Please use this identifier to cite or link to this item: http://cmuir.cmu.ac.th/jspui/handle/6653943832/71966
Full metadata record
DC FieldValueLanguage
dc.contributor.authorวาสนา วิรุญรัตน์en_US
dc.contributor.authorอำพรรณ พรมศิริen_US
dc.date.accessioned2021-02-05T02:29:35Z-
dc.date.available2021-02-05T02:29:35Z-
dc.date.issued2552en_US
dc.identifier.citationวารสารเกษตร 25, 1 (ก.พ. 2552), 47-57en_US
dc.identifier.issn0857-0841en_US
dc.identifier.urihttps://li01.tci-thaijo.org/index.php/joacmu/article/view/245832/168053en_US
dc.identifier.urihttp://cmuir.cmu.ac.th/jspui/handle/6653943832/71966-
dc.descriptionวารสารเกษตร เป็นวารสารวิชาการของคณะเกษตรศาสตร์ มหาวิทยาลัยเชียงใหม่ โดยวารสารจะออกราย 4 เดือน (มกราคม พฤษภาคม และกันยายน) ซึ่งจะพิมพ์เผยแพร่ผลงานวิชาการสาขา เกษตรศาสตร์ อุตสาหกรรมเกษตร สัตวแพทย์ และชีววิทยา ทั้งจากภายในและภายนอกมหาวิทยาลัย และปัจจุบันวารสารเกษตรอยู่ในฐานข้อมูลระดับชาติ ศูนย์ดัชนีการอ้างอิงวารสารไทย (TCI) กลุ่มที่ 1en_US
dc.description.abstractศึกษาการตอบสนองของหญ้าแพงโกล่าต่อการใส่ปุ๋ยอัตราต่าง ๆ ในด้านผลผลิตน้ำหนักแห้ง โดยทำการทดลองในพื้นที่นาของเกษตรกรที่อำเภอไชยปราการ จำนวน 7 ราย และที่อำเภอสันกำแพง จำนวน 5 ราย แปลงเกษตรกร 1 รายเป็นแปลงทดลองหนึ่งซ้ำ อัตราการใส่ปุ๋ยสำหรับการปลูกหญ้าในพื้นที่เกษตรกรแต่ละราย ในแต่ละรอบการตัด มี 5 อัตราดังนี้ 1) การใส่ปุ๋ยตามคำแนะนำของกรมปศุสัตว์ (อัตรา R) โดยใช้ปุ๋ย 15-15-15 ในอัตรา 25 กก.ต่อไร่ และยูเรียอัตรา 20 กก.ต่อไร่ 2) การใส่ปุ๋ยตามอัตราเกษตรกร (อัตรา F) ซึ่งใช้ยูเรียในอัตราตั้งแต่ 0-20 กก./ไร่ ขึ้นอยู่กับเกษตรกรแต่ละราย 3) การใส่ปุ๋ยตามผลตามการวิเคราะห์ดินและปริมาณ N P K ในผลผลิตหญ้า (อัตรา ST) 4) การใส่ปุ๋ยอัตรา ST ร่วมกับการใส่ปูนในอัตรา 1,000 กก.ต่อไร่ (อัตรา STL) และ 5) การใส่ปุ๋ยอัตรา ST ร่วมกับ การใส่มูลวัวในอัตรา 3,000 กก.ต่อไร่ต่อปี (อัตรา STM) ดินในพื้นที่ของเกษตรกรที่ใช้ทดลองทุกแปลงมีปฏิกิริยาของดินในระดับที่เป็นกรดจัดมาก และมีปริมาณของฟอสฟอรัสที่เป็นประโยชน์ได้ และโพแทสเซียมที่สามารถแลกเปลี่ยนได้อยู่ในระดับสูงมาก ดังนั้นการใส่ป็ยในอัตรา ST จึ่งใช้เฉพาะยูเรียในอัตรา 17 กก.ต่อไร่ต่อต้นหญ้า 1 รอบ ผลการทดลองพบว่า หย้าแพงโกล่าที่ปลูกในพื้นที่ทั้ง 2 แห่งมีการตอบสนองต่ออัตราการใส่ปุ๋ยอย่างมีนัยสำคัญ แต่ระยะเวลาที่พบการตอบสนองต่อปุ๋ยอย่างมีนัยสำคัญ และลักษณะในการตอบสนองต่อการใส่ปุ๋ยแต่อัตราในแต่ละพื้นที่มีความแตกต่างกัน ในแต่ละรอบการตัดที่หญ้ามีการตอบสนองต่อการใส่ปุ๋ยนั้น พบว่าทั้งสองพื้นที่การใส่อัตรา R ทำให้หญ้ามีผลผลิตน้ำหนักแห้งสูงที่สุด และแตกต่างจากการใส่ปุ๋ยอัตราอื่น ๆ อย่างมีนัยสำคัญ สำหรับการทดลองที่อำเภอสันกำแพง การใส่ปุ๋ยอัตรา STL และ STM ให้ผลผลิตน้ำหนักแห้งดีกว่าอัตรา ST ในทางสถิติในบางช่วงของการเก็บเกี่ยว ถึงแม้การใส่ปุ๋ยอัตรา R ทำให้ผลผลิตรวมของหญ้าในพื้นที่ทั้งสองอำเภอที่ได้จากการ เก็บเกี่ยว 4 ครั้ง สูงกว่าทุกกรรมวิธีของการใส่ปุ๋ย ST แต่ ST ทุกกรรมวิธีให้ผลผลิตต่อหนึ่งหน่วยน้ำหนักของธาตุอาหารหลักในปุ๋ยที่ใส่มากกว่าอัตรา