Please use this identifier to cite or link to this item:
http://cmuir.cmu.ac.th/jspui/handle/6653943832/71972
Full metadata record
DC Field | Value | Language |
---|---|---|
dc.contributor.author | ชนิชา ไชยต้นเทือก | en_US |
dc.contributor.author | พิมพาภรณ์ กลั่นกลิ่น | en_US |
dc.contributor.author | มาลี เอื้ออำนวย | en_US |
dc.date.accessioned | 2021-02-05T02:29:36Z | - |
dc.date.available | 2021-02-05T02:29:36Z | - |
dc.date.issued | 2563 | en_US |
dc.identifier.citation | พยาบาลสาร 47,4 (ต.ค.-ธ.ค. 2563) 39-52 | en_US |
dc.identifier.issn | 0125-5118 | en_US |
dc.identifier.uri | https://he02.tci-thaijo.org/index.php/cmunursing/article/view/247913/168406 | en_US |
dc.identifier.uri | http://cmuir.cmu.ac.th/jspui/handle/6653943832/71972 | - |
dc.description | วารสาร พยาบาลสาร Nursing Journal วัตถุประสงค์ 1. เพื่อเผยแพร่ผลงานวิจัย ผลงานทางวิชาการ ความรู้ทางการพยาบาลและสุขภาพ 2. เพื่อส่งเสริมงานวิจัย ผลงานทางวิชาการ และเป็นสื่อกลางในการแลกเปลี่ยนความรู้ ที่เกี่ยวข้องกับการพยาบาลและสุขภาพ 3. เพื่อสร้างเครือข่ายความร่วมมือ ระหว่างบุคลากรที่อยู่ในวงการวิชาชีพการพยาบาล | en_US |
dc.description.abstract | การปฏิบัติการส่งเสริมความฉลาดทางอารมณ์ให้แก่เด็กวัยก่อนเรียน จะช่วยให้เด็กแสดงออกทางอารมณ์ได้อย่างเหมาะสม และมีปฏิสัมพันธ์ที่ดีกับบุคคลอื่น การศึกษาครั้งนี้เป็นการวิจัยเชิงพรรณนาหาความสัมพันธ์ เพื่อศึกษาปัจจัยที่เกี่ยวข้องกับการปฏิบัติการส่งเสริมความฉลาดทางอารมณ์ของเด็กวัยก่อนเรียนของผู้ดูแลหลัก ได้แก่ ปัจจัยส่วนบุคคลของผู้ดูแลหลัก และการสนับสนุนทางสังคม คัดเลือกกลุ่มตัวอย่างแบบเฉพาะเจาะจง คือผู้ดูแลหลักของเด็กวัยก่อนเรียน อายุ 3-5 ปี ที่เข้ารับบริการที่ศูนย์พัฒนาเด็กเล็กขนาดใหญ่ในจังหวัดนครพนม 4 แห่ง จำนวน 85 ราย เก็บข้อมูลตั้งแต่เดือนมกราคม ถึงเดือนมีนาคม พ.ศ. 2561 เครื่องมือที่ใช้ในวิจัยประกอบด้วย แบบสอบถามข้อมูลส่วนบุคคลของเด็กและผู้ดูแลหลัก แบบสอบถามการรับรู้ของผู้ดูแลเกี่ยวกับการได้รับการช่วยเหลือสนับสนุนทางสังคม และแบบสอบถามการปฏิบัติของผู้ดูแลหลักในการส่งเสริมความฉลาดทางอารมณ์ของเด็กวัย 3-5 ปี วิเคราะห์ข้อมูลด้วยสถิติเชิงพรรณนา สถิติสัมประสิทธิ์สหสัมพันธ์แบบไบซีเรียล และสถิติสัมประสิทธิ์สหสัมพันธ์ของสเปียร์แมน ผลการศึกษาพบว่า 1.ผู้ดูแลหลัก ร้อยละ 80.00 มีค่าเฉลี่ยของคะแนนการปฏิบัติในการส่งเสริมความฉลาดทางอารมณ์ของเด็กวัยก่อนเรียนโดยรวมอยู่ในระดับสูง (=3.35, SD.=0.34) 2.ระดับการศึกษา และรายได้ มีความสัมพันธ์ทางบวกกับการปฏิบัติของผู้ดูแลหลักในการส่งเสริมความฉลาดทางอารมณ์ของเด็กวัยก่อนเรียนอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติ (r=.289, r=463, p<.01 ตามลำดับ) 3.