Please use this identifier to cite or link to this item: http://cmuir.cmu.ac.th/jspui/handle/6653943832/71116
Title: ปัจจัยที่มีผลต่อการยอมรับเทคโนโลยีการปลูกองุ่นของเกษตรกรชาวทิเบต ในเขตเต๋อจิง มณฑลยูนนาน ประเทศสาธารณรัฐประชาชนจีน
Other Titles: Factors Affecting Grape Cultivation Technology Adoption of Tibetan Farmers in Deqin county, Yunnan Province, P.R. China
Authors: เชน รุย
ปรารถนา ยศสุข
เฉลิมชัย ปัญญาดี
บงกชมาศ เอกเอี่ยม
Authors: เชน รุย
ปรารถนา ยศสุข
เฉลิมชัย ปัญญาดี
บงกชมาศ เอกเอี่ยม
Keywords: การผลิตองุ่น;การยอมรับ;เทคโนโลยีการปลูกองุ่น;เกษตรกรชาวจีนทิเบต;ยูนนาน;Grape cultivation;adoption;grape technology;Tibetan farmers;Yunnan
Issue Date: 2563
Publisher: คณะเกษตรศาสตร์ มหาวิทยาลัยเชียงใหม่
Citation: วารสารเกษตร 36, 3 (ก.ย.-ธ.ค. 2563), 409-418
Abstract: ประเทศจีนมีประวัติการปลูกองุ่นมาเป็นเวลานาน และพื้นที่ปลูกองุ่นในประเทศมีเพิ่มขึ้นอย่างมากในระยะเวลาสองสามปีที่ผ่านมา เขตเต๋อจิง ในมณฑลยูนนานเป็นพื้นที่ใหม่ที่ได้รับการพัฒนาให้เป็นพื้นที่ปลูกองุ่นเนื่องด้วยสภาพทางธรรมชาติที่เหมาะสมและวัฒนธรรมของชนเผ่าจีนทิเบตที่โดดเด่น เพื่อให้มีการผลิตที่สอดคล้องกับนโยบายการพัฒนาการเกษตรในพื้นที่ จึงมีความสำคัญที่จะศึกษาการยอมรับและปัจจัยที่มีผลต่อการยอมรับเทคโนโลยีการปลูกองุ่นของผู้ปลูกองุ่นในพื้นที่เต๋อจิง ประชากรเป้าหมายในการศึกษาคือ เกษตรกรผู้ปลูกองุ่นชาวจีนทิเบตในเขตเต๋อจิง จำนวน 2,200 คน กำหนดขนาดกลุ่มตัวอย่างจำนวน 338 คน สุ่มตัวอย่างโดยเทคนิคการสุ่มอย่างง่าย เครื่องมือในการเก็บรวบรวมข้อมูลเป็นแบบสอบถามซึ่งผ่านการตรวจสอบค่าความเชื่อถือได้ของเครื่องมือ (มีค่า Cronbach’s alpha เท่ากับ 0.938) วิเคราะห์ข้อมูลด้วยโปรแกรมสำเร็จรูปเพื่อการวิเคราะห์ข้อมูลทางสังคมศาสตร์ ผลการศึกษาพบว่า เกษตรกรมีการยอมรับในระดับมาก ในด้านการเลือกพื้นที่และดินที่ปลูก เทคนิคการปลูก วิธีการสร้างชั้นสำหรับองุ่น การจัดการองุ่นในฤดูใบไม้ผลิ การให้ปุ๋ย การให้น้ำ และการเก็บเกี่ยว และพบว่า อายุ ประสบการณ์นอกพื้นที่ รายได้ของครัวเรือน สัดส่วนของรายได้จากการผลิตองุ่น การศึกษา จำนวนแรงงานในครัวเรือน และระดับความพึงพอใจต่อการให้บริการของเจ้าหน้าที่ส่งเสริมการเกษตร มีความสัมพันธ์อย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ 0.05 กับการยอมรับเทคโนโลยีฯ ของเกษตรกร China has a long history in cultivating grape, and grape cultivated area also has been sharply increased in recent years. Deqin county is a newly developed grape growing area, which has unique plateau natural conditions and Tibetan cultural environment. In order to have optimal grape production that comply with the agricultural development policy of this area, it is necessary to study the adoption and factors related to the adoption of the Tibetan farmers in this county. The target population consisted of 2,200 grape farmers in the county and 338 samples were selected by simple random sampling technique. The questionnaire with reliability tested (Cronbach’s alpha = 0.938) is used for the data collection, and the data were analyzed by using the statistic program of social science research. The results of the research showed that Tibetan farmers in Deqin county have high adoption in “Land and soil select”, “Planting techniques”, “The method of built grape shelves”, “Spring management techniques”, “Fertilizer techniques”, “Irrigation techniques”, and “Harvest techniques”. The study also found age, experience of being out town, household income, proportion income from grape, education, labor force number in a household, and satisfaction on service of technician, were directly affected to the Tibetan farmers’ adoption.
Description: วารสารเกษตร เป็นวารสารวิชาการของคณะเกษตรศาสตร์ มหาวิทยาลัยเชียงใหม่ โดยวารสารจะออกราย 4 เดือน (มกราคม พฤษภาคม และกันยายน) ซึ่งจะพิมพ์เผยแพร่ผลงานวิชาการสาขา เกษตรศาสตร์ อุตสาหกรรมเกษตร สัตวแพทย์ และชีววิทยา ทั้งจากภายในและภายนอกมหาวิทยาลัย และปัจจุบันวารสารเกษตรอยู่ในฐานข้อมูลระดับชาติ ศูนย์ดัชนีการอ้างอิงวารสารไทย (TCI) กลุ่มที่ 11
URI: https://li01.tci-thaijo.org/index.php/joacmu/article/view/240078/168891
http://cmuir.cmu.ac.th/jspui/handle/6653943832/71116
ISSN: 0857-0852
Appears in Collections:CMUL: Journal Articles

Files in This Item:
There are no files associated with this item.


Items in CMUIR are protected by copyright, with all rights reserved, unless otherwise indicated.