Please use this identifier to cite or link to this item: http://cmuir.cmu.ac.th/jspui/handle/6653943832/71964
Full metadata record
DC FieldValueLanguage
dc.contributor.authorกาญจณีย์ สุมัชยาen_US
dc.contributor.authorจุฑามาศ โชติบางen_US
dc.contributor.authorศรีมนา นิยมค้าen_US
dc.date.accessioned2021-02-05T02:29:35Z-
dc.date.available2021-02-05T02:29:35Z-
dc.date.issued2563en_US
dc.identifier.citationพยาบาลสาร 47,4 (ต.ค.-ธ.ค. 2563) 1-14en_US
dc.identifier.issn0125-5118en_US
dc.identifier.urihttps://he02.tci-thaijo.org/index.php/cmunursing/article/view/247896/168386en_US
dc.identifier.urihttp://cmuir.cmu.ac.th/jspui/handle/6653943832/71964-
dc.descriptionวารสาร พยาบาลสาร Nursing Journal วัตถุประสงค์ 1. เพื่อเผยแพร่ผลงานวิจัย ผลงานทางวิชาการ ความรู้ทางการพยาบาลและสุขภาพ 2. เพื่อส่งเสริมงานวิจัย ผลงานทางวิชาการ และเป็นสื่อกลางในการแลกเปลี่ยนความรู้ ที่เกี่ยวข้องกับการพยาบาลและสุขภาพ 3. เพื่อสร้างเครือข่ายความร่วมมือ ระหว่างบุคลากรที่อยู่ในวงการวิชาชีพการพยาบาลen_US
dc.description.abstractความพร้อมสำหรับการจำหน่ายจากโรงพยาบาลของมารดาที่มีทารกเป็นโรคหัวใจพิการแต่กำเนิดชนิดไม่เขียวมีความสำคัญต่อการดูแลทารกภายหลังการจำหน่ายจากโรงพยาบาล การศึกษาครั้งนี้วัตถุประสงค์เพื่อศึกษาความพร้อมสำหรับการจำหน่ายจากโรงพยาบาลของมารดาที่มีทารกเป็นโรคหัวใจพิการแต่กำเนิดชนิดไม่เขียว และศึกษาอำนาจการทำนายระหว่างลักษณะการอยู่อาศัยในครอบครัว คุณภาพการสอนก่อนจำหน่ายจากโรงพยาบาล และการประสานการดูแลก่อนจำหน่ายจากโรงพยาบาล กับความพร้อมสำหรับการจำหน่ายจากโรงพยาบาลของมารดาที่มีทารกเป็นโรคหัวใจพิการแต่กำเนิดชนิดไม่เขียว กลุ่มตัวอย่าง คือ มารดาที่มีทารกเป็นโรคหัวใจพิการแต่กำเนิดชนิดไม่เขียวในระยะก่อนผ่าตัด ก่อนจำหน่ายทารกออกจากโรงพยาบาล ในโรงพยาบาลระดับตติยภูมิ 6 แห่ง กำหนดขนาดของกลุ่มตัวอย่างโดยใช้ตารางประมาณค่าทดสอบ และเลือกกลุ่มตัวอย่างแบบเจาะจง จำนวน 77 ราย เครื่องมือที่ใช้ในการวิจัย ประกอบด้วย แบบสอบถามข้อมูลส่วนบุคคล แบบสอบถามความพร้อมสำหรับการจำหน่ายจากโรงพยาบาล ฉบับบิดา/มารดา แบบสอบถามคุณภาพการสอนก่อนจำหน่ายจากโรงพยาบาล ฉบับบิดา/มารดา และแบบสอบถามการประสานการดูแลก่อนจำหน่ายจากโรงพยาบาล ฉบับบิดา/มารดา ซึ่งแบบสอบถามฉบับบิดา/มารดา ทั้ง 3 ฉบับถูกแปลเป็นภาษาไทยโดยศิริรัตน์ ปานอุทัย และได้นำไปทดสอบกับกลุ่มตัวอย่าง 10 คน เพื่อตรวจสอบหาความเชื่อมั่น โดยใช้สูตรสัมประสิทธิ์อัลฟาของครอนบาคได้เท่ากับ .92, .95 และ .98 ตามลำดับ การวิเคราะห์ข้อมูล โดยใช้สถิติพรรณนา และใช้สถิติการวิเคราะห์ถดถอยเชิงเส้นแบบพหุคูณแบบขั้นตอน ได้ผลการวิจัย ดังนี้ มารดาที่มีทารกเป็นโรคหัวใจพิการแต่กำเนิดชนิดไม่เขียวส่วนใหญ่มีความพร้อมสำหรับการจำหน่ายจากโรงพยาบาล โดยมีคะแนนรวมเฉลี่ยของความพร้อมสำหรับการจำหน่ายจากโรงพยาบาล คุณภาพการ สอนก่อนจำหน่ายจากโรงพยาบาล และการประสานการดูแลก่อนจำหน่ายจากโรงพยาบาลอยู่ในระดับสูง คุณภาพการสอนก่อนจำหน่ายจากโรงพยาบาล สามารถทำนายความพร้อมสำหรับการจำหน่ายจากโรงพยาบาลของมารดาที่มีทารกเป็นโรคหัวใจพิการแต่กำเนิดชนิดไม่เขียวได้ร้อยละ 16.4 อย่างมีนัยสำคัญทางสถิติ โดยมีความสัมพันธ์ทางบวก (R2 = .164, p < .001) เมื่อวิเคราะห์คุณภาพการสอนก่อนจำหน่ายจากโรงพยาบาลเป็นรายด้าน พบว่า ทักษะการสอนของพยาบาล สามารถทำนายความพร้อมสำหรับการจำหน่ายจากโรงพยาบาลของมารดาที่มีทารกเป็นโรคหัวใจพิการแต่กำเนิดชนิดไม่เขียวได้ร้อยละ 13 อย่างมีนัยสำคัญทางสถิติ โดยมีความสัมพันธ์ทางบวก (R2 = .130, p < .01) อย่างไรก็ตามลักษณะการอยู่อาศัยในครอบครัว และการประสานการดูแลก่อนจำหน่ายจากโรงพยาบาล ไม่สามารถทำนายความพร้อมสำหรับการจำหน่ายจากโรงพยาบาล (p > .05) ผลการศึกษาครั้งนี้ทำให้มีความรู้และความเข้าใจเกี่ยวกับความพร้อมสำหรับการจำหน่ายจากโรงพยาบาลของมารดาที่มีทารกเป็นโรคหัวใจพิการแต่กำเนิดชนิดไม่เขียว และปัจจัยที่มีอิทธิพลต่อความพร้อมสำหรับการจำหน่ายจากโรงพยาบาลของมารดาที่มีทารกเป็นโรคหัวใจพิการแต่กำเนิดชนิดไม่เขียว และสามารถนำไปใช้ในการปรับปรุงรูปแบบและแนวทางในการเตรียมความพร้อมของมารดาในการดูแลทารกที่เป็นโรคหัวใจพิการแต่กำเนิดชนิดไม่เขียวก่อนจำหน่ายออกจากโรงพยาบาลอย่างเป็นระบบ และมีประสิทธิภาพมากยิ่งขึ้น Readiness for Hospital discharge