Please use this identifier to cite or link to this item: http://cmuir.cmu.ac.th/jspui/handle/6653943832/71209
Full metadata record
DC FieldValueLanguage
dc.contributor.authorรุ่งทิพย์ อุทุมพันธ์en_US
dc.contributor.authorธวัชชัย รัตน์ชเลศen_US
dc.contributor.authorพฤกษ์ ยิบมันตะสิริen_US
dc.contributor.authorจงรักษ์ พันธ์ไชยศรีen_US
dc.date.accessioned2021-01-27T03:33:06Z-
dc.date.available2021-01-27T03:33:06Z-
dc.date.issued2552en_US
dc.identifier.citationวารสารเกษตร 25, 2 (มิ.ย. 2552), 163-168en_US
dc.identifier.issn0857-0841en_US
dc.identifier.urihttps://li01.tci-thaijo.org/index.php/joacmu/article/view/246240/168365en_US
dc.identifier.urihttp://cmuir.cmu.ac.th/jspui/handle/6653943832/71209-
dc.descriptionวารสารเกษตร เป็นวารสารวิชาการของคณะเกษตรศาสตร์ มหาวิทยาลัยเชียงใหม่ โดยวารสารจะออกราย 4 เดือน (มกราคม พฤษภาคม และกันยายน) ซึ่งจะพิมพ์เผยแพร่ผลงานวิชาการสาขา เกษตรศาสตร์ อุตสาหกรรมเกษตร สัตวแพทย์ และชีววิทยา ทั้งจากภายในและภายนอกมหาวิทยาลัย และปัจจุบันวารสารเกษตรอยู่ในฐานข้อมูลระดับชาติ ศูนย์ดัชนีการอ้างอิงวารสารไทย (TCI) กลุ่มที่ 1en_US
dc.description.abstractศัตรูพืช และการสูญหายของทรัพยากรพันธุกรรมพืช นับเป็นความเสี่ยงเชิงชีวภาพทางเกษตรที่สำคัญในระบบการผลิตลิ้นจี่ การศึกษานี้มีวัตถุประสงค์เพื่อประเมินความเสี่ยงเชิงชีวภาพ และการจัดการความเสี่ยงของเกษตรกรในระบบการผลิตลิ้นจี่ จ. พะเยา โดยจะกล่าวถึงเฉพาะความเสี่ยงจากศัตรูพืช ศึกษาจาก 4 ตำบล ใน อ. แม่ใจ และ 1 ตำบล ใน อ. เมืองพะเยา จ. พะเยา จำนวนทั้งสิ้น 113 สวน ระยะเวลาศึกษาครอบคลุมหนึ่งฤดูกาลผลิต ตั้งแต่พฤศจิกายน 2549-กรกฎาคม 2550 ใช้วิธีการสำรวจและสอบถาม รวมถึงการค้นหาและระบุตำแหน่งเชิงพื้นที่ แล้ววิเคราะห์ความเสี่ยงจากศัตรูพืชจากการประเมินของเกษตรกร พร้อมทั้งระบุวิธีการจัดการความเสี่ยงจากศัตรูพืชของเกษตรกร ผลการศึกษาพบว่า ลิ้นจี่ของ จ. พะเยา เกือบทั้งหมดเป็นพันธุ์ฮงฮวย ปลูกบนนิเวศเกษตรที่ดอนพื้นราบจนถึงที่ดอนลูกคลื่นลอนชัน ศัตรูพืชเป็นปัญหาที่สำคัญในระบบการผลิตลิ้นจี่ คิดเป็นร้อยละ 28.7 ของผู้ปลูกลิ้นจี่ รองลงมาเป็นความแปรปรวนของราคา ความแปรปรวนของภูมิอากาศ การขาดแคลนน้ำ และต้นทุนการผลิตสูง ตามลำดับ ศัตรูพืชในกลุ่มโรคพืชจัดว่ามีความเสี่ยงสูงสุด ร้อยละ 10.4 มีโรคที่สำคัญ คือ โรคกร้านแดด และโรคผลแตกเน่า ส่วนศัตรูพืชที่พบรองลงมาคือ แมลงศัตรูพืช วัชพืช และสัตว์ศัตรูพืช มีค่าดัชนีความรุนแรง ร้อยละ 2.9, 2.6 และ 2.3 ตามลำดับ เกษตรกรร้อยละ 79.3 ยังใช้สารเคมีในการจัดการโรคพืช แมลงศัตรูพืช และสัตว์ศัตรูพืชเป็นหลัก ส่วนวัชพืชเกือบทั้งหมดใช้วิธีเขตกรรม มีเกษตรกรบางส่วนใช้การจัดการศัตรูพืชแบบผสมผสาน และวิธีเขตกรรม ร้อยละ 11.7 และ 9.0 ตามลำดับ เพื่อลดปริมาณการใช้สารเคมีเกษตร นอกจากนี้เกษตรกร ร้อยละ 99.1 มีการตัดแต่งกิ่งหลังการเก็บเกี่ยว Pests and narrow genetic base are two important biological risks in litchi production. The study aimed to assess the extent of biological risks, with emphasis on pests, and farmers’ management practices to overcome or reduce the risks. The field research was conducted at major litchi production areas in four sub-districts of Mae Chai district and one sub-district of Mueang district of Phayao province with a total of 113 farm samples. The study covered one season of fruit production from November 2006 to July 2007. The methods consisted of farm survey, and semi-structured interview. Each sampled farm was located with GPS. Biological risks from pests were assessed by farmers. The study showed that almost all litchi varieties planted by farmers was Honghuai variety, distributed on rainfed uplands with varying topography from flat to undulating and sloping uplands. The production constraints as identified by farmers were pests (28.7 percent), followed by price fluctuation, climatic variation, water shortage, and increasing production cost, respectively. Among the biological pests, plant diseases, such as sun burn and fruit rot, constituted the highest risk with 10.4 percent. This was then followed by insects, weeds, and animal pests with severity index of 2.9, 2.6, and 2.3 percent, respectively. About 79.3 percent of farmers used chemicals to control plant diseases, insects, and animal pests. Farmers used cultural methods as weed management practice. A few farmers had adopted integrated pest management (11.7 percent), and cultural practices (9.0) to reduce agro-chemical use. Almost all farmers (99.1 percent) carried out tree pruning practice after fruit harvest.en_US
dc.language.isoThaen_US
dc.publisherคณะเกษตรศาสตร์ มหาวิทยาลัยเชียงใหม่en_US
dc.subjectความเสี่ยงเชิงชีวภาพen_US
dc.subjectการจัดการความเสี่ยงen_US
dc.subjectลิ้นจี่ จังหวัดพะเยาen_US
dc.subjectBiological risken_US
dc.subjectrisk managementen_US
dc.subjectlitchien_US
dc.subjectPhayao provinceen_US
dc.titleความเสี่ยงเชิงชีวภาพในระบบการผลิตลิ้นจี่และ การจัดการของเกษตรกรในจังหวัดพะเยาen_US
dc.title.alternativeBiological Risks in Litchi Production System and Farmers’ Management in Phayao Provinceen_US
Appears in Collections:CMUL: Journal Articles

Files in This Item:
There are no files associated with this item.


Items in CMUIR are protected by copyright, with all rights reserved, unless otherwise indicated.