R ประมาณ 2 เท่า Two on-farm trials were conducted in the paddy fields of the farmers at Chaiprakarn and Sankamphaeng districts, Chiang Mai province in order to study the responses of pangola grass to fertilizer application rates on dry matter yield. There were 7 farmers' fields at Chaiprakarn and 5 fields at Sankamphaeng. The experimental design for each district was RCB using each farmer field as one block. Five fertilizer application rates used in each farmer field were as follows : 1) recommended rate of Department of Life Stock (R-rate) using 25 kg of 15-15-15 and 20 kg of urea/rai, 2) farmer rate (F-rate) using urea within the range of 0-20 kg/rai depended on each farmer, 3) application rate according to soil test and crop removal of N, P and K (ST-rate), 4) ST-rate plus lime application at the rate of 1,000 kg/rai (STL-rate), and 5) ST-rate plus cow manure application at the rate of 3,000 kg/railyear (STM-rate). The soils from all tested farmers' fields were extremely acidic with high leveis of available P and exchangeable K. Thus, only urea at the rate of 17 kg/rai/harvest was used in the ST-rate. Results found that pangola grass from both areas responded signifcantly to fertilizer application rates, but the cutting period in which the grass had significant responses and the responsive pattemn in each area were different. In both areas, at each cutting period in which the significant responses were found, the R-rate produced highest dry matter yield and differed significantly from the other rates. At Sankamphaeng area, STL and STM rates were' significantly better than ST-rate 'for dry matter yield at some cutting periods. Though the R-rate provided the total dry matter yield from the four cuttings more than the ST-rates at both areas, but the use of ST-rates produced 2 times more dry matter per unit weight of primary nutrients in the applied fertilizer than the R-rate.en_US
dc.language.isoThaen_US
dc.publisherคณะเกษตรศาสตร์ มหาวิทยาลัยเชียงใหม่en_US
dc.subjectหญ้าแพงโกล่าen_US
dc.subjectการตอบสนองต่อปุ๋ยen_US
dc.subjectผลผลิตน้ำหนักแห้งen_US
dc.subjectการทดลองในพื้นที่เกษตรกรen_US
dc.subjectPangola grassen_US
dc.subjectfertilizer responseen_US
dc.subjectdry matter yielden_US
dc.subjecton-farm trialen_US
dc.titleการตอบสนองของผลผลิตหญ้าแพงโกล่าแห้งต่อการใส่ปุ๋ยในพื้นที่เกษตรกรen_US
dc.title.alternativeOn-farm Trials on the Dry Matter Yield Response of Pangola Grass (Digitaria decumbens) to Fertilizer Applicationen_US
Appears in Collections:CMUL: Journal Articles

Files in This Item:
There are no files associated with this item.


Items in CMUIR are protected by copyright, with all rights reserved, unless otherwise indicated.