Please use this identifier to cite or link to this item: http://cmuir.cmu.ac.th/jspui/handle/6653943832/71973
Full metadata record
DC FieldValueLanguage
dc.contributor.authorธานี แก้วธรรมานุกูลen_US
dc.contributor.authorวีระพร ศุทธากรณ์en_US
dc.contributor.authorกัลยาณี ตันตรานนท์en_US
dc.date.accessioned2021-02-05T02:29:36Z-
dc.date.available2021-02-05T02:29:36Z-
dc.date.issued2563en_US
dc.identifier.citationพยาบาลสาร 47,4 (ต.ค.-ธ.ค. 2563) 100-113en_US
dc.identifier.issn0125-5118en_US
dc.identifier.urihttps://he02.tci-thaijo.org/index.php/cmunursing/article/view/247924/168414en_US
dc.identifier.urihttp://cmuir.cmu.ac.th/jspui/handle/6653943832/71973-
dc.descriptionวารสาร พยาบาลสาร Nursing Journal วัตถุประสงค์ 1. เพื่อเผยแพร่ผลงานวิจัย ผลงานทางวิชาการ ความรู้ทางการพยาบาลและสุขภาพ 2. เพื่อส่งเสริมงานวิจัย ผลงานทางวิชาการ และเป็นสื่อกลางในการแลกเปลี่ยนความรู้ ที่เกี่ยวข้องกับการพยาบาลและสุขภาพ 3. เพื่อสร้างเครือข่ายความร่วมมือ ระหว่างบุคลากรที่อยู่ในวงการวิชาชีพการพยาบาลen_US
dc.description.abstractเกษตรกรปลูกข้าวส่วนใหญ่เป็นแรงงานนอกระบบที่เผชิญกับความเสี่ยงหรือปัญหาด้านสุขภาพทั้งจากการทำงานและที่ไม่เกี่ยวเนื่องจากการทำงาน การวิจัยเชิงพรรณนาครั้งนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อศึกษาภาวะสุขภาพและพฤติกรรมการทำงานของเกษตรกรปลูกข้าวในเขตอำเภอวังทอง จังหวัดพิษณุโลก คัดเลือกกลุ่มตัวอย่างแบบเจาะจงตามคุณสมบัติที่กำหนด จำนวน 385 คน รวบรวมข้อมูลโดยใช้แบบสัมภาษณ์ซึ่งพัฒนาโดยผู้วิจัยที่ผ่านการตรวจสอบความตรงด้านเนื้อหาและทดสอบความเชื่อมั่น วิเคราะห์ข้อมูลโดยใช้สถิติเชิงพรรณนา ผลการศึกษาพบว่า ในส่วนของภาวะสุขภาพทั่วไป กลุ่มตัวอย่าง ร้อยละ 16.4 และ 34.3 มีดัชนีมวลกายเกินเกณฑ์ปกติและอ้วนตามลำดับ และกลุ่มตัวอย่าง ร้อยละ 38.7 มีโรคประจำตัว ระดับภาวะสุขภาพในช่วง 1 เดือนที่ผ่านมากลุ่มตัวอย่าง ร้อยละ 75.3 มีภาวะสุขภาพโดยรวมอยู่ในระดับปานกลาง และกลุ่มตัวอย่างร้อยละ 68.0 และ 82.6 มีภาวะสุขภาพรายด้าน คือ ด้านจิตใจและด้านร่างกายอยู่ในระดับปานกลาง ส่วนภาวะสุขภาพตามความเสี่ยงจากการทำงานในช่วง 1 เดือนที่ผ่านมา กลุ่มตัวอย่างระบุ เครียด/กังวลจากสถานการณ์ที่ควบคุมไม่ได้ ร้อยละ 61.0 มีอาการเหนื่อยอ่อนเพลียกระหายน้ำ ร้อยละ 64.2 และมีอาการปวดเมื่อยตามร่างกาย ร้อยละ 73.5 สำหรับอุบัติเหตุและการบาดเจ็บจากการทำงาน พบกลุ่มตัวอย่างเพียงร้อยละ 8.8 ที่มีการบาดเจ็บจากการทำงานใน ช่วง 3 เดือนที่ผ่านมา ส่วนพฤติกรรมการทำงาน พบว่า ด้านการใช้อุปกรณ์ป้องกันอันตรายส่วนบุคคล กลุ่มตัวอย่างมีการปฏิบัติทุกครั้งในการใช้อุปกรณ์ป้องกันอันตรายส่วนบุคคลขณะทำงานในสัดส่วนน้อยที่สุด (ร้อยละ 61.1) ส่วนการตรวจสอบสภาพความพร้อมของอุปกรณ์ก่อนใช้งานพบ ร้อยละ 75.6 ทำความสะอาดและจัดเก็บรักษาอุปกรณ์หลังใช้งาน ร้อยละ 76.9 และเปลี่ยนอุปกรณ์เมื่อชำรุด ร้อยละ 80.6 ด้านการปฏิบัติตามหลักการทำงานที่ปลอดภัย กลุ่มตัวอย่างมีการปฏิบัติทุกครั้งในการทำความสะอาดบริเวณที่ทำงานหลังเลิกงาน ร้อยละ 87.0 งดดื่มเครื่องดื่มที่มีแอลกอฮอล์ก่อนหรือขณะทำงาน ร้อยละ 87.7 และเก็บเครื่องมือเป็นระเบียบหลังใช้งาน ร้อยละ 90.6 ส่วนการหลีกเลี่ยงปฏิบัติงานเมื่อมีอาการอ่อนเพลียพบในสัดส่วนน้อยที่สุด ร้อยละ 77.9 ข้อค้นพบจากการศึกษาครั้งนี้จะเป็นข้อมูลพื้นฐานสำคัญสำหรับพยาบาลอาชีวอนามัยและบุคลากรที่เกี่ยวข้องในการพัฒนาโปรแกรมการสร้างเสริมสุขภาพและการปรับเปลี่ยนพฤติกรรมการทำงานที่มีประสิทธิภาพสำหรับกลุ่มเกษตรกรปลูกข้าว