Please use this identifier to cite or link to this item: http://cmuir.cmu.ac.th/jspui/handle/6653943832/71974
Title: ประสิทธิผลของการบำบัดทางจิตสังคมสำหรับผู้ที่อยู่ในระยะอาการนำของโรคจิตเภท: การทบทวนอย่างเป็นระบบ
Other Titles: Effectiveness of Psychosocial Intervention for Persons in Prodromal State of Schizophrenia: A Systematic Review
Authors: วัชราภรณ์ ศรีเรือน
ภัทราภรณ์ ทุ่งปันคำ
วรนุช กิตสัมบันท์
Authors: วัชราภรณ์ ศรีเรือน
ภัทราภรณ์ ทุ่งปันคำ
วรนุช กิตสัมบันท์
Keywords: การบำบัดทางจิตสังคม;ผู้ที่อยู่ในระยะอาการนำของโรคจิตเภท;การพัฒนาไปสู่ระยะที่มีอาการทางจิตครั้งแรก;การทบทวนอย่างเป็นระบบ;psychosocial Intervention;prodromal state of schizophrenia;transition to the first episode of psychosis;systematic review
Issue Date: 2563
Publisher: คณะพยาบาลศาสตร์ มหาวิทยาลัยเชียงใหม่
Citation: พยาบาลสาร 47,4 (ต.ค.-ธ.ค. 2563) 76-87
Abstract: โรคจิตเภทเป็นโรคเรื้อรังและมีความรุนแรง การค้นหาวิธีการป้องกันที่มีประสิทธิผลเพื่อป้องกันไม่ให้ผู้ที่อยู่ในระยะอาการนำของโรคจิตเภท พัฒนาไปสู่ระยะที่มีอาการทางจิตครั้งแรก จึงมีความสำคัญเป็นอย่างมาก การศึกษาครั้งนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อศึกษาประสิทธิผลของการบำบัดทางจิตสังคม ในผู้ที่อยู่ระยะอาการนำของโรคจิตเภทต่อการพัฒนาไปสู่ระยะที่มีอาการทางจิตครั้งแรก ตามแนวทางการทบทวนอย่างเป็นระบบในงานวิจัยเชิงปริมาณของสถาบันโจแอนนาบริกส์ 8 ขั้นตอน (JBI, 2014) โดยคัดเลือกจากงานวิจัยเชิงทดลอง หรือกึ่งทดลอง ที่เผยแพร่ตั้งแต่ปี พ.ศ. 2549 ถึง พ.ศ. 2559 (ค.ศ. 2006 ถึง ค.ศ. 2016) ทั้งที่เป็นภาษาไทยและภาษาอังกฤษ ผลการสืบค้นพบงานวิจัยจำนวน 13 เรื่องที่ผ่านเกณฑ์การคัดเลือกและการประเมินคุณภาพของงานวิจัยและนำเข้าสู่การทบทวน โดยใช้โปรแกรมสำเร็จรูป SUMARI ที่พัฒนาโดยสถาบันโจแอนนาบริกส์ (JBI, 2017) ในการวิเคราะห์เมต้า และทำการวิเคราะห์สรุปผลเชิงเนื้อหาในงานวิจัยที่ไม่สามารถวิเคราะห์เมต้าได้ ผลการวิเคราะห์พบว่า การบำบัดทางจิตสังคมที่มีประสิทธิผลต่อการป้องกันการพัฒนาไปสู่ระยะที่มีอาการทางจิตครั้งแรก คือ การบำบัดโดยการปรับความคิดและพฤติกรรม ร่วมกับการให้ยาต้านอาการทางจิตขนาดต่ำ ในระยะเวลา 6 เดือน (Odds Ratio 0.28; 95% confidence interval (CI) 0.09, 0.86; p < 0.05) และการบำบัดโดยการปรับความคิดและพฤติกรรมเพียงอย่างเดียว ในระยะเวลา 12 เดือน (Odds Ratio 0.58; 95% confidence interval (CI) 0.36, 0.95; p < 0.05) จากผลการทบทวนอย่างเป็นระบบ ผู้วิจัยมีข้อเสนอแนะให้มีการพัฒนาแนวปฏิบัติทางคลินิกในการป้องกันการพัฒนาไปสู่ระยะที่มีอาการทางจิตครั้งแรก สำหรับผู้ที่อยู่ในระยะอาการนำของโรคจิตเภท โดยให้การบำบัดโดยการปรับความคิดและพฤติกรรม ร่วมกับการให้ยาต้านอาการทางจิตขนาดต่ำใน ช่วงระยะเวลา 6 เดือน หลังจากนั้นจึงให้การบำบัดโดยการปรับความคิดและพฤติกรรมเพียงอย่างเดียว ต่อเนื่องในระยะเวลา 12 เดือน และควรมีการทำวิจัยเกี่ยวกับประสิทธิผลของการบำบัดทางจิตสังคมหลายรูปแบบร่วมกันเพิ่มเติม เนื่องจากยังมีงานวิจัยจำนวนน้อย และมีคุณภาพในระดับต่ำมาก จึงไม่สามารถสรุปประสิทธิผลจากการวิเคราะห์เมต้าได้ Schizophrenia is a chronic and severe mental