Please use this identifier to cite or link to this item: http://cmuir.cmu.ac.th/jspui/handle/6653943832/71207
Title: ประสิทธิผลของเชื้อราปฏิปักษ์ <I>Trichoderma </I> spp. ต่อการควบคุมโรคแอนแทรคโนสของถั่วเหลืองในระยะต้นอ่อน
Other Titles: Efficacy of Antagonistic Fungi <I> Trichoderma </I> spp. in Controlling Soybean Seedling Anthracnose
Authors: เกศิณี แก้วมาลา
สมบัติ ศรีชูวงศ์
Authors: เกศิณี แก้วมาลา
สมบัติ ศรีชูวงศ์
Keywords: ถั่วเหลือง;โรคแอนแทรคโนส;การป้องกันกำจัดโดยชีววิธี;Soybean;anthracnose;Colletotrichum truncatum;Trichoderma spp.;biocontrol
Issue Date: 2552
Publisher: คณะเกษตรศาสตร์ มหาวิทยาลัยเชียงใหม่
Citation: วารสารเกษตร 25, 3 (มิ.ย. 2552), 229-236
Abstract: จากการตรวจหาเชื้อรา Trichoderma spp. ที่ติดมากับเมล็ดพันธุ์ถั่วเหลือง 4 พันธุ์ได้แก่ ชม.60, สจ. 5, MJ 9518-2 และ MJ 9520-21 โดยวิธีเพาะบนกระดาษชื้นสามารถแยกเชื้อรา Trichoderma spp. ได้ 4 ไอโซเลทจากพันธุ์ ชม. 60, สจ. 5 และ MJ 9520-21 เมื่อนำเชื้อรา Trichoderma spp. มาทดสอบประสิทธิภาพการยับยั้งเชื้อรา Colletotrichum truncatum สาเหตุโรคแอนแทรคโนสโดยวิธี dual culture พบว่าเชื้อรา Trichoderma spp. ทั้ง 4 ไอโซเลท ให้เปอร์เซ็นต์การยับยั้งสูง และเมื่อนำมาศึกษากลไกการเป็นปฏิปักษ์โดยวิธี slide dual culture พบว่าเชื้อรา Trichoderma spp. แสดงการเป็นปรสิตโดยการพันรัดและแทงเส้นใยเข้าไปภายในเส้นใยของเชื้อรา C. truncatum เมื่อทดสอบประสิทธิภาพของเชื้อรา Trichoderma sp. ทั้ง 4 ไอโซเลท และสารเคมี captan ในการควบคุมโรคแอนแทรคโนสในระยะ ต้นอ่อนของถั่วเหลืองพันธุ์ ชม. 60 ในสภาพโรงเรือนพบว่า เชื้อรา Trichoderma spp. ทุกไอโซเลท และสารเคมี captan ช่วยลดเปอร์เซ็นต์การเกิดโรคแอนแทรคโนสในต้นอ่อนของถั่วเหลืองได้โดยสารเคมี captan นั้นให้ประสิทธิภาพสูงกว่าการใช้เชื้อรา Trichoderma spp. ทุกไอโซเลท อย่างมีนัยสำคัญทางสถิติ The antagonistic fungi, Trichoderma spp. were isolated from soybean seeds cultivars CM 60, SJ 5, MJ 9518-2 and MJ 9520-21 by blotter method. Four isolates of Trichoderma spp. were obtained from soybean cultivars CM 60, SJ 5 and MJ 9520-21. These Trichoderma spp. were tested for antagonistic activities using dual culture method against Colletotrichum truncatum which caused anthracnose disease of soybean. All isolates of Trichoderma spp. had shown high percentage of growth inhibition. On the slide dual culture technique, Trichoderma spp. showed mycoparasitic characters by coiling around and penetrating into C. truncatum hyphae. The efficacies of the four isolates of Trichoderma spp. and captan fungicide in controlling anthracnose on soybean seedlings cultivar CM 60 were examined under the greenhouse condition. The results showed that all isolates of Trichoderma spp. and captan had reduced the anthracnose infection on the tested soybean seedlings. In contrast, captan statistically gave more effectiveness in controlling of anthracnose on soybean seedlings than all isolates of Trichoderma spp..
Description: วารสารเกษตร เป็นวารสารวิชาการของคณะเกษตรศาสตร์ มหาวิทยาลัยเชียงใหม่ โดยวารสารจะออกราย 4 เดือน (มกราคม พฤษภาคม และกันยายน) ซึ่งจะพิมพ์เผยแพร่ผลงานวิชาการสาขา เกษตรศาสตร์ อุตสาหกรรมเกษตร สัตวแพทย์ และชีววิทยา ทั้งจากภายในและภายนอกมหาวิทยาลัย และปัจจุบันวารสารเกษตรอยู่ในฐานข้อมูลระดับชาติ ศูนย์ดัชนีการอ้างอิงวารสารไทย (TCI) กลุ่มที่ 1
URI: https://li01.tci-thaijo.org/index.php/joacmu/article/view/246384/168477
http://cmuir.cmu.ac.th/jspui/handle/6653943832/71207
ISSN: 0857-0841
Appears in Collections:CMUL: Journal Articles

Files in This Item:
There are no files associated with this item.


Items in CMUIR are protected by copyright, with all rights reserved, unless otherwise indicated.