Please use this identifier to cite or link to this item: http://cmuir.cmu.ac.th/jspui/handle/6653943832/71105
Full metadata record
DC FieldValueLanguage
dc.contributor.authorวราภรณ์ เตวาen_US
dc.contributor.authorเกวลิน คุณาศักดากุลen_US
dc.contributor.authorชูชาติ สันธทรัพย์en_US
dc.date.accessioned2021-01-27T03:33:02Z-
dc.date.available2021-01-27T03:33:02Z-
dc.date.issued2563en_US
dc.identifier.citationวารสารเกษตร 36, 3 (ก.ย.-ธ.ค. 2563), 345-355en_US
dc.identifier.issn0857-0846en_US
dc.identifier.urihttps://li01.tci-thaijo.org/index.php/joacmu/article/view/245431/168882en_US
dc.identifier.urihttp://cmuir.cmu.ac.th/jspui/handle/6653943832/71105-
dc.descriptionวารสารเกษตร เป็นวารสารวิชาการของคณะเกษตรศาสตร์ มหาวิทยาลัยเชียงใหม่ โดยวารสารจะออกราย 4 เดือน (มกราคม พฤษภาคม และกันยายน) ซึ่งจะพิมพ์เผยแพร่ผลงานวิชาการสาขา เกษตรศาสตร์ อุตสาหกรรมเกษตร สัตวแพทย์ และชีววิทยา ทั้งจากภายในและภายนอกมหาวิทยาลัย และปัจจุบันวารสารเกษตรอยู่ในฐานข้อมูลระดับชาติ ศูนย์ดัชนีการอ้างอิงวารสารไทย (TCI) กลุ่มที่ 5en_US
dc.description.abstractการศึกษาอัตราปุ๋ยที่เหมาะสมต่อผลผลิตและคุณภาพของหอมแดงพันธุ์บ้านโฮ่ง ได้ดำเนินการทดลองในพื้นที่ปลูกหอมแดงอำเภอบ้านโฮ่ง จังหวัดลำพูน ในระหว่างเดือนพฤศจิกายน 2557 ถึง เดือนกุมภาพันธ์ 2558 โดยวางแผนการทดลองแบบสุ่มสมบูรณ์ในบล็อก จำนวน 4 ซ้ำ ประกอบไปด้วยกรรมวิธีการใส่ปุ๋ย (N: P2O5: K2O) ที่แตกต่างกัน 5 กรรมวิธี ได้แก่ 1) ใส่ปุ๋ยไนโตรเจน 16 กก./ไร่ (ประเมินจากความต้องการธาตุอาหารของหอมแดง และผลวิเคราะห์ดิน) 2) ใส่ปุ๋ยอัตรา 23:4:35 กก./ไร่ (ประเมินจากความต้องการธาตุอาหารของหอมแดง) 3) ใส่ปุ๋ยในอัตราที่เกษตรกรนิยมปฏิบัติ 23:20:50 กก./ไร่ 4) ใส่ปุ๋ยในอัตราที่เกษตรกรเจ้าของพื้นที่ปฏิบัติ 13:6:10 กก./ไร่ และ 5) ไม่ใส่ปุ๋ยเป็นกรรมวิธีควบคุม ผลการศึกษาพบว่า ที่ระยะ 60 วันหลังปลูก การใส่ปุ๋ยตามกรรมวิธีที่ 3 ในอัตรา 23:20:50 กก./ไร่ ทำให้หอมแดงมีการเจริญเติบโต (ความสูง และการสะสมน้ำหนักแห้งของส่วนเหนือดิน) ได้ดีกว่ากรรมวิธีที่ 1 และ 2 อย่างมีนัยสำคัญทางสถิติ ที่ระยะเก็บเกี่ยวผลผลิต ทุกกรรมวิธีที่ใส่ปุ๋ย (1-4) หอมแดงให้ผลผลิต (7.89-8.06 ตัน/ไร่) สูงกว่ากรรมวิธีควบคุมที่ไม่ได้ใส่ปุ๋ย (3.64 ตัน/ไร่) อย่างมีนัยสำคัญทางสถิติ แต่ไม่ทำให้ขนาดของหัวหอม เปอร์เซ็นต์ของหัวหอมที่เสียหาย และการสูญเสียน้ำหนักในการเก็บรักษาในโรงเก็บแตกต่างกันอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติ หัวหอมมีขนาดเส้นผ่านศูนย์กลางของหัว 32.07-35.98 มิลลิเมตร เปอร์เซ็นต์ของหัวหอมที่เสียหาย 2.57-3.30% และมีเปอร์เซ็นต์การสูญเสียน้ำหนักที่ 90 วัน อยู่ในช่วงร้อยละ 47.70-51.20% ผลการศึกษาชี้ให้เห็นว่าการใส่ปุ๋ยไนโตรเจน 16 กก./ไร่ เพียงพอ และเหมาะสมสำหรับการผลิตหอมแดงพันธุ์บ้านโฮ่ง ที่ให้ผลผลิตที่ดีทั้งในด้านปริมาณ และคุณภาพ A study on the proper fertilizer management for the quality shallot production, Ban Hong variety was performed in the farmers’ field at Ban Hong district, Lamphun province, from November 2014 to February 2015. The experiment design was a randomized complete block design (RCBD) with 4 replications and 5 fertilization treatments. The fertilizer (N:P2O5:K2O) application treatments consisted of 1) 16:0:0 kg/rai (based on shallot’s nutrient requirement and soil analysis data), 2) 23:4:35 kg/rai (based on shallot’s nutrient requirement), 3) 23:20:50 kg/rai (common rate for shallot production), 4) 13.6:5:10 kg/rai (applied by the owner of experimental field) and 5) non-fertilizer application (control treatment). The results revealed that fertilizer application at the rate of 23:20:50 kg/rai (treatment 3) significantly increased growth of shallot (height and dry weight of above - ground part) in comparison to the treatment 1 and 2 at 60 DAP. At the harvest period, the shallot’s fresh yield (7.89-8.09 ton/rai) obtained from fertilizer application treatments (1-4) were significantly higher than the non-fertilizer treatment (3.64 ton/rai). However, all fertilizer application treatments did not affect bulb diameter and percent of damage bulb and weight loss during 90 days-storage significantly. The bulb diameter was found in the range 32.07-35.98 mm. and the percent of damage bulb range was in the rage 2.57-3.30%, while the percent of weight loss was in the range of 47.70-51.20%. The results from this study suggested that fertilizer application (N:P2O5:K2O) at the rate of 16:0:0 kg/rai was sufficient and suitable for producing good yield and bulb quality of shallot Ban Hong variety.en_US
dc.language.isoThaen_US
dc.publisherคณะเกษตรศาสตร์ มหาวิทยาลัยเชียงใหม่en_US
dc.subjectหอมแดงen_US
dc.subjectพันธุ์บ้านโฮ่งen_US
dc.subjectปุ๋ยen_US
dc.subjectคุณภาพและผลผลิตen_US
dc.subjectShallot Ban Hong varietyen_US
dc.subjectfertilizeren_US
dc.subjectquality and productivityen_US
dc.titleอัตราปุ๋ยที่เหมาะสมสำหรับการผลิตหอมแดงในอำเภอบ้านโฮ่ง จังหวัดลำพูนen_US
dc.title.alternativeOptimum Rate of Fertilizer for Shallot Production in Ban Hong District, Lamphun Provinceen_US
Appears in Collections:CMUL: Journal Articles

Files in This Item:
There are no files associated with this item.


Items in CMUIR are protected by copyright, with all rights reserved, unless otherwise indicated.