Please use this identifier to cite or link to this item: http://cmuir.cmu.ac.th/jspui/handle/6653943832/71102
Title: ผลของวิธีการปลูกข้าวต่อประชากรเพลี้ยกระโดดและเพลี้ยจักจั่นในนาข้าวชลประทานในเขตภาคเหนือตอนล่าง
Other Titles: Influence of Rice Cultivation Methods on Planthopper and Leafhopper Populations in Irrigated Rice Field in Lower Northern Thailand
Authors: ศศิประภา พุฒกำพร้า
วิภา หอมหวล
วีรเทพ พงษ์ประเสริฐ
เยาวลักษณ์ จันทร์บาง
จิราพร กุลสาริน
Authors: ศศิประภา พุฒกำพร้า
วิภา หอมหวล
วีรเทพ พงษ์ประเสริฐ
เยาวลักษณ์ จันทร์บาง
จิราพร กุลสาริน
Keywords: วิธีการปลูก;เพลี้ยกระโดด;เพลี้ยจักจั่น;นาข้าวชลประทาน;Cultivated method;planthopper;leafhopper;irrigated rice field
Issue Date: 2563
Publisher: คณะเกษตรศาสตร์ มหาวิทยาลัยเชียงใหม่
Citation: วารสารเกษตร 36, 3 (ก.ย.-ธ.ค. 2563), 333-343
Abstract: การศึกษาครั้งนี้มีวัตถุประสงค์ เพื่อศึกษา วิธีการปลูกข้าว พันธุ์ กข49 จำนวน 5 วิธี ได้แก่ นาหว่านน้ำตม นาหยอดข้าวงอก นาโยน นาปักดำด้วยมือ และนาปักดำด้วยเครื่อง ที่มีผลต่อการเปลี่ยนแปลงประชากรของเพลี้ยกระโดดและเพลี้ยจักจั่น ระหว่างเดือน มิถุนายน-กันยายน 2561 ในพื้นที่ตำบลบึงบัว อำเภอวชิรบารมี จังหวัดพิจิตร โดยการสุ่มนับแมลงโดยตรง ทุก 7 วัน ตั้งแต่ข้าวอายุ 15 วัน ตลอดฤดูปลูก พบว่า ในทุกวิธีการปลูก พบเพลี้ยกระโดดสีน้ำตาล เพลี้ยกระโดดหลังขาว เพลี้ยจักจั่นปีกลายหยัก เพลี้ยจักจั่นสีเขียวและเพลี้ยจักจั่นขาวใหญ่ แต่มีเพียงเพลี้ยกระโดดสีน้ำตาลและเพลี้ยจักจั่นสีเขียวเท่านั้นที่พบจำนวนมากและมีการเปลี่ยนแปลงประชากรอย่างชัดเจนตลอดฤดูปลูก ในวิธีการปลูกแบบนาหว่าน้ำตม พบประชากรของเพลี้ยกระโดดสีน้ำตาลสูงที่สุด จำนวน 199.05 ตัวต่อตารางเมตร ในขณะที่ วิธีการปลูกแบบปักดำด้วยเครื่อง พบประชากรเพลี้ยจักจั่นสีเขียวสูงที่สุด จำนวน 101.95 ตัวต่อตารางเมตร โดยความหนาแน่นของต้นข้าวต่อตารางเมตรมีผลต่อการเพิ่มขึ้นของประชากรของเพลี้ยกระโดดสีน้ำตาลมากที่สุดถึงร้อยละ 97.09 แต่มีผลต่อเพลี้ยจักจั่นสีเขียวน้อยมาก ส่วนปัจจัยทางกายภาพของสภาพแวดล้อม พบว่า มีอิทธิพลต่อเพลี้ยทั้งสองชนิด น้อยมาก อยู่ในช่วงร้อยละ 0-45 ในทุกวิธีการปลูก The objectives of this research were to compare five cultivation methods of RD49 rice variety: germinated broadcast seed, germinated dripping seed, parachute seeding, manual transplanting and transplanting machine that affected on the population dynamics of planthoppers and leafhoppers. The research was carried out during June-September, 2019 at Bueng Bua subdistrict, Wachirabarami district, Phichit province. The direct count sampling technique was applied every 7 days after seedling stage of rice (15 days of planting). The result revealed that in all cultivation methods the five planthoppers: brown planthopper (BPH), whitebacked planthopper (WBPH), green leafhopper (GLH), zigzag leafhopper (ZLH) and white leafhopper (WLH) were found, however only BPH and GLH were found at the high numbers and the population change was obviously determined. The germinated broadcast seed method promoted the increasing of BPH at the average of 199.05 individuals per square meter through all the season, meanwhile, the transplanting machine method promoted GLH at the amount of 101.95 individuals per square meter. The tiller density was the most effect on the increasing populations of BPH up to 97.09% but it had very little effect on GLH populations. The effect of abiotic factors was very low on populations of hoppers (0-45%) in all cultivation methods.
Description: วารสารเกษตร เป็นวารสารวิชาการของคณะเกษตรศาสตร์ มหาวิทยาลัยเชียงใหม่ โดยวารสารจะออกราย 4 เดือน (มกราคม พฤษภาคม และกันยายน) ซึ่งจะพิมพ์เผยแพร่ผลงานวิชาการสาขา เกษตรศาสตร์ อุตสาหกรรมเกษตร สัตวแพทย์ และชีววิทยา ทั้งจากภายในและภายนอกมหาวิทยาลัย และปัจจุบันวารสารเกษตรอยู่ในฐานข้อมูลระดับชาติ ศูนย์ดัชนีการอ้างอิงวารสารไทย (TCI) กลุ่มที่ 4
URI: https://li01.tci-thaijo.org/index.php/joacmu/article/view/244821/168883
http://cmuir.cmu.ac.th/jspui/handle/6653943832/71102
ISSN: 0857-0845
Appears in Collections:CMUL: Journal Articles

Files in This Item:
There are no files associated with this item.


Items in CMUIR are protected by copyright, with all rights reserved, unless otherwise indicated.