Please use this identifier to cite or link to this item:
http://cmuir.cmu.ac.th/jspui/handle/6653943832/71983
Title: | ปัจจัยที่เกี่ยวข้องกับการรับรู้ความไม่เพียงพอของน้ำนมในมารดาครรภ์แรกที่ได้รับการผ่าตัดคลอด |
Other Titles: | Factors Related to Perceived Insufficient Milk Supply Among First-time Mothers with Cesarean Section |
Authors: | พิมลพรรณ อันสุข กรรณิการ์ กันธะรักษา นงลักษณ์ เฉลิมสุข |
Authors: | พิมลพรรณ อันสุข กรรณิการ์ กันธะรักษา นงลักษณ์ เฉลิมสุข |
Keywords: | การรับรู้ความไม่เพียงพอของน้ำนม;มารดาครรภ์แรก;การผ่าตัดคลอด;Perceived insufficient milk supply;Among first-time mothers;Cesarean section |
Issue Date: | 2563 |
Publisher: | คณะพยาบาลศาสตร์ มหาวิทยาลัยเชียงใหม่ |
Citation: | พยาบาลสาร 47,4 (ต.ค.-ธ.ค. 2563) 193-203 |
Abstract: | การเลี้ยงบุตรด้วยนมมารดามีประโยชน์ทั้งต่อทารก มารดา สังคม และประเทศชาติ การรับรู้ความไม่เพียงพอของน้ำนมเป็นปัจจัยหลักที่ทำให้มารดายุติการเลี้ยงบุตรด้วยนมมารดา การวิจัยเชิงพรรณนาแบบหาความสัมพันธ์ครั้งนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อศึกษาปัจจัยที่เกี่ยวข้องกับการรับรู้ความไม่เพียงพอของน้ำนมในมารดาครรภ์แรกที่ได้รับการผ่าตัดคลอด ซึ่งปัจจัยที่เกี่ยวข้อง ได้แก่ ความรู้เกี่ยวกับการเลี้ยงบุตรด้วยนมมารดา ระยะเวลาเริ่มดูดนมครั้งแรกของทารก พฤติกรรมการดูดนมของทารก และปริมาณการไหลของน้ำนม ทำการศึกษาในมารดาครรภ์แรกที่ได้รับการผ่าตัดคลอด ที่พักฟื้น ณ ตึกหลังคลอด โรงพยาบาลมุกดาหาร จำนวน 85 ราย รวบรวมข้อมูลระหว่างเดือนมกราคม ถึง เดือนมีนาคม พ.ศ. 2561 โดยเลือกกลุ่มตัวอย่างตามคุณสมบัติที่กำหนด เครื่องมือที่ใช้ในงานวิจัย ประกอบด้วย 1) แบบสอบถามความรู้เกี่ยวกับการเลี้ยงบุตรด้วยนมมารดา ของ Anuntakulnthee (2015) 2) แบบประเมินพฤติกรรม การดูดนมของทารก ของ Matthews (1988) ที่ดัดแปลงโดย Chitkow (1999) 3) แบบประเมินระดับการไหลของน้ำนมของ Niwattayakul (2005) และ 4) แบบประเมินการรับรู้ความไม่เพียงพอของน้ำนม ของ Hill & Humenick (1996) ที่แปลเป็นภาษาไทยโดย Srimoragot (2017) วิเคราะห์ข้อมูลโดยใช้สถิติพรรณนา และหาความสัมพันธ์โดยใช้สัมประสิทธิ์สหสัมพันธ์เพียร์สันและสัมประสิทธิ์สหสัมพันธ์สเปียร์แมน ผลการวิจัยพบว่า มารดาครรภ์แรกที่ได้รับการผ่าตัดคลอด ร้อยละ 96.47 มีความรู้เกี่ยวกับการเลี้ยงบุตรด้วยนมมารดาในระดับสูง ร้อยละ 71.80 มีระยะเวลาเริ่มดูดนมครั้งแรกของทารกภายหลังเกิด 2-3ชั่วโมง ร้อยละ 49.40 มีการรับรู้พฤติกรรมการดูดนมของทารกว่ามีประสิทธิภาพปานกลางร้อยละ 45.88 มีปริมาณน้ำนมไหลปานกลาง และ ร้อยละ 61.20 มีการรับรู้ความไม่เพียงพอของน้ำนมต่ำ และความรู้เกี่ยวกับการเลี้ยงบุตรด้วยนมมารดา ระยะเวลาเริ่มดูดนมครั้งแรกของทารก และพฤติกรรมการดูดนมของทารกไม่มีความสัมพันธ์กับการรับรู้ความไม่เพียงพอของน้ำนม สำหรับปริมาณการไหลของน้ำนมมีความสัมพันธ์เชิงลบระดับต่ำกับการรับรู้ความไม่เพียงพอของน้ำนมอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติ (r = -.23, p <.05) ผลการวิจัยครั้งนี้สามารถนำไปใช้เป็นข้อมูลพื้นฐานในการส่งเสริมมารดาครรภ์แรกที่ได้รับการผ่าตัดคลอดให้ประสบความสำเร็จในการเลี้ยงบุตรด้วยนมมารดา Breastfeeding benefits all infants, mothers, society, and nation. Insufficient milk