illness. Finding an effective intervention in preventing the progression to the first episode of schizophrenia for persons in a prodromal state is very important. The objective of this review is to evaluate the effectiveness of psychosocial intervention in preventing the progression to first episode schizophrenia for persons in a prodromal state. The systematic review of quantitative evidence has been adopted using the eight steps of the Joanna Briggs Institute (JBI, 2014). Studies published in Thai or English language during 2006-2016 were considered for inclusion in this review. The results found 13 studies that met inclusion criteria and critical appraising of the study quality, to include in this systematic review. The meta-analysis was performed to evaluate the effectiveness by using SUMARI software developed by Joanna Briggs Institute (JBI, 2017) and a narrative summary was used when the meta-analysis was not possible. The results found that the psychosocial interventions that were found to be effective in preventing the progression to first episode schizophrenia for persons in a prodromal state included cognitive behavioral therapy combined with a low dose antipsychotic at a six month period (Odds Ratio 0.28; 95% confidence interval (CI) 0.09, 0.86; p<0.05) and cognitive behavioral therapy at a 12-month period (Odds Ratio 0.58; 95% confidence interval (CI) 0.36, 0.95; p<0.05). Based on the results of systematic review, clinical practice guidelines in preventing the progression to first episode schizophrenia for persons in prodromal state should be developed. Cognitive behavioral therapy combined with a low dose antipsychotic should be implemented in a six-month period and cognitive behavioral therapy should be applied in a twelve-month period. Primary research should be further investigated on the effectiveness of a combination of psychosocial interventions due to the existing evidence that showed a small number of studies and very low quality levels which resulted in the inability to perform meta-analysis to synthesis the overall effect size of this kind of intervention.
Description: วารสาร พยาบาลสาร Nursing Journal วัตถุประสงค์ 1. เพื่อเผยแพร่ผลงานวิจัย ผลงานทางวิชาการ ความรู้ทางการพยาบาลและสุขภาพ 2. เพื่อส่งเสริมงานวิจัย ผลงานทางวิชาการ และเป็นสื่อกลางในการแลกเปลี่ยนความรู้ ที่เกี่ยวข้องกับการพยาบาลและสุขภาพ 3. เพื่อสร้างเครือข่ายความร่วมมือ ระหว่างบุคลากรที่อยู่ในวงการวิชาชีพการพยาบาล
URI: https://he02.tci-thaijo.org/index.php/cmunursing/article/view/247922/168413
http://cmuir.cmu.ac.th/jspui/handle/6653943832/71974
ISSN: 0125-5118
Appears in Collections:CMUL: Journal Articles

Files in This Item:
There are no files associated with this item.


Items in CMUIR are protected by copyright, with all rights reserved, unless otherwise indicated.