เพื่อป้องกันและลดภาวะเสี่ยงต่อสุขภาพจากการทำงานของเกษตรกรปลูกข้าว Rice farmers are largely part of the informal workforce and face work and non-work related health risks or health problems. The purpose of this descriptive research study was to examine the health status and work behaviors of 385 rice farmers in Wang Thong District, Phitsanulok Province. The study sample was purposively selected based on the inclusion criteria. Data were collected using a structured interview-form developed by the researcher and confirmed for both content validity and reliability. Data were analyzed using descriptive statistics. The results revealed that: In terms of general health, 16.4% and 34.3% of the sample had body mass indices in the overweight and obesity ranges, respectively. About 38.7% of the sample had underlying diseases. Over the past month, 75.3% of the sample had moderately good health, while 68.0% and 82.6% had moderately good psychological and physical health. For work-related health risk in the past month, the participants experienced stress/anxiety from situations beyond their control (61.0%), fatigue and thirst (64.2%), and bodily pain (73.5%). Only 8.8% experienced work-related injuries in the past three months. Regarding work behaviors, 61.1%, the lowest proportion across behaviors, regularly practiced personal protective equipment [PPE] use at work (61.1%), while 75.6% of the sample inspected the condition of PPE prior to use, 76.9% cleaned and properly stored PPE after use, and 80.6% replaced PPE when damaged. With regards to adherence to workplace safety rules, 87.0% always cleaned the work area after completing work, 87.7% avoided drinking alcohol before or during work, and 90.6% properly stored tools following use. Avoiding work when fatigued was the rule followed by the smallest proportion of workers (77.9%). These findings provide a significant foundation for occupational health nurses and related personnel to develop effective health promotion and behavioral modification programs for rice farmers. This is anticipated to prevent and reduce work-related health risks among rice farmers.en_US
dc.language.isoThaen_US
dc.publisherคณะพยาบาลศาสตร์ มหาวิทยาลัยเชียงใหม่en_US
dc.subjectภาวะสุขภาพen_US
dc.subjectอุบัติเหตุและการบาดเจ็บจากการทำงานen_US
dc.subjectพฤติกรรมการทำงานen_US
dc.subjectเกษตรกรปลูกข้าวen_US
dc.subjectพยาบาลอาชีวอนามัยen_US
dc.subjectHealth statusen_US
dc.subjectAccident and work related injuryen_US
dc.subjectWork Behaviorsen_US
dc.subjectRice Farmersen_US
dc.subjectOccupational Health Nursesen_US
dc.titleการวิเคราะห์สถานการณ์ด้านอาชีวอนามัยและสิ่งแวดล้อมของกลุ่มเกษตรกรปลูกข้าว: ภาวะสุขภาพและพฤติกรรมการทำงานen_US
dc.title.alternativeSituation Analysis of Occupational and Environmental Health Among Rice Farmers: Health Status and Work Behavioren_US
Appears in Collections:CMUL: Journal Articles

Files in This Item:
There are no files associated with this item.


Items in CMUIR are protected by copyright, with all rights reserved, unless otherwise indicated.