Please use this identifier to cite or link to this item:
http://cmuir.cmu.ac.th/jspui/handle/6653943832/71111
Title: | การใช้ก๊าซชีวภาพจากมูลสุกรเป็นพลังงานทดแทนผลิตกระแสไฟฟ้าในชุมชน ของโครงการพัฒนาพื้นที่สูงแบบโครงการหลวง |
Other Titles: | Use of Biogas from Swine Manure as a Renewable Energy to Produce Electricity in Community of Highland Development Project Using the Royal Project Model |
Authors: | สุชน ตั้งทวีวิพัฒน์ องอาจ ส่องสี บุญล้อม ชีวะอิสระกุล กัญญารัตน์ พวกเจริญ |
Authors: | สุชน ตั้งทวีวิพัฒน์ องอาจ ส่องสี บุญล้อม ชีวะอิสระกุล กัญญารัตน์ พวกเจริญ |
Keywords: | ก๊าซชีวภาพ;พลังงานทดแทน;กระแสไฟฟ้า;โครงการพัฒนาพื้นที่สูง;มูลนิธิโครงการหลวง;Biogas;renewable energy;electricity;Highland Development Project;Royal Project Foundation |
Issue Date: | 2563 |
Publisher: | คณะเกษตรศาสตร์ มหาวิทยาลัยเชียงใหม่ |
Citation: | วารสารเกษตร 36, 3 (ก.ย.-ธ.ค. 2563), 365-375 |
Abstract: | การศึกษานี้มีวัตถุประสงค์เพื่อนำก๊าซชีวภาพมาประยุกต์ใช้เป็นพลังงานทดแทนน้ำมันก๊าซโซลีน (น้ำมันเบนซิน) กับเครื่องยนต์ขนาด 7.5 แรงม้าที่มีเครื่องกำเนิดไฟฟ้าขนาด 3 กิโลวัตต์ ผลิตกระแสไฟฟ้าสำหรับใช้ในชุมชนของโครงการพัฒนาพื้นที่สูงแบบโครงการหลวงแม่สอง อำเภอท่าสองยาง จังหวัดตาก จำนวน 3 ราย และแบบโครงการหลวงแม่สามแลบ อำเภอสบเมย จังหวัดแม่ฮ่องสอน จำนวน 1 ราย โดยใช้บ่อผลิตก๊าซชีวภาพของเกษตรกรทั้ง 4 ราย ซึ่งมีขนาด 8, 12, 8+8 และ 16 ลูกบาศก์เมตร พบว่า มีปริมาณก๊าซไฮโดรเจนซัลไฟด์หรือไข่เน่า (H2S) ปนในก๊าซชีวภาพเท่ากับ 755.00, 894.00, 836.67 และ 1,493.33 ppm ตามลำดับ โดยชุดกรองที่จัดทำขึ้นจากสารเคลือบด้วยเฟอริกไฮดรอกไซด์ Fe(OH)3 สามารถกำจัดก๊าซไข่เน่าได้ 99.73-99.91% และสามารถใช้ผลิตกระแสไฟฟ้าตามความต้องการใช้งานของเกษตรกรทั้ง 4 ราย ได้นาน 1.84, 2.23, 3.14 และ 4.01 ชั่วโมงต่อวัน ช่วยลดค่าใช้จ่ายได้ 76.63, 96.31, 111.34 และ 130.83 บาทต่อเดือน ตามลำดับ ซึ่งค่าดังกล่าวแตกต่างกันอย่างมีนัยสำคัญตามขนาดของบ่อก๊าซชีวภาพ (P<0.01) สรุปได้ว่า การผลิตก๊าซชีวภาพสามารถผลิตได้แม้จะอยู่ในที่สูงกว่า 1,000 เมตร และสามารถใช้ผลิตกระแสไฟฟ้าบนพื้นที่สูงได้ โดยเกษตรกรผู้ใช้งานมีความพึงพอใจในระดับ “มากที่สุด” มีคะแนนเฉลี่ยเท่ากับ 4.99 จากคะแนนเต็ม 5 This study aimed to apply biogas with a 7.5 hp engine motor and 3 kW generator for producing electricity to investigate the optimum biogas generator in 4 highland farms of Highland Development Project Using Royal Project Model. The first 3 farmers lived in Mae Song sub-district, Tha Song Yang district, Tak province, while the forth farmer lived in Mae Sam Laep sub-district, Sop Moei district, Mae Hong Son province. The result revealed that the biogas which was produced from 8, 12, 8+8 and 16 m3 biogas unit in 4 highland household farms contained 755.00, 894.00, 836.67 and 1,493.33 ppm hydrogen sulfide (H2S), respectively. The filter using granular ferric hydroxide can reduce 99.73-99.91% of H2S from biogas. The biogas generator can produced electricity 1.84, 2.23, 3.14 and 4.01 hours/day. It helped farmers to save electricity charge 76.63, 96.31, 111.34 and 130.83 Baht/month, respectively. These data varied significantly according to the size of the digester (P<0.01). In conclusion, the biogas can be produced even at the attitude above 1,000 m MSL. It can be an alternative energy for electricity in highland farms. The satisfaction of the farmers to the developed equipment was evaluated by scoring. They were highly satisfied and gave the score rated 4.99 out of 5. |
Description: | วารสารเกษตร เป็นวารสารวิชาการของคณะเกษตรศาสตร์ มหาวิทยาลัยเชียงใหม่ โดยวารสารจะออกราย 4 เดือน (มกราคม พฤษภาคม และกันยายน) ซึ่งจะพิมพ์เผยแพร่ผลงานวิชาการสาขา เกษตรศาสตร์ อุตสาหกรรมเกษตร สัตวแพทย์ และชีววิทยา ทั้งจากภายในและภายนอกมหาวิทยาลัย และปัจจุบันวารสารเกษตรอยู่ในฐานข้อมูลระดับชาติ ศูนย์ดัชนีการอ้างอิงวารสารไทย (TCI) กลุ่มที่ 7 |
URI: | https://li01.tci-thaijo.org/index.php/joacmu/article/view/241259/168887 http://cmuir.cmu.ac.th/jspui/handle/6653943832/71111 |
ISSN: | 0857-0848 |
Appears in Collections: | CMUL: Journal Articles |
Files in This Item:
There are no files associated with this item.
Items in CMUIR are protected by copyright, with all rights reserved, unless otherwise indicated.