Please use this identifier to cite or link to this item: http://cmuir.cmu.ac.th/jspui/handle/6653943832/71103
Title: ผลของการการตัดแต่งกิ่งและจัดการธาตุอาหารที่มีต่อการเจริญเติบโต และการให้ผลผลิตของมะม่วงหิมพานต์
Other Titles: Effects of Pruning and Plant Nutrition Management on Growth, Development and Yield of Cashew Nut
Authors: พจนีย์ แสงมณี
Authors: พจนีย์ แสงมณี
Keywords: มะม่วงหิมพานต์;การตัดแต่งกิ่ง;การจัดการธาตุอาหาร;การเจริญเติบโต;ผลผลิต;Cashew nut;pruning;fertilizer management;growth;yield
Issue Date: 2563
Publisher: คณะเกษตรศาสตร์ มหาวิทยาลัยเชียงใหม่
Citation: วารสารเกษตร 36, 3 (ก.ย.-ธ.ค. 2563), 313-319
Abstract: มะม่วงหิมพานต์ (Anacardium occidentale) เป็นพืชเศรษฐกิจของจังหวัดอุตรดิตถ์และมีพื้นที่เพาะปลูกมากที่สุดในประเทศไทย ส่วนใหญ่เป็นการเพาะปลูกแบบอาศัยน้ำฝน สภาพดินมีความเป็นกรดจัดรุนแรง ไม่มีการจัดการใดๆ และรอเก็บเกี่ยวผลผลิต ปัจจุบันประสบปัญหาช่อดอกแห้งและผลผลิตตกต่ำ การวิจัยนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อหาเทคโนโลยีในการเพิ่มผลผลิตมะม่วงหิมพานต์ที่เหมาะสมกับพื้นที่ สำหรับส่งเสริมการเพาะปลูกให้แก่เกษตรกร โดยทำการศึกษาในแปลงของเกษตร ใช้ต้นมะม่วงหิมพานต์อายุ 15 ปี ขนาดทรงพุ่ม 4-6 เมตร จัดกรรมวิธีการทดลองแบบ 2x2 Factorial วางแผนการทดลองแบบสุ่มในบล็อคสมบูรณ์ (RCBD) จำนวน 10 ซ้ำๆ ละ 1 ต้น มีปัจจัยที่ศึกษา ได้แก่ การตัดแต่งกิ่งและการจัดการธาตุอาหารพืช ใช้การตัดแต่งกิ่งแบบครึ่งวงกลม เพื่อให้แสงส่องผ่านประมาณ 60% ของทรงพุ่ม และ การจัดการธาตุอาหารทางดินโดยพิจารณาจากค่าวิเคราะห์ดินร่วมกับพ่นปุ๋ยทางใบที่มีธาตุอาหารรองและจุลธาตุอาหารร่วมกับน้ำตาลกลูโคส จากการศึกษา พบว่า ปัจจัยการจัดการธาตุอาหารส่งผลต่อการเจริญเติบโตในทุกระยะ ตั้งแต่การแตกใบอ่อน ขนาดช่อดอก การติดผล น้ำหนักเมล็ด ไปจนถึงปริมาณผลผลิต ในขณะที่การตัดแต่งกิ่งเริ่มส่งผลต่อพืชในระยะเริ่มให้ผลผลิตไปจนถึงเก็บเกี่ยวผลผลิต การตัดแต่งกิ่งร่วมกับการให้ธาตุอาหารทำให้เกิดการแตกใบอ่อน 100% และมีการพัฒนาช่อดอกพร้อมกันขนาด 25-28 เซนติเมตรภายใน 3 สัปดาห์หลังจากได้รับธาตุอาหารทางใบ ส่วนการตัดแต่งกิ่งหรือได้รับการจัดการธาตุอาหารเพียงอย่างใดอย่างหนึ่งมีการแตกใบอ่อน 75-78% และมีขนาดช่อดอก 16-17 เซนติเมตร พบปฏิกิริยาสัมพันธ์ระหว่างปัจจัยการตัดแต่งกิ่งและการจัดการธาตุอาหารที่มีต่อจำนวนเมล็ด/ช่อดอก น้ำหนักเมล็ด และปริมาณผลผลิต โดยการตัดแต่งกิ่งร่วมกันการจัดการธาตุอาหาร ทำให้มะม่วงหิมพานต์มีระยะพัฒนาผลไปจนถึงการเก็บเกี่ยวยาวนานขึ้นเป็น 4 เดือนและมีอาหารเพียงพอสำหรับการติดผลและบำรุงเมล็ดมะม่วงหิมพานต์ และทำให้มะม่วงหิมพานต์มีการติดเมล็ด 12.80 เมล็ด/ช่อ น้ำหนักเมล็ด 6.50 กรัม และผลผลิตเฉลี่ย 10.93 กิโลกรัม/ต้น ในขณะที่กรรมวิธีอื่น ทำให้ได้ผลผลิตน้อยกว่าอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติ (P<0.01) มีการติดเมล็ด 1.19-3.29 เมล็ด/ช่อ น้ำหนักเมล็ด 3.83-4.87 กรัม และผลผลิตเฉลี่ย 2.32-3.94 กิโลกรัม/ต้น ดังนั้น วิธีการที่เหมาะสมสำหรับการส่งเสริมเกษตรกรคือการตัดแต่งกิ่งร่วมกับการปรับปรุงดินและใส่ปุ๋ยตามค่าการวิเคราะห์ดินในช่วงต้นฤดูฝน และพ่นปุ๋ยทางใบที่มีธาตุอาหารรองและจุลธาตุอาหารร่วมกับน้ำตาลกลูโคสทุกสัปดาห์ทุกสัปดาห์ก่อนการแตกใบอ่อนไปจนถึงระยะบำรุงเมล็ด Cashew nut (Anacardium occidentale) is an economic crop of Uttaradit, the largest production area of Thailand. Cashew nut farming of Uttaradit is rainfed, grown on severely acidic