supply is a major cause for cessation of breastfeeding. The purpose of this descriptive correlational research study was to explore factors related to perceived insufficient milk supply among first-time mothers with cesarean section which consisted of knowledge of breastfeeding, time to initial breastfeeding, infant breastfeeding behavior and volume of milk transferred. The samples included 85 first-time postpartum mothers who have had a cesarean section and were admitted at the obstetric wards from January to March 2018 at Mukdahan Hospital. The participants were selected on the basis of inclusion criteria. The research instruments consist of 1) the Breastfeeding Knowledge Questionnaire developed by Narinthip Anuntakulnthee (Anuntakulnthee, 2015), 2) the Infant Breastfeeding Assessment tool (IBFAT) developed by Matthews (1988) and modified by Laddawan Chitkow (1999), 3) the Milk Expression Assessment developed by Raweewan Niwattayakul (2005), and 4) the H & H Lactation Scale developed by Hill & Humenick (1996) translated into Thai by Manassawee Srimoragot, Kannika Kantaruksa, & Nonglak Chaloumsuk (2017). Data were analyzed using descriptive statistics, the Pearson’s correlation coefficient, and the Spearman’s correlation coefficient. Results of the study indicated that almost all of the first-time mothers (96.47%) who have had a cesarean section had knowledge of breastfeeding at a high level, 71.80% initially breastfed for 2-3 hours, 49.40% perceived efficiency of infant breastfeeding behavior at a moderate level, 45.88% had a volume of milk transferred at a moderate level, and 61.20% had a perception of insufficient milk supply at a low level. There was no statistically significant correlation between knowledge of breastfeeding, time to initial breastfeeding of a newborn infant, and infant breastfeeding behavior and the perception of insufficient milk supply. There was no statistically significant correlation between and the perception of an insufficient milk supply. Based on this study, it could be used as baseline information to encourage first-time mothers who have had a cesarean section to breastfeed successfully. |
Description: | วารสาร พยาบาลสาร Nursing Journal วัตถุประสงค์ 1. เพื่อเผยแพร่ผลงานวิจัย ผลงานทางวิชาการ ความรู้ทางการพยาบาลและสุขภาพ 2. เพื่อส่งเสริมงานวิจัย ผลงานทางวิชาการ และเป็นสื่อกลางในการแลกเปลี่ยนความรู้ ที่เกี่ยวข้องกับการพยาบาลและสุขภาพ 3. เพื่อสร้างเครือข่ายความร่วมมือ ระหว่างบุคลากรที่อยู่ในวงการวิชาชีพการพยาบาล |
URI: | https://he02.tci-thaijo.org/index.php/cmunursing/article/view/247941/168424 http://cmuir.cmu.ac.th/jspui/handle/6653943832/71983 |
ISSN: | 0125-5118 |
Appears in Collections: | CMUL: Journal Articles |
Files in This Item:
There are no files associated with this item.
Items in CMUIR are protected by copyright, with all rights reserved, unless otherwise indicated.