การสนับสนุนทางสังคมมีความสัมพันธ์ทางบวกกับการปฏิบัติของผู้ดูแลหลักในการส่งเสริมความฉลาดทางอารมณ์ของเด็กวัยก่อนเรียนอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติ (r=.291, p<.01) ผลการศึกษาในครั้งนี้สามารถใช้เป็นข้อมูลพื้นฐานสำหรับพยาบาลในการวางแนวทางส่งเสริม และให้การสนับสนุนทางสังคมเพื่อให้ผู้ดูแลหลักได้ปฏิบัติการส่งเสริมความฉลาดทางอารมณ์ให้เด็กวัยก่อนเรียนได้อย่างมีประสิทธิภาพ Emotional intelligence promoting practices to preschool children could help children express emotion and interaction with others. The purposes of this descriptive correlational study were to explore preschool children’s emotional quotient promoting practices among primary caregivers and related factors, personal factors of primary caregivers and social support. The samples, selected by purposive sampling, included 85 primary caregivers of preschool children aged 3-5 years who received care at the four large child development centers at Nakhon Panom Province. Data were collected from January to March 2018. The research instruments consisted of the Demographic Questionnaire of Child and Primary Caregivers, the Caregiver’s Perceived Help and Social Support Questionnaire, and the Primary Caregivers’ Practice on Promoting Emotional Intelligence of Children Aged 3-5 years old Questionnaire. Data were analyzed using descriptive statistics, Biserial correlation coefficient, and Spearman rank correlation coefficient. The study results were as follows. 1. Eighty percent of primary caregivers had a mean score of preschool’s emotional intelligence promoting practice at a high level (=3.35, S.D. = 0.34). 2. Education level and income had a statistically significant positive correlation with primary caregivers’ practice in promoting preschool children’s emotional intelligence (r=.289, r=.463, p<.01, respectively) 3. Social support had a statistically significant positive correlation with primary caregivers’ practice in promoting preschool children’s emotional intelligence (r=.291, p <.01) The results of this study can be used by nurses as baseline information in planning for promotion and providing social support to primary caregivers so that they can proceed emotional intelligence promoting practices for preschool children effectively. | en_US |
dc.language.iso | Tha | en_US |
dc.publisher | คณะพยาบาลศาสตร์ มหาวิทยาลัยเชียงใหม่ | en_US |
dc.subject | การปฏิบัติการส่งเสริมความฉลาดทางอารมณ์ | en_US |
dc.subject | เด็กวัยก่อนเรียน | en_US |
dc.subject | ผู้ดูแลหลัก | en_US |
dc.subject | ปัจจัยที่เกี่ยวข้อง | en_US |
dc.subject | Emotional Quotient Promoting Practices | en_US |
dc.subject | Preschool Children | en_US |
dc.subject | Primary Caregivers | en_US |
dc.subject | Factors Related | en_US |
dc.title | ปัจจัยที่เกี่ยวข้องกับการปฏิบัติการส่งเสริมความฉลาดทางอารมณ์ ของเด็กวัยก่อนเรียนของผู้ดูแลหลัก | en_US |
dc.title.alternative | Factors Related to Preschool Children Emotional Quotient Promoting Practices Among Primary Caregivers | en_US |
Appears in Collections: | CMUL: Journal Articles |
Files in This Item:
There are no files associated with this item.
Items in CMUIR are protected by copyright, with all rights reserved, unless otherwise indicated.