soil without agricultural practice. The unhealthy flowering and low productivity are seriously problematics. The objective of this study was to investigate the farmer practice for enhancing yield of cashew nut. The study was carried out in farmer’s field and 15 years-old of cashew nut trees with 4-6 m of crown radii were selected. The experimental design was 2x2 factorial in randomized complete block (RCB) with 10 replications. There were 2 factors; 1) pruning: semi-circle pruning with 60% of light was allowed to the tree and 2) fertilizer management: dolomite and soil fertilizer rate, determined from soil test results, were applied during the early of rainy season. Moreover, commercial foliar fertilizer, 6-32-32 + trace elements, enriched with glucose at rates of 50g+50g per 20 L were sprayed weekly prior 1st leaf flushing until before nuts were fully developed. The results showed that fertilizer management affected all growth stages considering from leaf flushing, inflorescence size, number of nuts per inflorescence, nut weight, and yield. Whereas, pruning only affected the last three parameters. The pruning + fertilizer treatment induced 100% leaf flushing and flowering concurrently. The larger size, 25-28 cm length, of inflorescences were observed after 3 weeks of spraying. Either pruning or fertilizer treatment lead 75-78% of leaf flushing and gave significantly smaller size of inflorescences with16-17 cm length (P<0.01). The interactions between 2 factors that influenced number of nuts per inflorescence, nut weight, and yield were discovered. This study discovered that pruning + fertilizer treatment extended the period of nut development to harvesting up to 4 months. Furthermore, the treatment supply sufficient nutrition for the growing period. At a result, there were 12.80 nuts per inflorescence, each nut weight 6.5 g and the given yield was 10.93 kg/tree. On contrary, other treatments demonstrated significantly smaller (P<0.01) in terms of nuts per inflorescence (1.19-3.29), weight (3.83-4.87 g per nut) and yield (2.32-3.94 kg/tree). In conclusion, pruning and fertilizer management such as soil pH improvement and soil fertilizer application are highly recommended in the early of rainy season. The foliar fertilizer enriched with glucose were also recommended to spray weekly from leaf flushing to nut developing period.
Description: วารสารเกษตร เป็นวารสารวิชาการของคณะเกษตรศาสตร์ มหาวิทยาลัยเชียงใหม่ โดยวารสารจะออกราย 4 เดือน (มกราคม พฤษภาคม และกันยายน) ซึ่งจะพิมพ์เผยแพร่ผลงานวิชาการสาขา เกษตรศาสตร์ อุตสาหกรรมเกษตร สัตวแพทย์ และชีววิทยา ทั้งจากภายในและภายนอกมหาวิทยาลัย และปัจจุบันวารสารเกษตรอยู่ในฐานข้อมูลระดับชาติ ศูนย์ดัชนีการอ้างอิงวารสารไทย (TCI) กลุ่มที่ 2
URI: https://li01.tci-thaijo.org/index.php/joacmu/article/view/222086/168894
http://cmuir.cmu.ac.th/jspui/handle/6653943832/71103
ISSN: 0857-0843
Appears in Collections:CMUL: Journal Articles

Files in This Item:
There are no files associated with this item.


Items in CMUIR are protected by copyright, with all rights reserved, unless otherwise indicated.