Please use this identifier to cite or link to this item: http://cmuir.cmu.ac.th/jspui/handle/6653943832/71215
Full metadata record
DC FieldValueLanguage
dc.contributor.authorคณิตา ทองเจริญen_US
dc.contributor.authorวีรเทพ พงษ์ประเสริฐen_US
dc.contributor.authorไสว บูรณพานิชพันธุ์en_US
dc.contributor.authorจิราพร ตยุติวุฒิกุลen_US
dc.date.accessioned2021-01-27T03:33:06Z-
dc.date.available2021-01-27T03:33:06Z-
dc.date.issued2552en_US
dc.identifier.citationวารสารเกษตร 25, 3 (มิ.ย. 2552), 245-255en_US
dc.identifier.issn0857-0841en_US
dc.identifier.urihttps://li01.tci-thaijo.org/index.php/joacmu/article/view/246431/168514en_US
dc.identifier.urihttp://cmuir.cmu.ac.th/jspui/handle/6653943832/71215-
dc.descriptionวารสารเกษตร เป็นวารสารวิชาการของคณะเกษตรศาสตร์ มหาวิทยาลัยเชียงใหม่ โดยวารสารจะออกราย 4 เดือน (มกราคม พฤษภาคม และกันยายน) ซึ่งจะพิมพ์เผยแพร่ผลงานวิชาการสาขา เกษตรศาสตร์ อุตสาหกรรมเกษตร สัตวแพทย์ และชีววิทยา ทั้งจากภายในและภายนอกมหาวิทยาลัย และปัจจุบันวารสารเกษตรอยู่ในฐานข้อมูลระดับชาติ ศูนย์ดัชนีการอ้างอิงวารสารไทย (TCI) กลุ่มที่ 1en_US
dc.description.abstractหนอนใยผัก (Plutella xylostella L.) เป็นศัตรูที่สำคัญที่สุดของพืชวงศ์กะหล่ำทั่วโลก และเกษตรกรจำเป็นต้องใช้สารฆ่าแมลงที่มีความรุนแรงในการกำจัดอย่างต่อเนื่อง สารฆ่าแมลงหลายชนิดมีประสิทธิภาพลดลงอย่างรวดเร็วภายหลังจากใช้ในการควบคุมหนอนใยผักช่วงระยะเวลาหนึ่ง อย่างไรก็ตาม ประสิทธิภาพของสารฆ่าแมลงมีระดับแตกต่างไปตามพื้นที่แหล่งเพาะปลูกผัก ประกอบกับในปัจจุบันได้มีสารฆ่าแมลงชนิดใหม่หลายชนิดที่มีประสิทธิภาพสูงในการควบคุมหนอนใยผักและปลอดภัยต่อสภาพแวดล้อมวางจำหน่ายในท้องตลาดเพิ่มมากขึ้น ซึ่งข้อมูลของประสิทธิภาพ ในการควบคุมหนอนใยผักของสารเหล่านี้มีน้อยมาก ดังนั้นจึงได้ดำเนินการศึกษาประสิทธิภาพของสารฆ่าแมลงบางชนิด ที่มีต่อหนอนใยผัก เขตภาคเหนือตอนล่างของประเทศไทยขึ้น โดยมุ่งเน้นการศึกษาผลของสารฆ่าแมลงที่เกษตรกรนิยมใช้ 15 ชนิด คือ อะบาเม็กติน, คลอร์ฟีนาเพอร์, สปินโนแซด, อินด๊อกซาคาร์บ, ฟิโปรนิล, โพรไทโอฟอส, โพรฟีโนฟอส, เดลทาเมทริน, แลมบ์ดาไซฮาโลทริน, ไซเพอร์เมทริน, คลอร์ฟลูอาซูรอน, เอสเฟนวาลีเรต, อีมาเม็กติน เบนโซเอต, ไดอะเฟนไทยูรอน และ เชื้อแบคทีเรีย บาซิลลัส ทรูริงเยนซิส ทดสอบกับหนอนใยผัก จากพื้นที่ปลูกผักวงศ์กะหล่ำในเขตจังหวัดตาก, นครสวรรค์, พิษณุโลก, เพชรบูรณ์ และอุตรดิตถ์ โดยมีจังหวัดนนทบุรี และเชียงใหม่ เป็นแหล่งเปรียบเทียบ โดยแบ่งเป็นการทดสอบกับหนอนใยผัก 2 วิธีคือ วิธีหยดสารฆ่าแมลงลงบนตัวแมลง และ วิธีการจุ่มใบพืช บนแผนการทดลองแบบสุ่มสมบูรณ์ มีจำนวน 4 ซ้ำ ผลการศึกษาพบว่า ประสิทธิภาพของสารฆ่าแมลงทั้ง 15 ชนิด ที่มีต่อหนอนใยผัก มีความแตกต่างไปตามแหล่งพื้นที่อาศัย ช่องทางการได้รับสาร และชนิดของสารฆ่าแมลง ในลักษณะที่สอดคล้องกันอย่างมาก ประสิทธิภาพในการควบคุมหนอนใยผักจาก จังหวัดพิษณุโลก และนนทบุรี ของสารฆ่าแมลงที่ศึกษามีระดับต่ำมาก วิธีการหรือช่องทางการได้รับสาร ที่มีผลรุนแรงต่อหนอนใยผักมากที่สุดคือ วิธีการจุ่มใบพืช