Please use this identifier to cite or link to this item:
http://cmuir.cmu.ac.th/jspui/handle/6653943832/71968
Full metadata record
DC Field | Value | Language |
---|---|---|
dc.contributor.author | นิภาวัลย์ จันทร์หอม | en_US |
dc.contributor.author | สุธิศา ล่ามช้าง | en_US |
dc.contributor.author | จุฑารัตน์ มีสุขโข | en_US |
dc.date.accessioned | 2021-02-05T02:29:35Z | - |
dc.date.available | 2021-02-05T02:29:35Z | - |
dc.date.issued | 2563 | en_US |
dc.identifier.citation | พยาบาลสาร 47,4 (ต.ค.-ธ.ค. 2563) 15-26 | en_US |
dc.identifier.issn | 0125-5118 | en_US |
dc.identifier.uri | https://he02.tci-thaijo.org/index.php/cmunursing/article/view/247898/168389 | en_US |
dc.identifier.uri | http://cmuir.cmu.ac.th/jspui/handle/6653943832/71968 | - |
dc.description | วารสาร พยาบาลสาร Nursing Journal วัตถุประสงค์ 1. เพื่อเผยแพร่ผลงานวิจัย ผลงานทางวิชาการ ความรู้ทางการพยาบาลและสุขภาพ 2. เพื่อส่งเสริมงานวิจัย ผลงานทางวิชาการ และเป็นสื่อกลางในการแลกเปลี่ยนความรู้ ที่เกี่ยวข้องกับการพยาบาลและสุขภาพ 3. เพื่อสร้างเครือข่ายความร่วมมือ ระหว่างบุคลากรที่อยู่ในวงการวิชาชีพการพยาบาล | en_US |
dc.description.abstract | การเจ็บป่วยเฉียบพลันในเด็กอายุต่ำกว่า 5 ปี เป็นสาเหตุหลักที่ทำให้เด็กป่วยต้องเข้ารับการรักษาในโรงพยาบาล ผู้ดูแลมีบทบาทสำคัญในการช่วยเหลือดูแลและรับรู้ถึงอาการผิดปกติซึ่งทำให้เกิดแรงจูงใจในการนำเด็กมาโรงพยาบาล การวิจัยครั้งนี้เป็นการวิจัยเชิงพรรณนาแบบหาความสัมพันธ์ เพื่อศึกษาแรงจูงใจของผู้ดูแลและความสัมพันธ์ระหว่างประสบการณ์การดูแลเด็กป่วย การรับรู้ความรุนแรงของอาการเจ็บป่วยกับแรงจูงใจในการนำเด็กป่วยเฉียบพลันมาโรงพยาบาล คัดเลือกกลุ่มตัวอย่างแบบเฉพาะเจาะจง เป็นผู้ดูแลเด็กป่วยเฉียบพลันอายุแรกเกิดถึง 5 ปี ที่เข้ารับการตรวจในห้องตรวจเด็กนอกเวลาราชการ โรงพยาบาลมหาราชนครเชียงใหม่ จำนวน 85 ราย ระหว่างเดือนสิงหาคม ถึง เดือนกันยายน พ.ศ. 2562 เครื่องมือที่ใช้รวบรวมข้อมูล ประกอบด้วย แบบสอบถามการรับรู้ความรุนแรงของอาการเจ็บป่วยและแบบสอบถามแรงจูงใจของผู้ดูแลในการนำเด็กป่วยเฉียบพลันมาโรงพยาบาล ทดสอบค่าความเชื่อมั่นโดยใช้สัมประสิทธิ์แอลฟาของครอนบาคเท่ากับ 0.91 วิเคราะห์ข้อมูลโดยใช้สถิติเชิงพรรณนาและสถิติสัมประสิทธิ์สหสัมพันธ์แบบสเปียร์แมน ผลการศึกษาพบว่า 1. คะแนนเฉลี่ยแรงจูงใจของผู้ดูแลในการนำเด็กป่วยเฉียบพลันมาโรงพยาบาล โดยรวมอยู่ในระดับมาก (= 470.67, SD = 77.73) โดยแรงจูงใจในการนำเด็กป่วยมาโรงพยาบาลมากที่สุด คือ ความต้องการให้เด็กในความดูแลได้รับประโยชน์จากการรักษาที่ดีที่สุดและได้รับการรักษาอย่างรวดเร็ว มีคะแนนเฉลี่ยรายข้อที่ 9.47 และ 9.38 คะแนนตามลำดับ และแรงจูงใจในการนำเด็กป่วยมาโรงพยาบาลน้อยที่สุด คือ ความผิดพลาดในการปฏิบัติงานและความผิดพลาดในการสั่งยาของแพทย์ที่ดูแลประจำ มีคะแนนเฉลี่ยรายข้อที่ 2.28 และ 3.02 คะแนนตามลำดับ 2. ประสบการณ์การดูแลเด็กป่วยมีความสัมพันธ์ทางลบระดับปานกลางกับแรงจูงใจของผู้ดูแลในการนำเด็กป่วยเฉียบพลันมาโรงพยาบาลอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติ (rs= -.324, p < .01) และการรับรู้ความรุนแรงของอาการเจ็บป่วยมีความสัมพันธ์ทางบวกระดับปานกลางกับแรงจูงใจของผู้ดูแลในการนำเด็กป่วยเฉียบพลันมาโรงพยาบาลอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติ (rs= .443, p < .01) ผลการศึกษาในครั้งนี้ทำให้ได้ข้อมูลพื้นฐานเกี่ยวกับแรงจูงใจของผู้ดูแลในการนำเด็กป่วยเฉียบพลันมาโรงพยาบาลและปัจจัยที่เกี่ยวข้อง ที่สามารถนำไปสู่การวางแผนในการปฏิบัติการพยาบาลเพื่อให้ข้อมูลความรู้ และคำแนะนำเกี่ยวกับการดูแลสุขภาพเด็กป่วยต่อไป Acute illness is the major cause of hospitalization for children under 5 year of age. Caregivers play an important role in providing care and perceiving any abnormal symptoms which motivate bringing the child to a hospital. This descriptive correlational research aimed to study the motivations of caregivers and the relationship between experience in caring for a sick child, perception of the severity of illness among caregivers, and motivations in bringing a sick child to a hospital. The study participants, selected by purposive sampling, included 85 caregivers of children with acute illness, aged from newborn to 5 years who visited the after - hour pediatric clinic at Maharaj Nakorn Chiang Mai Hospital from August to September 2019.The research instruments included the Severity Illness Perception and the Motivation of Caregiver questionnaire. The reliability of the instrument was tested using Cronbach’s alpha coefficient and had a value of .91. Data were analyzed using descriptive statistics and Spearman’s rank correlation coefficient. The study results revealed that: 1.The total mean scores of motivation among caregivers in bringing a child with an acute illness to a hospital had a high level (= 470.67, SD = 77.73). The biggest motivation in bringing a child to a hospital was the desire to benefit from the best treatment and to get treatment for a child quickly; the average scores were 9.47 and 9.38, respectively. Mistakes made by family physicians and prescription errors were the least motivating reasons to bring a sick child to a hospital; the average scores were 2.28 and 3.02 respectively. 2.Experience in caring for a sick child showed a statistically significant negative relationship with motivation of caregivers at a moderate level (rs =-.324, p<.01). Perception of severity of illness showed a statistically significant positive relationship with motivation of caregivers at a moderate level (rs =.443, p<.01), The results of this study provided basic information about motivations of caregivers in bringing a child with an acute illness to a hospital and related factors. These can be used as a guide to plan for nursing interventions in order to provide further knowledge and suggestion for caring for an ill child. | en_US |
dc.language.iso | Tha | en_US |
dc.publisher | คณะพยาบาลศาสตร์ มหาวิทยาลัยเชียงใหม่ | en_US |
dc.subject | แรงจูงใจ | en_US |
dc.subject | ผู้ดูแล | en_US |
dc.subject | เด็ก | en_US |
dc.subject | การเจ็บป่วยเฉียบพลัน | en_US |
dc.subject | Motivation | en_US |
dc.subject | caregiver | en_US |
dc.subject | child | en_US |
dc.subject | Acute illness | en_US |
dc.title | ปัจจัยที่เกี่ยวข้องกับแรงจูงใจของผู้ดูแลในการนำเด็กป่วยเฉียบพลันมาโรงพยาบาล | en_US |
dc.title.alternative | Factor Related to Motivation of Caregivers in Bringing Children with Acute Illness to a Hospital | en_US |
Appears in Collections: | CMUL: Journal Articles |
Files in This Item:
There are no files associated with this item.
Items in CMUIR are protected by copyright, with all rights reserved, unless otherwise indicated.