among mothers of infants with acyanotic congenital heart disease (CHD) is crucial for infants caring in the postdischarge period. The aims of the study were to describe readiness for hospital discharge among mothers of infants with acyanotic CHD and to investigate the predictive relationships between family characteristic, quality of teaching, and care coordination and readiness for hospital discharge among these mothers. Weiss ‘s Readiness for Hospital Discharge concept were used as conceptual framework of the study. The sample consisted of the mothers of infants who were received preoperative care and planned for discharge from six tertiary hospitals to homes. The study was conducted from July 2016 to May 2017. A power analysis was estimated the sample of 77 that would be selected a purposive sampling. The research instruments included demographic data form, Readiness for Hospital Discharge Scale [RHDS] – parent form, Quality of Discharge Teaching Scale [QDTS] – parent form, and Care Coordination Scale [CCS] – parent form. These parent form 3 scales were translated into Thai version by Sririrat Panuthai and tested for reliability with 10 samples and Cronbach’s alpha reliability coefficient were .92, .95, and .98, respectively. The data was analyzed using descriptive statistics and stepwise multiple linear regression analysis. The results were as follows: Most of the mothers reported being ready to go home. The mean scores of readiness for hospital discharge, quality of discharge teaching, and care coordination were high level. The quality of discharge teaching total scale score was statistically significant and positively predictor of readiness for hospital discharge scale among mothers of infants with acyanotic CHD at 16.4% (R2 = .164, p < .001). When analyze the subscale scores of the quality of discharge teaching scale, the teaching skill subscale score was also significant and positively predictor of readiness for hospital discharge scale among mothers of infants with acyanotic CHD at 13% (R2 = .130, p < .01). However, family characteristic and care coordination scale were not statistically significant predictor of readiness for hospital discharge scale among mothers of infants with acyanotic CHD (p > .05). The results provide knowledge and understanding of the readiness for hospital discharge among the mothers of infants with acyanotic CHD and the factors influencing their readiness. The results can be used to improve both pattern and guideline of preparation for hospital discharge in the mothers of infants with acyanotic CHD systematically and effectively.en_US
dc.language.isoThaen_US
dc.publisherคณะพยาบาลศาสตร์ มหาวิทยาลัยเชียงใหม่en_US
dc.subjectโรคหัวใจพิการแต่กำเนิดชนิดไม่เขียวen_US
dc.subjectการประสานการดูแลก่อนจำหน่ายจากโรงพยาบาลen_US
dc.subjectทารกen_US
dc.subjectคุณภาพการสอนก่อนจำหน่ายจากโรงพยาบาลen_US
dc.subjectความพร้อมสำหรับการจำหน่ายจากโรงพยาบาลen_US
dc.subjectAcyanotic Congenital Heart Diseaseen_US
dc.subjectCare coordinationen_US
dc.subjectInfantsen_US
dc.subjectQuality of discharge teachingen_US
dc.subjectReadiness for Hospital Dischargeen_US
dc.titleปัจจัยที่มีอิทธิพลต่อความพร้อมสำาหรับการจำาหน่ายจากโรงพยาบาลของมารดาที่มีทารกเป็ นโรคหัวใจพิการแต่กำาเนิดชนิดไม่เขียว ปัจจัยที่มีอิทธิพลต่อความพร้อมสำาหรับการจำาหน่ายจากโรงพยาบาลของมารดาที่มีทารกเป็ นโรคหัวใจพิการแต่กำาเนิดชนิดไม่เขียวen_US
dc.title.alternativeFactors Influencing Readiness for Hospital Discharge Among Mothers of Infants with Acyanotic Congenital Heart Diseaseen_US
Appears in Collections:CMUL: Journal Articles

Files in This Item:
There are no files associated with this item.


Items in CMUIR are protected by copyright, with all rights reserved, unless otherwise indicated.