และสารฆ่าแมลงที่มีประสิทธิภาพสูงในการควบคุมหนอนใยผัก คือ ไดอะเฟนไทยูรอน อินด๊อกซาคาร์บ ฟิโปรนิล สปินโนแซด โพรไทโอฟอส และ เชื้อแบคทีเรีย บาซิลลัส ทรูริงเยนซิส Diamondback moth, Plutella xylostella L., is one of the most important pests of cruciferous crops worldwide. Farmers need to apply many high toxic insecticides continuously. After used for a period of time, the efficiency of many insecticides was reduced rapidly; however, its level was varied among vegetable growing areas. In addition, many new insecticides with high efficiency to control this insect and safe to environment have been continueously luanched into the market and little information of their efficiciency on this insect is available. Therefore, study on efficiency of certain insecticides on P. xylostella in lower northern Thailand was carried out in order to compare the effect of 15 commonly used insecticides: abamectin, chlorfenapyr, spinosad, indoxacarb, fipronil, prothiofos, profenofos, deltamethrin, lambda cyhalothrin, cypermethrin, chlorfluazuron, esfenvalerate, emamectin benzoate, diafenthiuron and Bacillus thuringiensis on P. xylostella collected from cabbage fields located in Tak , Nakhorn Sawan, Phitsanulok, Petchabun, Uttaradit, and two referent sites from Nontaburi and Chiang Mai. Insecticidal bioassays using topical application and leaf dipping methods were performed on P. xylostella based on completely randomized design with 4 replications. Results showed that the effect of the 15 insecticides on P. xylostella was significantly different among locations, insecticidal intake routes, and kinds of insecticides but they gave the same tendency of change. The low efficency of insecticided was found in the insects collected from Phitsanulok and Nontaburi and the most effective application methods were leaf dipping. Diafenthiuron, indoxacarb, fipronil, spinosad, prothiofos and Bacillus thuringiensis had high efficiency in controlling P. xylostella from these areas.en_US
dc.language.isoThaen_US
dc.publisherคณะเกษตรศาสตร์ มหาวิทยาลัยเชียงใหม่en_US
dc.subjectประสิทธิภาพของสารฆ่าแมลงen_US
dc.subjectหนอนใยผักen_US
dc.subjectภาคเหนือตอนล่างของประเทศไทยen_US
dc.subjectefficiency of insecticidesen_US
dc.subjectdiamondback mothen_US
dc.subjectPlutella xylostellaen_US
dc.subjectlower northern Thailanden_US
dc.titleประสิทธิภาพของสารฆ่าแมลงบางชนิดที่มีต่อหนอนใยผัก ในเขตภาคเหนือตอนล่างของประเทศไทยen_US
dc.title.alternativeEfficiency of Certain Insecticides on Diamondback Moth in Lower Northern Thailanden_US
Appears in Collections:CMUL: Journal Articles

Files in This Item:
There are no files associated with this item.


Items in CMUIR are protected by copyright, with all rights reserved, unless otherwise indicated.