Please use this identifier to cite or link to this item:
http://cmuir.cmu.ac.th/jspui/handle/6653943832/71138
Full metadata record
DC Field | Value | Language |
---|---|---|
dc.contributor.author | สุธิศา ล่ามช้าง | en_US |
dc.contributor.author | ศรีมนา นิยมค้า | en_US |
dc.contributor.author | อรพินท์ จันทร์ปัญญาสกุล | en_US |
dc.contributor.author | ปรีชา ล่ามช้าง | en_US |
dc.contributor.author | รัตนาวดี ชอนตะวัน | en_US |
dc.date.accessioned | 2021-01-27T03:33:04Z | - |
dc.date.available | 2021-01-27T03:33:04Z | - |
dc.date.issued | 2558 | en_US |
dc.identifier.citation | พยาบาลสาร 42, 3 (ก.ค.-กั.ย. 2558), 13-23 | en_US |
dc.identifier.issn | 0125-0079 | en_US |
dc.identifier.uri | https://he02.tci-thaijo.org/index.php/cmunursing/article/view/43418/35875 | en_US |
dc.identifier.uri | http://cmuir.cmu.ac.th/jspui/handle/6653943832/71138 | - |
dc.description | วารสารพยาบาลเป็นวารสารทางวิชาการที่เผยแพร่ความรู้ทางการพยาบาลและการผดุงครรภ์ รวมทั้งความรู้ใหม่ในวงการสุขภาพที่เกี่ยวข้องและเป็นสื่อกลางในการแลกเปลี่ยนความรู้ ความคิดเห็น และ ประสบการณ์เกี่ยวกับวิชาชีพการพยาบาลอีกทั้งเสริมสร้างความสัมพันธ์ที่ดีระหว่างผู้ร่วมวิชาชีพและภาพลักษณ์ของวิชาชีพการพยาบาล จัดทำโดย สมาคมพยาบาลแห่งประเทศไทยฯ กำหนดออกปีละ 4 ฉบับ | en_US |
dc.description.abstract | การติดเชื้อทางเดินหายใจในเด็กจะมีผลกระทบต่อด้านจิตใจของผู้ดูแล การศึกษาเชิงพรรณนาแบบหาความสัมพันธ์ครั้งนี้ มีวัตถุประสงค์เพื่อศึกษาปัจจัยที่เกี่ยวข้องกับการรับรู้ความรุนแรงของการเจ็บป่วยของผู้ดูแลเด็กที่ติดเชื้อทางเดินหายใจ กลุ่มตัวอย่างคือ ผู้ดูแลเด็กที่ติดเชื้อทางเดินหายใจอายุตั้งแต่ 1 เดือนถึง 5 ปี ที่เข้ารับการรักษาในหอผู้ป่วยกุมารเวชกรรม โรงพยาบาลระดับตติยภูมิ ระหว่างเดือนกุมภาพันธ์ถึงเดือนสิงหาคม 2557 จำนวน 90 ราย โดยเลือกกลุ่มตัวอย่างแบบเจาะจง เครื่องมือที่ใช้ในการวิจัยประกอบด้วย แบบสอบถามการรับรู้ความรุนแรงของการเจ็บป่วยในเด็กที่ติดเชื้อทางเดินหายใจที่ผู้วิจัยสร้างขึ้น และแบบประเมินการสนับสนุนจากพยาบาลของบิดามารดา พัฒนาโดยไมลส์และคณะ ซึ่งแปลเป็นภาษาไทยด้วยวิธีแปลย้อนกลับโดย กาญจนา กันทาหงส์ และคณะ (2557) ค่าดัชนีความตรงตามเนื้อหาของแบบสอบถามความรุนแรงของการเจ็บป่วยในเด็กที่ติดเชื้อระบบทางเดินหายใจโดยผู้ทรงคุณวุฒิจำนวน5 คน ได้เท่ากับ .83 ค่าความเชื่อมั่นสัมประสิทธิ์แอลฟาครอนบาค ของเครื่องมือเท่ากับ 0.97 และ .95 ตามลำดับ วิเคราะห์ข้อมูลด้วยสถิติพรรณนา สัมประสิทธิ์สหสัมพันธ์แบบสเปียร์แมน และสถิติทดสอบไคสแควร์ ผลการศึกษาพบว่า ผู้ดูแลเด็กที่ติดเชื้อทางเดินหายใจทุกรายรับรู้ความรุนแรงของการเจ็บป่วยของเด็กเป็นปัญหาโดยรับรู้ว่าเป็นปัญหามาก ปานกลาง และน้อย คิดเป็น ร้อยละ 54.5 30.7 และ 14.8 ตามลำดับ และปัจจัยด้านเด็กคือการวินิจฉัยโรคเป็นปอดอักเสบ และการดูดนมหรือรับประทานอาหารได้น้อยมีความสัมพันธ์ทางสถิติกับการรับรู้ความรุนแรงของการเจ็บป่วยของเด็ก(= 6.33, p< .05 และ = 8.38, < .05 ตามลำดับ) ส่วนปัจจัยเด็กด้านอื่นๆ ได้แก่ อายุการรักษา และจำนวนครั้งของการเข้ารับการรักษาในโรงพยาบาล และปัจจัยด้านผู้ดูแล ได้แก่ ระดับการศึกษารายได้ของครอบครัวประสบการณ์การดูแลเด็กที่ติดเชื้อทางเดินหายใจ การได้รับความรู้เรื่องการดูแลเด็กป่วย และการได้รับการสนับสนุนจากพยาบาลไม่มีความสัมพันธ์ทางสถิติกับการรับรู้ความรุนแรงของการเจ็บป่วยเด็ก การศึกษาครั้งนี้ชี้ให้เห็นว่า ผู้ดูแลเด็กรับรู้ความรุนแรงการเจ็บป่วยเป็นปัญหาโดยเฉพาะเมื่อเด็กเป็นปอดอักเสบหรือมีอาการดูดนมหรือรับประทานอาหารน้อยลง