Please use this identifier to cite or link to this item: http://cmuir.cmu.ac.th/jspui/handle/6653943832/71185
Full metadata record
DC FieldValueLanguage
dc.contributor.authorวัชรพจน์ ทรัพย์สงวนบุญen_US
dc.contributor.authorรัตนพร แจ้งเรื่องen_US
dc.date.accessioned2021-01-27T03:33:05Z-
dc.date.available2021-01-27T03:33:05Z-
dc.date.issued2556en_US
dc.identifier.citationวารสารเศรษฐศาสตร์ มหาวิทยาลัยเชียงใหม่ 17, 2 (ก.ค.-ธ.ค. 2556), 72-87en_US
dc.identifier.issn0859-8479en_US
dc.identifier.urihttps://so01.tci-thaijo.org/index.php/CMJE/article/view/61045/50285en_US
dc.identifier.urihttp://cmuir.cmu.ac.th/jspui/handle/6653943832/71185-
dc.descriptionวารสารเศรษฐศาสตร์ มหาวิทยาลัยเชียงใหม่ ภายใต้การดำเนินงานโดยคณะเศรษฐศาสตร์ มหาวิทยาลัยเชียงใหม่ รับพิจารณาบทความวิชาการ บทความวิจัย ทั้งภาษาไทยและภาษาอังกฤษที่มีเนื้อหาเกี่ยวข้องกับเศรษฐศาสตร์โดยใช้รูปแบบการการพิจารณาบทความโดยที่ผู้ทรงคุณวุฒิจะไม่ทราบชื่อผู้เขียน และผู้เขียนจะไม่ทราบชื่อผู้ทรงคุณวุฒิ (Double Blind Process) มีจุดประสงค์เพื่อเผยแพร่วิชาการด้านเศรษฐศาสตร์ และเป็นสื่อกลางในการรายงานความก้าวหน้าทางวิชาการen_US
dc.description.abstractการจัดตั้งศูนย์กระจายสินค้าเพื่อให้การจัดการสินค้ามีประสิทธิภาพ ถือว่าเป็นกลยุทธ์หนึ่ง ในการบริหารโซ่อุปทานค้าปลีก โดยมีเป้าหมายเพื่อที่จะลดระยะเวลาในการขนส่งสินค้าและ ลดระดับการถือครองสินค้าคงคลัง ณ จุดขายทั้งนี้ ผู้ค้าปลีกต้องสามารถสำหรับธุรกิจค้าปลีก ในประเทศไทยก็ให้ความสำคัญกับการบริหารจัดการสินค้าแบบรวมศูนย์ (Centralization) เช่นกัน จะเห็นได้จากการที่บริษัทชั้นนำด้านธุรกิจค้าปลีกประเภทห้างสรรพสินค้าซึ่งผู้วิจัย ใช้เป็นกรณีศึกษาได้นำหลักการการจัดการสินค้าแบบรวมศูนย์เข้ามาใช้โดยการจัดตั้ง ศูนย์กระจายสินค้าเพื่อบริหารจัดการให้แก่ห้างสรรพสินค้าในเครือมานานกว่า 18 ปี ถึงแม้ว่า บริษัทกรณีศึกษา ได้มีการนำหลักการบริหารศูนย์กระจายสินค้าแบบรวมศูนย์มานาน แต่ด้วยการเจริญเติบโตของธุรกิจที่รวดเร็ว ทำให้ศูนย์กระจายสินค้าภายใต้การดูแลของ บริษัทนั้นกำลังเผชิญปัญหาในเรื่องของพื้นที่ที่ใช้ในการรองรับปริมาณสินค้าที่จะกระจาย ไปยังสาขาต่างๆ มากขึ้น ประกอบกับปัญหาด้านต้นทุนแรงงานที่เพิ่มขึ้นจากนโยบาย ค่าจ้างแรงงานขั้นตํ่าของรัฐบาล ด้วยปัจจัยต่างๆ เหล่านี้ทำให้ธุรกิจจำเป็นจะต้องพัฒนา ปรับปรุงกระบวนการศูนย์กระจายสินค้าเพื่อที่จะสามารถใช้ทรัพยากรที่มีจำกัดได้อย่างมี ประสิทธิภาพ จากการศึกษาผู้วิจัยพบว่าสาเหตุหลักของพื้นที่และแรงงานไม่เพียงพอกับความ ต้องการนั้นมาจากการกระบวนการภายในศูนย์กระจายสินค้าของบริษัทยังมีกิจกรรมที่ไม่ เกิดประโยชน์ (Non–Value Added Activities) เป็นจำนวนมากอย่างการรอคอยสินค้า การเคลื่อนย้ายที่ไม่ก่อให้เกิดประโยชน์ หากบริษัทสามารถลดกิจกรรมเหล่านี้ลงได้ ประกอบกับการนำเทคโนโลยีเข้ามาใช้ในการบริหารจัดการตั้งแต่ต้นกระบวนการของ ศูนย์กระจายสินค้า จะช่วยให้บริษัทสามารถแก้ไขปัญหาเกี่ยวกับพื้นที่และแรงงานได้ งานวิจัยนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อวิเคราะห์กระบวนการทำงานที่ก่อให้เกิดความสูญเปล่าทั้ง 7 ประการ ประกอบไปด้วยผังกระบวนการทางธุรกิจภายใต้ระบบ IDEF (Integration Definition Function Modeling) จากนั้นหาแนวทางในการปรับปรุงกระบวนการทำงาน ด้วยการลดกระบวนการสูญเปล่าที่เกิดขึ้นให้น้อยลงตามหลักการของ ECRS คือ การกำจัด (Eliminate) การรวมเข้าด้วยกัน (Combine) การจัดลำดับใหม่(Rearrange) และการทำให้ ง่ายขึ้น (Simplify) พร้อมทั้งการพัฒนาระบบการแจ้งเตือนการส่งมอบล่วงหน้า (Advanced Shipping Notice: ASN) เพื่อที่ให้การไหลของข้อมูลสารสนเทศมีประสิทธิภาพตั้งแต่ ต้นกระบวนการของภายในศูนย์กระจายสินค้า Distribution center is a key success factor to manage merchandises in supply chain by reducing inventory level and lead–time. In Thailand, the leading retailers are using distribution center to improve their supply chain performance. One department store is used to be a case study company for this research. The current issue is the limited space and unskilled labors working in distribution center. To support the business growth, the case study company is looking for the improvement of physical flow and information flow. This research aims to identify wastes in retail supply chain using IDEF (Integration Definition Function Modeling). Once wastes are identified, they will be reduced through ECRS principles including Eliminate, Combine, Rearrange and Simplify. The result is used as an input to develop ASN (Advanced Shipping Notice) to improve the information flow from upstream of retail supply chain.en_US
dc.language.isoThaen_US
dc.publisherคณะเศรษฐศาสตร์ มหาวิทยาลัยเชียงใหม่en_US
dc.subjectความสูญเปล่าทั้ง 7 ประการen_US
dc.subjectโซ่อุปทานค้าปลีกen_US
dc.subjectผังกระบวนการทางธุรกิจภายใต้ ระบบ IDEFen_US
dc.subjectระบบการแจ้งเตือนการส่งมอบล่วงหน้าen_US
dc.subject7 Wastes,en_US
dc.subjectRetail Supply Chainen_US
dc.subjectIntegration Definition Function Modeling (IDEF)en_US
dc.subjectAdvanced Shipping Notice (ASN)en_US
dc.titleการวิเคราะห์ความสูญเปล่าในโซ่อุปทานค้าปลีก ด้วยผังกระบวนการทางธุรกิจภายใต้ระบบ INTEGRATION DEFINITION FOR FUNCTION MODELING (IDEF)en_US
dc.title.alternativeWASTE IDENTIFICATION IN RETAIL SUPPLY CHAIN USING INTEGRATION DEFINITION FOR FUNCTION MODELING (IDEF)en_US
Appears in Collections:CMUL: Journal Articles

Files in This Item:
There are no files associated with this item.


Items in CMUIR are protected by copyright, with all rights reserved, unless otherwise indicated.