพธ์ของรูปแบบการให้ ข้อมูล พบว่า พยาบาลมีการปฏิบัติตามรูปแบบการให้ข้อมูลได้อย่างถูกต้อง ครบถ้วนมากกว่าร้อยละ 80 พยาบาลมี ความพึงพอใจต่อรูปแบบการให้ข้อมูลในระดับมากถึงมากที่สุดมากกว่าร้อยละ 80 และญาติของผู้ป่วยมะเร็งมี ความพึงพอใจต่อการได้รับข้อมูลในระดับมากถึงมากที่สุดมากกว่าร้อยละ 80 ผลลัพธ์จากการศึกษาแสดงให้เห็นว่า รูปแบบการให้ข้อมูลที่พัฒนาขึ้นมีประสิทธิผลในการนำาไปใช้ให้ข้อมูลแก่ญาติของผู้ป่วยมะเร็ง และควรมีการนิเทศติดตามการปฏิบัติตามรูปแบบการให้ข้อมูลอย่างต่อเนื่องต่อไป Providing information to relatives of cancer patients who need palliative care create good quality of life of patients and families. The purpose of this study was to develop of an information provision model and to explore the outcomes of information provision model for cancer patients’relatives of the Male Medical Ward, Buddhachinaraj Phitsanulok Hospital by applying the FOCUS-PDCA continuous quality improvement process (Batalden & Stoltz, 1993). The population included 20 registered nurses. The sample included 35 cancer patients’ relatives. The instruments used in this study were: 1) interview guidelines of information provision for cancer patients’ relatives, 2) an information provision manual, 3) an observation checklist for information provision practice for cancer patients’ relatives, 4) nurse satisfaction questionnaire regarding the information provision model, and 5) cancer patient’relatives satisfaction questionnaire regarding receiving information. The instruments were confirmed by three independent experts. The content validity indexes of the nurse satisfaction questionnaire regarding the information provision model and of the cancer patient’relatives satisfaction questionnaire regarding receiving information were 1.00 and .95 respectively. The inter-rater agreement indexes by 2 sets of observers were .99 and 99. respectively. Frequency, percentage, mean, and standard deviation were used for data analysis. The study results revealed that 1) information provision model included personnel responsible for information provision, location for information provision, equipment and media for information provision, time for information provision, information for cancer patients’ relatives, and process ofinformation provision; 2) Outcomes of the information provision model were: more than 80% of nurses were able to completely implement the information provision model, more than 80% of nurses were satisfied with the information provision model at high or highest levels, and more than80% of cancer patients’ relatives were satisfied with the information they received at high or highest levels. Results of this study revealed that the information provision model can be used to provide information for cancer patients’ relatives effectively. Therefore, nursing administrators should continuously supervise the implementation of the information provision model. |
Description: | วารสาร พยาบาลสาร Nursing Journal วัตถุประสงค์ 1. เพื่อเผยแพร่ผลงานวิจัย ผลงานทางวิชาการ ความรู้ทางการพยาบาลและสุขภาพ 2. เพื่อส่งเสริมงานวิจัย ผลงานทางวิชาการ และเป็นสื่อกลางในการแลกเปลี่ยนความรู้ ที่เกี่ยวข้องกับการพยาบาลและสุขภาพ 3. เพื่อสร้างเครือข่ายความร่วมมือ ระหว่างบุคลากรที่อยู่ในวงการวิชาชีพการพยาบาล |
URI: | https://he02.tci-thaijo.org/index.php/cmunursing/article/view/247957/168438 http://cmuir.cmu.ac.th/jspui/handle/6653943832/71990 |
ISSN: | 0125-5118 |
Appears in Collections: | CMUL: Journal Articles |
Files in This Item:
There are no files associated with this item.
Items in CMUIR are protected by copyright, with all rights reserved, unless otherwise indicated.