ดังนั้นพยาบาลควรให้ความรู้แก่ผู้ดูแลเกี่ยวกับโรคปอดอักเสบและอาการที่เปลี่ยนแปลง ทั้งนี้เพื่อช่วยให้ผู้ดูแลเข้าใจความเจ็บป่วยของเด็กได้ดีขึ้น Respiratory infection in children has profound psychological effects on their caregivers.This correlational descriptive study aimed to explore the factors related to perceived severity of illness among caregivers of children with respiratory infection. A purposive sampling technique was used to recruit 90 caregivers of children with respiratory infection aged 1 month to 5 years old admitted to the pediatric unit of tertiary hospitals from February to August 2014. The research instruments consisted of the Perceived Severity of Illness Questionnaire developed by the researcher and The Nurse Parent Support Tool developed by Mile et al, which was translated into Thai using the back translation method by Kantahong et al. (2014). The Perceived Severity of Illness Questionnaire was reviewed by five experts and had a content validity index of .83. The Cronbach’s alpha coefficient of these instruments were .97 and .95 respectively. Data were analyzed using descriptive statistics, Spearman’s correlation Coefficient, Chi-square tests and Pearson’s Correlation Coefficient. The study results revealed thatAll caregivers perceived their child’s illness as a problem at severe, moderate, and mild level according to a 54.5%, 30.7%, and 14.8% distribution respectively. Factors relatedto the children, such as diagnosis of pneumonia and poor feeding or appetite, werecorrelated to caregivers’ perceived severity of illness ( = 6.33, p<.05 and = 8.38, p<.05 respectively). The children factors included age, treatment, frequency of hospitalization, and the caregiver factors included education level, family income, experience of caring for a child with respiratory infection, receiving knowledge of child illness, support from nurses, there was no statistical relationship between the children factors, the caregiver factors, and caregivers’ perceived severity of illness. The results from this study indicate that caregivers perceived the severity of their child’s illness as a problem, especially when their child had pneumonia or a poor appetite.Nurses should educate caregivers about pneumonia and its signs and symptoms to help them better understand their child’s illness. | en_US |
dc.language.iso | Tha | en_US |
dc.publisher | คณะพยาบาลศาสตร์ มหาวิทยาลัยเชียงใหม่ | en_US |
dc.subject | การรับรู้ความรุนแรงของการเจ็บป่วยผู้ดูแล | en_US |
dc.subject | เด็ก | en_US |
dc.subject | การติดเชื้อทางเดินหายใจ | en_US |
dc.subject | Perceived Severity of Illness | en_US |
dc.subject | Caregiver | en_US |
dc.subject | Children With Respiratory Infection | en_US |
dc.title | ปัจจัยที่เกี่ยวข้องกับการรับรู้ความรุนแรงของการเจ็บป่วยของผู้ดูแลเด็กที่ติดเชื้อทางเดินหายใจ | en_US |
dc.title.alternative | actors Related to Perceived Severity of Illness among Caregivers of Children with Respiratory Infection | en_US |
Appears in Collections: | CMUL: Journal Articles |
Files in This Item:
There are no files associated with this item.
Items in CMUIR are protected by copyright, with all rights reserved, unless otherwise indicated.